ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์>>

คัมภีร์คอมมิวนิสต์

นิพนธ์วิจารณ์ ฟอยเออร์บัค
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
บทบาทของแรงงานในการเปลี่ยนลิงให้เป็นคน
กำเนิดครอบครัวทรัพย์สินส่วนตัว และรัฐ
ว่าด้วยศาสนา
ว่าด้วยการนัดหยุดงาน
สงครามและสังคมนิยม
รัฐกับการปฏิวัติ
แนวชนชั้นในการปลดแอกสตรี
ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพสู้หรือไม่
ว่าด้วยขบวนการฟาสซิสต์
ทฤษฏีปฏิวัติถาวร
ประชาธิปไตยของแรงงาน
สงครามจุดยืนและสงครามขับเคลื่อน
ปัญญาชน
ระบบทุนนิยม:ถ้าไม่ปฏิวัติก็เท่ากับยอมจำนน
แนะนำทฤษฎีทุนนิยมโดยรัฐของ โทนี่ คลิฟ
การปฏิวัติถาวร "หันเห"

ในวิกฤตเศรษฐกิจกรรมาชีพจะสู้หรือไม่
โดย ลีออน ตรอทสกี แปลโดย ใจ อึ๊งภากรณ์

(1) ความสัมพันธ์ระหว่าง วิกฤตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจบูม และการนัดหยุดงาน โดย ลีออน ตรอทสกี

(จากการนำเสนอในการประชุมสมัชชาที่สามขององค์กรคอมมิวนิสต์สากล ปี 1921)

ความสัมพันธ์ในมุมกลับระหว่างการขยายตัวของเศรษฐกิจ (เศรษฐกิจบูม) กับวิกฤตเศรษฐกิจ และการพัฒนาของกระแสการปฏิวัติเป็นเรื่องที่เราทุกคนสนใจ ทั้งในแง่ของทฤษฏีและในแง่ของการปฏิบัติ หลายท่านคงจำได้ว่า มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เคยเขียนในปี 1851 ในยุคที่เศรษฐกิจขยายตัวเต็มที่ ว่านักปฏิวัติต้องจำใจเข้าใจว่าการปฏิวัติ 1848 จบสิ้นแล้ว หรืออย่างน้อยต้องถูกพักไว้จนกว่าจะมีวิกฤตใหม่ เองเกิลส์ เขียนว่าในขณะที่วิกฤตปี 1847 เป็นแม่ให้กำเนิดของการปฏิวัติ ในมุมกลับกันช่วงบูมระหว่าง 1849-1851 เป็นแม่แห่งกระแสปฏิกิริยาที่ได้รับชัยชนะ แต่ถ้าเราจะตีความจากคำเขียนเหล่านี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจย่อมนำไปสู่กระแสการปฏิวัติและการขยายตัวของเศรษฐกิจทำให้ชนชั้นกรรมาชีพนิ่งเฉย เราจะผิดพลาดอย่างยิ่งและจะเป็นการตีความด้านเดียว การปฏิวัติ 1848 ไม่ได้กำเนิดจากวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น แต่วิกฤตดังกล่าวเป็นสิ่งสุดท้ายที่ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติ เพราะการปฏิวัติครั้งนั้นเกิดจากความขัดแย้งระหว่างความต้องการของระบบทุนนิยมที่กำลังพัฒนากับอุปสรรคที่มาจากระบบกึ่งศักดินาและระบบรัฐที่ดำรงอยู่ ดังนั้นถึงแม้ว่าการปฏิวัติในปี 1848 จะเป็นเพียงการปฏิวัติครึ่งใบแต่มันมีผลในการกวาดล้างซากสุดท้ายของระบบทาสและระบบสมาคมแรงงานฝีมือโบราณที่เคยมีอยู่ให้หมดสิ้นไป และเปิดทางสำหรับการพัฒนาโครงสร้างของระบบทุนนิยม ซึ่งภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวระบบทุนนิยมก็สามารถขยายตัวไปเรื่อยๆ จนถึงปี 1873

เวลาเราอ้าง เองเกิลส์ เราไม่ควรมองข้ามข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว เพราะยุคหลัง 1850 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ ตั้งข้อสังเกตที่พึ่งเอ๋ยถึง เป็นยุคแห่ง “พายุและความตึงเครียด” ของระบบทุนนิยมภายใต้เงื่อนไขที่ถูกสร้างในการปฏิวัติ 1848 เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ยุคแห่งพายุและความตึงเครียดเป็นยุตที่เศรษฐกิจขยายตัวระยะยาว ในขณะที่วิกฤตเป็นเพียงช่วงสั้นที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ และยุคแห่งพายุและความตึงเครียดนี้เองก็จบลงด้วยการปฏิวัติ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องจับตาดูเสมอคือลักษณะของกระแสการต่อสู้ทางชนชั้นว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นหรือลดลง ไม่ใช่การมาตั้งคำถามว่า “เป็นไปได้ไหมว่ากรรมาชีพจะสู้?”

ในยุคเศรษฐกิจบูมปัจจุบัน (1919-1920) สถานการณ์จะเหมือนกันหรือไม่? ไม่มีทางเลย! ยุคนี้ไม่ใช่ยุคแห่งการขยายโครงสร้างทุนนิยม นี่แปลว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระยะยาวอีกไม่ได้ใช่ไหม? ไม่ใช่ ผมเคยอธิบายหลายครั้งแล้วว่าตราบใดที่ระบบทุนนิยมยังมีชีวิตอยู่มันจะหายใจเข้าและหายใจออก จะมีบูมและวิกฤต แต่ยุค 1920 นี้เป็นยุคของการปรับตัวหลังจากความเสียหายมหาศาลจากสงครามโลก การขยายตัวของเศรษฐกิจในยุคนี้จึงมีลักษณะของการปั่นหุ้นมากกว่า ในขณะที่วิกฤตพื้นฐานกำลังขยายตัว

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย