ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดลำปาง

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดลำพูน

จังหวัดลำปางเป็นที่ตั้งเมืองโบราณ ที่มีความสำคัญของประวัติศาสตร์ และโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย คือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 มีชื่อเรียกในตำนานเป็น    ภาษาบาลีว่า "เขลางค์นคร" คำว่า "ลคร" (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ ซึ่ง นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ปรากฏอยู่ในตำนานศิลาจารึกและพงศาวดารส่วนภาษาพูดโดยทั่วไปเรียกว่า "ละกอน" เมืองลคร (นคร) จึงหมายถึงบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ เขลางค์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ในเขตตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปางในปัจจุบัน ส่วนคำว่า "ลำปาง" ปรากฏชื่ออยู่ในตำนานวัดพระธาตุลำปาง หลวง ซึ่งเรียกเป็นภาษาบาลีว่า "ลัมภกัปปะ" ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา

คำว่านครลำปาง เป็นชื่อเรียกเมืองนครลำปางตั้งแต่สมัยเจ้าทิพย์ช้างเป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะได้อพยพผู้คนจากลำปางหลวงมายังเมืองลคร แล้วเจ้าทิพย์ช้างได้รับการ สถาปนาเป็นเจ้าเมือง จึงเรียกชื่อเมืองว่า นครลำปาง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

นครลำปางยุคแรกหรือสมัยเขลางค์นคร สร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ประมาณปี พ.ศ. 1204 พระฤษีวาสุเทพ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณ เชิงดอยสุเทพ ได้ร่วมกับพระสุกกทันตฤษีแห่งเมืองละโว้ (ลพบุรี) สร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) แล้วทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้าลพราช กษัตริย์กรุงละโว้ พระองค์ได้ประทาน พระนางจามเทวี พระราชธิดาให้มาเป็นผู้ครองนครพร้อมกับได้นำพระภิกษุสงฆ์ ผู้รอบรู้พระไตรปิฎก พราหมณ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือดี เศรษฐี คหบดี อย่างละ 500 คน ตามเสด็จขึ้นมาด้วย ในขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรงครรภ์ เมื่อประทับอยู่หริภุญไชยได้ 7 วัน ได้ประสูติโอรสฝาแฝด 2 องค์ นามว่า มหันตยศกุมาร หรือมหายศและอนันตยศกุมารหรืออินทรวร เมื่อกุมารทั้ง 2 เจริญวัย พระนางจามเทวีได้ ราชาภิเษกเจ้ามหายศให้เป็นกษัตริย์ปกครองหริภุญไชย ส่วนเจ้าอนันตยศเป็นอุปราช

ต่อมา เจ้าอนันตยศมีพระประสงค์ไปสร้างเมืองใหม่ พระฤาษีวาสุเทพ จึงได้แนะนำให้ไปหาพรานเขลางค์
ที่เขลางค์บรรพต หรือภูเขาสองยอด ครั้นเมื่อพบแล้วพรานเขลางค์จึงได้พาไปพบ พระสุพรหมฤาษีบนดอยงาม แล้วขออาราธนาให้ช่วยสร้างเมือง พระสุพรหมฤาษีและพรานเขลางค์ได้เลือกหาชัยภูมิ ที่เหมาะสม แล้วสร้างเมืองขึ้นบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง (วังกตินที) เมื่อ พ.ศ. 1223 โดยสร้างเป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแบบอย่างเมืองหริภุญไชย แล้วขนานนามว่า เขลางค์นคร แล้วอัญเชิญเจ้าอนันตยศขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครอง ทรงนามว่า พระเจ้าอินทรเกิงกร

เมืองเขลางค์ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1223 มีรูปร่างเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กำแพงเมืองชั้นล่างเป็นคันดิน 3 ชั้น ชั้นบนเป็นอิฐ สันนิษฐานว่า สร้างต่อเติมขึ้น ภายหลัง มีความยาววัดโดยรอบ 4,400 เมตร เนื้อที่ประมาณ 600 ไร่ มี ประตูเมืองที่สำคัญ ได้แก่ ประตูม้า แระตูผาบ่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกด และประตูตาล ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคย เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. 1932 - 2011 นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ได้แก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่ บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่วัดป่าพร้าว วัดพันเชิง วัดกู่ขาว หรือ เสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระสิกชีปฏิมากร วัดกู่แดง วัดกู่คำ ระหว่างวัด กู่ขาวมายังเมืองเขลางค์ก็มีแนวถนนโบราณทอดเข้าสู่ตัวเมืองสันนิษฐานว่า สร้างในสมัยที่พระนางจามเทวี เสด็จมาประทับที่เมืองเขลางค์ใช้เชื่อมเมืองเขลางค์กับเขตพระราชสถาน ที่เรียกว่า อาลัมพางค์นคร และใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำเพื่อทดน้ำเข้าสู่ตัวเมือง

ใน พ.ศ. 1824 พระเจ้ามังรายได้แผ่ขยายอำนาจเข้าครอบครองหริภุญชัย พระยาญีบา เจ้าเมืองสู้ไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่งพระยาเบิกโอรสยังเมืองเขลางค์นคร ต่อมา ใน พ.ศ. 1838 พระยาเบิก ได้ยกกองทัพไปตีเมืองหริภุญชัยคืน แต่พ่ายแพ้กลับมา ขุนคราม โอรสของพระเจ้ามังรายยก กองทัพติดตามมาทันปะทะกันที่ตำบลแม่ตาน ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยา ญีบาเมื่อทราบข่าว จึงพาครอบครัวหนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ประทับ อยู่ที่นั่นจนสิ้น พระชนม์ จึงนับว่าเป็นการสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเมืองเขลางค์รุ่นแรก เมื่อขุนครามตีเมืองเขลางค์ได้แล้วจึงแต่งตั้งให้ขุนไชยเสนาเป็นผู้รั้งเมืองสืบ ต่อมา ขุนไชยเสนาได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1845 เป็นเมืองเขลางค์รุ่นสอง เมืองเขลางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ อยู่ถัด จากเมือง เขลางค์เดิมลงไปทางทิศใต้ กำแพงเมืองก่อด้วยอิฐ วัดความยาวโดยรอบได้ 1,100 เมตร มีประตูเมือง ที่สำคัญได้แก่ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนา โบราณสถานที่สำคัญได้แก่ วัดปลายนา ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้าง และวัดเชียงภูมิ ปัจจุบันคือ วัดปงสนุก ในระยะต่อมาได้รวมเมืองเขลางค์ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน ดังปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมลานนาไทยก่อนรับอิทธิพลของพม่า เช่นที่วัดพระแก้วดอนเต้า

 || อ่านต่อ >>>

จังหวัด » กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย