ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

เมื่อชนชั้นกรรมาชีพยุโรปได้รวบรวมกำลังกันขึ้นใหม่ จนพอที่จะก่อการรุกโจมตีชนชั้นปกครองอีกครั้งนั้น สมาคมกรรมาชีพสากลก็ได้เกิดขึ้น แต่วัตถุประสงค์ที่แจ่มชัดในการตั้งสมาคมนี้ก็เพื่อที่จะให้ชนชั้นกรรมาชีพที่กำลังสู้รบของยุโรปและอเมริกาทั้งหมดสามัคคีอยู่ในองค์รวมเดียวกัน ดังนั้นสมาคมนี้จึงไม่อาจประกาศหลักการที่วางไว้ใน “แถลงการณ์ฯ” ในทันทีทันใด สากลฯ ควรมีหลักนโยบายอันกว้างขวางเพียงพอเพื่อให้สหบาลกรรมกรอังกฤษ พวกปรูดองในฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี และสเปญ ตลอดจนพวกลาส์ซาลส์   ในเยอรมนีสามารถรับได้

มาร์คซ์ผู้ซึ่งได้ร่างหลักนโยบายอันเป็นที่พอใจของพรรคทั้งปวงนี้ เวลานั้นได้ฝากความหวังอันเต็มเปี่ยมไว้กับการพัฒนาทางจิตใจของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งย่อมจะต้องเกิดขึ้นจากการปฏิบัติการร่วมกันและการอภิปรายร่วมกัน เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆในระหว่างการต่อสู้คัดค้านทุน ซึ่งย่อมจะแพ้มากกว่าเป็นผู้ชนะย่อมทำให้คนทั้งหลายรับรู้ว่ายาขนานที่รักษาโรคต่างๆได้สารพัดอันเป็นสูตรสำเร็จที่นิยมของพวกเขานั้นใช้ไม่ได้เลย ทั้งจะทำให้พวกเขาเข้าใจเงื่อนไขอันแท้จริงแห่งการปลดแอกชนชั้นกรรมาชีพได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น

มาร์คซ์ถูกต้องขณะที่สากลฯ ยุบเลิกในปี 1874 นั้น กรรมาชีพได้แตกต่างไปจากเมื่อครั้งตั้งสากลฯ ในปี 1864 อย่างสิ้นเชิง ลัทธิปรูดองในฝรั่งเศสและลัทธิลาส์ซาลส์ในเยอรมันนีใกล้จะสิ้นลมอยู่แล้ว แม้กระทั่งสหบาลกรรมกรอังกฤษที่อนุรักษ์นิยม ซึ่งส่วนมากได้ตัดความสัมพันธ์กับสากลฯมานานแล้วนั้น ก็ก้าวขึ้นทีละขั้นๆ จนกระทั่งประธานของพวกเขาได้แถลงในนามของสหบาลเหล่านี้ในการประชุมสมัชชาผู้แทน ณ สวอนซี ปีที่แล้วว่า "กล่าวสำหรับเรา สังคมนิยมในภาคพื้นยุโรปไม่น่ากลัวอีกแล้ว " จริงทีเดียวหลักการของ “แถลงการณ์ฯ ” ได้เผยแพร่กว้างขวางมากในหมู่กรรมาชีพประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว

เมื่อเป็นเช่นนี้ “แถลงการณ์ฯ” ก็ออกมาสู่หน้าเวทีอีกครั้งหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา ฉบับภาษาเยอรมันฉบับแรก ได้พิมพ์ซ้ำหลายครั้งในสวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และอเมริกา ปี 1872 มีผู้แปลเป็นภาษษอังกฤษในนิวยอร์ค และลงพิมพ์ในนิตยสาร " วูดฮัลแอนด์ คลาฟลินส์วีคลี่ " ที่นั่น ต่อจากนั้นได้มีผู้แปลจากฉบับภาษาอังกฤษนี้เป็นภาษาฝรั่งเศส ลงพิมพ์ในนิตยสาร " เลอ โซเซียลิสต์ " ในนิวยอร์ค ต่อมาในอเมริกาได้ปรากฏฉบับแปลภาษาอังกฤษที่บิดเบนไปบ้างอย่างน้อยก็อีก 2 ฉบับ และในสองฉบับนี้ ฉบับหนึ่งยังเคยพิมพ์ซ้ำในอังกฤษ ฉบับภาษารัสเซียฉบับแรกซึ่งแปลโดยบาคูนินได้พิมพ์ที่โรงพิมพ์ "คอโลโคล" ของเกร์เชนในเจนีวาประมาณปี 1863 ฉบับแปลภาษารัสเซียฉบับที่ 2 ที่แปลโดย เวรจาซูลิช ผู้กล้าหาญ ก็ได้จัดพิมพ์ที่เจนีวาเช่นเดียวกันเมื่อปี 1882 ฉบับแปลภาษาเดนมาร์คฉบับใหม่ ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในชุดสังคมประชาธิปไตย " ที่โคเปนเฮเกน ปี 1885 ฉบับแปลภาษาฝรั่งเศส ฉบับใหม่ตีพิมพ์ในนิตยสาร

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย