ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เต๋าแห่งฟิสิกส์

บทที่ 1 ฟิสิกส์สมัยใหม่
บทที่ 2 การรู้และการเห็น
บทที่ 3 พ้นภาษา
บทที่ 4 ฟิสิกส์แนวใหม่
บทที่ 5 ศาสนาฮินดู
บทที่ 6 พุทธศาสนา
บทที่ 7 ปรัชญาจีน
บทที่ 8 ลัทธิเต๋า
บทที่ 9 นิกายเซน
บทที่ 10 เอกภาพแห่งสรรพสิ่ง
บทที่ 11 เหนือโลกแห่งความขัดแย้ง
บทที่ 12 จักรวาลอันเคลื่อนไหว
บทที่ 13 ความว่างและรูปลักษณ์

บทที่ 2 การรู้และการเห็น

15

2.14   เหนือจากภาษา

ในญี่ปุ่น ยังมีวิธีการอื่นอีกที่ใช้ในการแสดงทัศนะทางปรัชญา อาจารย์เซนนิยมใช้บทกวีซึ่งกระชับและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวมาก ชี้ตรงไปที่ความเป็น “เช่นนั้นเอง” ( suchness) ของสัจจะ เมื่อพระภิกษุรูปหนึ่งถามท่านฟิเกจิ เอนโช (Fuketsu Ensho) ว่า “ในเมื่อทั้งคำพูดและความเงียบต่างไม่น่าเชื่อถือ เราจะผ่านมันไปโดยไม่พลาดได้อย่างไร” อาจารย์เซนได้ตอบว่า ฉันจำเกียวชูในเดือนมีนาคมได้เสมอ เสียงร้องของนกกระทา มวลบุปผาชาติซึ่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งบทกวีแห่งจิตวิญญาณนี้ได้ถึงจุดสมบูรณ์ใน ไฮขึบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่น อันมีเพียงสิบเจ็ดพยางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากเซน ญาณทัศนะที่หยั่งรู้ธรรมชาติแห่งชีวิตซึ่งแสดงออกในบทกวีไฮขึนี้ยังสามารถรู้สึกสัมผัสได้ แม้เมื่อได้รับการถ่ายทอดมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ใบไม้ร่วง กองทับถมกัน สายฝนกระหน่ำ   

เมื่อใดก็ตามที่นักปราชญ์ชาวตะวันออกแสดงความรู้ของตนออกมาเป็นภาษาพูด ไม่ว่าจะในรูปของเทพปกรณัม สัญลักษณ์ต่าง ๆ บทกวีหรือถ้อยคำผกผันผิดธรรมดาก็ตาม ท่านเหล่านั้นต่างตระหนักดีในข้อจำกัดของภาษาและความเชิงเส้นตรง ฟิสิกส์สมัยใหม่มีทัศนะเกือบจะเช่นเดียวกันในการใช้ภาษาพูดในแบบจำลองและทฤษฎี แบบจำลองและทฤษฎีก็เป็นสื่อที่แสดงออกของสิ่งที่ประสงค์ได้อย่างคร่าว ๆ และไม่ชัดเจน มันเป็นสื่อในแนวทางเดียวกับเทพปกรณัมสัญลักษณ์ และบทกวีต่าง ๆ และสิ่งที่ข้าพเจ้ามุ่งแสดงก็คือความคล้ายคลึงในระดับนี้ ตัวอย่างเช่น ความคิดอย่างเดียวกันในเรื่องวัตถุ ซึ่งชาวฮินดูแสดงออกในรูปการเริงรำของศิวะเทพ ในขณะที่นักฟิสิกส์แสดงออกในทฤษฎีสนามควอนตัมทั้งเทพและทฤษฎีทางฟิสิกส์ต่างเป็นสิ่งสร้างสรรค์ของจิต เป็นแบบจำลองที่จะอธิบายญาณทัศนะในสัจจะของแต่ละบุคคล

<< ย้อนกลับ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย