ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ชีวิตเพื่อสันติสุขและสันติภาพ
พระทศพล  เขมาภิรโต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ

เมื่อพิจารณาในระบบย่อยลงมาจากจักรวาล ก็สามารถมองเห็นอย่างประจักษ์ชัดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในระบบองค์รวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท่ามกลางความหลากหลาย สรรพสิ่งต่าง ๆ ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มิใช่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ตามที่เคยคิดและเข้าใจกันมาแต่ก่อน มนุษย์จึงต้องทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติมนุษย์ในปัจจุบันนอกจากจะทำตัวแปลกแยกไปจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมที่สำคัญของมนุษย์มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ (ประเวศ วะสี 2519 :114) ได้แก่

1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ ดิน น้ำ อากาศร้อน อากาศหนาว ทะเลทราย ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ สัตว์ เชื้อโรค สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ดังตัวอย่าง เช่น ต้นตะบองเพชรขึ้นในทะเลทราย เชื้อมาเลเรียมีในเขตร้อน ไม่มีในเขตหนาว เป็นต้น

3) สิ่งแวดล้อมทางสังคม เป็นสิ่งแดล้อมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น ประชากร เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เป็นต้น

ในระบบองค์รวม สิ่งแวดล้อมทั้งสามชนิดของมนุษย์จะต้องดำรงอยู่ในลักษณะประสานสัมพันธ์ สอดคล้องกลมกลืนกัน เพื่อให้เกิดภาวะดุลยภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จากยุควัฒนธรรมวัตถุนิยมที่ส่งเสริมให้มนุษย์บริโภคเกินขอบเขต ทำให้มนุษย์สร้างปรัชญาในการดำเนินชีวิต ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ระบบการศึกษา รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพอย่างมากมายในรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

เมื่อใดมีการทำลายธรรมชาติ ตักตวงเอาผลประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการอันไร้ขอบเขตของตน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นการทำลาย เมื่อระบบย่อยหลายระบบถูกทำลาย ในที่สุดก็จะนำไปสู่ความหายนะของโลก และสุดท้ายก็เป็นการทำลายชาติพันธุ์ของมนุษย์เอง

ดังนั้น อัล กอร์ และนักวิชาการตะวันตก เรียกร้องให้มีการแสวงหาปรัชญาใหม่ เพื่อเป็นสิ่งนำทางในการพัฒนาโดยไม่ทำลายธรรมชาติ ซึ่งเขาเรียกการพัฒนาแนวใหม่ว่า เป็นการพัฒนาที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศของโลก (Ecologically Sustainable Development) การพัฒนาดังกล่าวจะต้องกระทำพร้อมกันทั้งโลก ในลักษณะของการปฏิวัติ เรียกชื่อว่า การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีหลักการว่า เราอยู่บนแผ่นดินเดียวกัน เราต้องพยายามรวมกันเป็นโลกเดียวกัน ไม่ว่าจะในแนวทางความคิด หรือการกระทำก็ตาม ซึ่งนี่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาของมนุษย์ สังคม และสภาพแวดล้อม

จากจุดนี้เองถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ทำให้นักคิด นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ของโลกตะวันตก ได้เริ่มต้นศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในเรื่องของปรัชญาตะวันออกอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีคำกล่าวเกิดขึ้นใหม่ในวงวิชาการว่า โลกกำลังหมุนไปทางตะวันออกตามที่ จอห์น เนสบิตต์ (John Naisbitt) ได้กล่าวไว้ใน เมกา

เทรนด์ส เอเชียว่า โลกในอนาคตนับแต่นี้ไป จะแสดงศักยภาพออกมาหลาย ๆ อย่างว่าจะถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของเอเซีย ที่จะนำความรุ่งโรจน์ ความมั่งคั่งไพบูลย์และความยิ่งใหญ่ของเอซียกลับมาอีกครั้งหนึ่ง

การพัฒนาที่ยั่งยืน พุทธวีธีแก้ปัญหามนุษย์

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่หลักการมุ่งที่จะสร้างปัญญาให้แก่มนุษ มุ่งให้มนุษย์ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาของโลกพุทธธรรมได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาคนอย่างลึกซึ้งโดยมีจุดมุ่งหมายในหารพัฒนาให้มนุษย์มีอิสระอย่างแท้จริง สามารถดำเนินชีวิตในลักษณะที่เอื้ออาทรต่อมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ

การนำพุทธธรรมมาเป็นปรัชญาชีวิต เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง ต่อไปนี้เป็นการใช้พุทธธรรมสำหรับการแก้ปัญหามนุษย์ สังคม และธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่ 2 ขั้นตอนดังนี้

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย