ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดเชียงราย

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดเชียงราย

งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณอำเภอเชียงแสน      

งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่

งานเทศกาลดอกบัวตองบาน
ดอกบัวตอง เป็นอีก 1 ชนิดที่สร้างชื่อเสียงให้จังหวัดเชียงราย จึงมีการจัดงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด จะจัดในเดือนพฤษภาคม

พระ-เณร ขี่ม้าบิณฑบาต
ภาพที่หาชมยากบนดอยสูงของ อ.แม่จัน สำนักปฏบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม แม้แต่ชาวบ้านยังต้องใช้ม้าแกลบในการเดินทาง

งานดอกเสี้ยวบานที่ภูชี้ฟ้า
จัดระหว่างในราวเดือนมกราคม มีการแข่งขันกีฬาและการแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวดอย บริเวณบ้านร่มฟ้าไทย อำเภอเทิง      

งานไหว้สาพญาเม็งราย
จัดให้มีพิธีบวงสรวงพ่อขุนเม็งรายมหาราช มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่นๆ จัดวันที่ 23 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์

งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา
จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง         

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณอำเภอเชียงแสน      

งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี การประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย      

งานเทศกาลดอกบัวตองบาน
จะจัดในเดือนพฤศจิกายน มีการแสดงของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ชมทุ่งบัวตอง น้ำตก และทะเลหมอก บริเวณบ้านหัวแม่คำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง

งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง
จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน

ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก
เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกอยู่ระหว่างเดือนเมษายน- พฤษภาคม

ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ
หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ธิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ   ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย