ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป>>

ประวัติศาสตร์ชนชาติจีน

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ 1,200 ล้านคน นั่นหมายความว่า ประชากรหนึ่งในห้าของโลกเป็นประชากรจีน จีนเป็นประเทศที่มีประชากรหลายเชื้อชาติอยู่ร่วมกัน ร้อยละ 93 ของประชากรทั้งหมดเป็นชาวจีนฮั่น ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 7 เป็นชนกลุ่มน้อย 55 เชื้อชาติที่มีพื้นฐานทางขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และวัฒนธรรมที่ต่างจากชาวจีนฮั่น ตามรัฐธรรมนูญแล้ว คนเหล่านี้ได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างในฐานะคนกลุ่มน้อย สิทธิที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือสิทธิในการพูดภาษาถิ่นของตน แต่คนกลุ่มน้อยในปัจจุบันก็แทบจะไม่ได้ใช้ภาษาของตนเอง สำหรับคนส่วนใหญ่การพูดและเขียนภาษาจีนกลาง คือใบเบิกทางสู่การศึกษาและการเลื่อนสถานภาพทางสังคม นโยบายของรัฐที่ว่าไม่ควรมีการเข้าใช้พื้นที่ในถิ่นฐานเก่าแก่ของชนกลุ่มน้อย เพื่อให้ชนกลุ่มน้อยได้มีโอกาสดำเนินชีวิตตามความเชื่อและประเพณีของตน ทำให้ดูเหมือนว่าชนกลุ่มน้อยได้รับการยกย่องและได้สิทธิอันควรจากชาวจีน หากลักษณะที่เป็นชาตินิยมและประเพณีนิยมของชาวจีนมิได้เปิดโอกาสให้วัฒนธรรมอื่นอย่างจริงจัง โดยโรงเรียนของชนกลุ่มน้อยมีเพียงไม่กี่แห่ง มหาวิทยาลัยที่มีการสอนภาษาถิ่นนั้นแทบจะไม่มีเลยเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคิดพื้นฐานดั้งเดิมของจีนที่เชื่อกันว่าวัฒนธรรมจีนคือวัฒนธรรมหนึ่งเดียว  จะมีอยู่สองกลุ่มที่เด่นคือ ชาวทิเบต และชาวอูเคอร์ ทิเบตเป็นเพียงพื้นที่แห่งเดียวของชนกลุ่มน้อยเป็นเสียงข้างมากของประชากร (คนเชื้อสายทิเบตมีอยู่ถึง ร้อยละ 98 ) แบ่งเป็นสองส่วน คือทิเบตตอนนอกและทิเบตตอนใน ชาวทิเบตมีอยู่ทั้งหมด 3.9 ล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งของที่อาศัยอยู่ในทิเบต ที่เหลืออยู่ในพื้นที่ที่เป็นทิเบตตอนนอก ชาวอูเคอร์ตั้งเขตปกครองตนเองอยู่ในมณฑลซินเจียง ชาวอูเคอร์เป็นชนกลุ่มน้อยที่มี จำนวนมากที่สุด เพียง ร้อยละ 45 ของประชากรทั้งหมด กลุ่มมุสลิมจะเป็นเสียงข้างมากก็ต่อเมื่อรวมชาว อูเคอร์เข้ากับชาวคาซาค   ชาวเคอร์จิซ ชาวซาลารีย์   และกลุ่มมุสลิมอื่นๆ ชาวหุย เป็นชนมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่ง ชาวหุยส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ทุรกันดารทางตอนใต้ของแคว้น ชาวหุยจะเป็นกลุ่มชนชาติจีนที่นับถืออิสลาม  บริเวณมองโกเลียปัจจุบันมีชาวฮั่นมากถึง ร้อยละ 80 พื้นที่แห่งนี้มีชาวมองโกลมากกว่าในประเทศสาธารณรัฐมองโกเลียซึ่งเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน กลุ่มชนเร่ร่อนส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้คือคนเชื้อสายมองโกล ในขณะที่กสิกรและกลุ่มคนที่มีฐานที่อยู่เป็นหลักแหล่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวจีนฮั่น เขตแคว้นปกครองตนเองแห่งกว่างซี   ถูกจัดว่าเป็นแหล่งที่อยู่ของชาวจ้วง   แต่ชนกลุ่มนี้กลับเป็นชนกลุ่มน้อยของแคว้นของตน ชนชาตินี้เป็นชนชาติที่ถูกดูดกลืนทางวัฒนธรรมมากที่สุด วัฒนธรรมของชาวจ้วงจึงมีหลงเหลือเพียงในพื้นที่ห่างไกลเท่านั้น

ยุคก่อนราชวงศ์ (ประมาณ ๕,๐๐๐ ปีก่อน)
ในระยะแรก นักประวัติศาสตร์มีความเชื่อกันหลายกลุ่ม บางกลุ่มเชื่อว่า ชาวจีนอพยพมาจากทะเลสาบแคสเปียน บางกลุ่มก็เชื่อว่าชาวจีนอยู่ที่จีนมานานแล้วไม่ได้อพยพมาแต่อย่างใด จึงมีการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเทศจีน   คล้ายกับที่มีการอภิปรายว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตหรือไม่ ในจีนมีตำนานกลายเป็นอภินิหารตำนานเทพ อย่างไรก็ตาม ในยุคแรกเชื่อว่าจีนใช้วิธีการเลือกตั้งกษัตริย์ขึ้นมาปกครองบ้านเมือง โดยคัดเลือกจากความสามารถและคุณธรรม กษัตริย์แต่ละองค์ต้องแข่งกันแสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ มิฉะนั้นก็อาจจะถูกถอดจากบัลลังก์ได้ เชื่อกันว่ากษัตริย์องค์แรกชื่อ ฝูซี หรือฟูสี ซึ่งนิทานพื้นบ้านบางแห่งถือเป็นเทพเจ้าผู้ให้กำเนิดชนชาติจีน กษัตริย์ที่เด่นๆ ในยุคนี้มีหลายพระองค์ เช่น เสินหนง หรือเสินหนุง ซึ่งภายหลังคนยกย่องให้เป็นเทพแห่งเกษตรกรรม ตี้ซุ่น ซึ่งท่านเหลี่ยวฝานกล่าวถึงบ่อยๆ ตี้ซุ่นองค์นี้เองที่เป็น ๑ ใน ๒๔ ยอดกตัญญูของจีน หรือ ยี่จั๊บสี่ห่าว จนฟ้าดินส่งช้างกับนกมาช่วยทำไร่ไถนา หวงตี้ หรือจักรพรรดิเหลือง เหยา-ซุ่น และอีกหลายองค์ บางสมัยมีคนเก่ง โดยเฉพาะเรื่องแก้น้ำท่วม เรื่องน้ำท่วม ถือเป็นปัญหาสำคัญในสมัยนั้น ผู้ใดแก้ได้จะได้ยศถาบรรดาศักดิ์มาก ถ้าแก้ไม่ได้ก็จะถูกลงโทษ ชาวบ้านอาจเลือกตั้งให้เป็นกษัตริย์อีกองค์ให้บริหารคู่กับกษัตริย์ ถึงสมัยของอวี่ ชาวบ้านเห็นว่าราชโอรสเหมาะสมที่จะสืบราชสมบัติที่สุด จึงให้อวี่ยกราชสมบัติให้ ตอนแรกอวี่ก็ไม่เห็นด้วย ตั้งขุนนางคนอื่นเป็นแทน แต่ภายหลังโอรสก็ได้ครองบัลลังก์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสืบราชสันติวงศ์และเริ่มยุคราชวงศ์ด้วย และเป็นการเริ่มยุคแห่งราชวงศ์ใหม่ของจีน

ราชวงศ์เซี่ย
เป็นราชวงศ์แรกของจีน มีอายุราว ๔๐๐ ปี ระยะแรก คนส่วนใหญ่เชื่อว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งขึ้นมาเท่านั้น เพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่ปัจจุบันเริ่มมีการขุดพบหลักฐานเมืองเก่าในสมัยราชวงศ์เซี่ยได้แล้ว ช่วงท้ายราชวงศ์ เนื่องจากกษัตริย์องค์สุดท้ายซึ่งมีชื่อว่า เจี้ย หรือที่รู้จักในนาม "เซี่ยเจี้ย" ปกครองบ้านเมืองด้วยน้ำจัณฑ์ โหดร้าย ในที่สุดทังเจ้าผู้ครองแคว้นซางจึงปฏิวัติปลดเจี้ยจากบัลลังก์ แล้วตั้งราชวงศ์ซางขึ้นมาแทน

ราชวงศ์ซาง/อิน/อินซาง
เดิมชื่อราชวงศ์ซาง ต่อมาย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอิน จึงเปลี่ยนชื่อเป็นราชวงศ์อิน บางคนก็เรียกราชวงศ์อินซาง เป็นยุคแห่งไสย-ศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก ราชวงศ์นี้ได้มีการขุดพบหลักฐานมากมายจึงเชื่อว่ามีอยู่จริง โดยหลักฐานที่ขุดได้เป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่ามีรอยแตกอยู่ทั่วไป และเชื่อถือในอำนาจแห่งสวรรค์มาก ถือว่าทุกสิ่งสวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ซางมีกษัตริย์ ๓๐ องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือโจ้ว หรือ ติวอ๋อง ซึ่งในประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคน สร้างสระเหล้าดองเนื้อขึ้น คือเอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาแขวนไว้ตามต้นไม้ ต่อมา โจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจว ทางตะวันตกได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่าได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ซางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" นั่นเอง หนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก เล่าสู่กันฟัง มีหนังสือกล่าวถึงที่ห้องพระแห่งหนึ่งที่ไต้หวันกล่าวว่ามีปีศาจมาเข้าร่างของเด็กสาวคนหนึ่ง แสดงท่าทางเหมือนกับปลา ได้จ้องดูผู้มาเข้าฟังธรรมะด้วยท่าทางเคียดแค้น แล้วแนะนำตัวว่าเป็นปีศาจปลา ซึ่งเดิมก็คือนางสนมต๋าจีของโจ้วนั่นเอง ปีศาจตนนี้เล่าให้ฟังว่าตนเองเป็นต้นกำเนิดแห่งความโหดร้ายทั้งปวงของพระเจ้าโจ้ว เช่น การฆ่าปี่ก้าน ขุนนางผู้พยายามขัดขวางตน หรือการเอาหัวใจพระเจ้าอาของโจ้ว แต่ในประวัติศาสตร์บางเล่มเขียนไว้ว่า ปี่ก้านคือพระเจ้าอาของโจ้ว ได้เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยนั้นไว้ตรงกับประวัติศาสตร์ เนื่องจากตนเองถูกส่งมาปราบโจ้วโดยเฉพาะ รับ "เทียนมิ่ง"   จากการที่โจ้วทำตัวไม่ดี เมื่อตายลงเนื่องจากทำเกินหน้าที่มากเกินไปเพราะฆ่าคนเป็นผักปลาจึงต้องตกนรก และเกิดเป็นสัตว์มากว่าสามพันปีแล้วยังไม่ได้ไปเกิดเป็นคนเลย ชาติสุดท้ายก็มาเกิดเป็นปีศาจปลาเป็นเจ้าแห่งปลาอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ปีศาจนางต๋าจียังได้ประณามคนปัจจุบันว่าเห็นแก่ตัว ไม่เคยคิดถึงหัวอกผู้อื่น กินเนื้อผู้อื่นได้อย่างไม่ละอายใจต่อบาปกรรมทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะไปกินเนื้อปลาต่อให้ไม่ได้ฆ่าเองก็ตาม นางปีศาจยังอาฆาตอีกว่า นางมีความแค้นผู้ที่กินปลาอย่างมาก หากว่ายังไม่เลิกกินเนื้อสัตว์ ยังไม่รีบทำความดี ยังอ้างเหตุผลสารพัดสารพันอยู่ นางจะไม่มีวันปล่อยให้มนุษย์ ได้พบกับทางสว่างเป็นอันขาด จะพยายามขัดขวางทุกวิถีทาง เพื่อให้ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ทุกคน ต้องไปลงนรกเช่นเดียวกับนาง แต่ถ้าหากสำนึกตัว เลิกกินเนื้อสัตว์ แล้วหมั่นทำกุศลแล้ว นางจะไม่เอาผิดใดๆ ซึ่งในหนังสือกล่าวว่านางปีศาจได้พูดจามากมาย นอกจากนั้นยังพูดเหมือนกับว่าตัวเองยังเป็นสนมเอกอยู่ มนุษย์อาจมีชะตาเหมือนกับนางสนมต๋าจี มนุษย์จะรู้สึกเช่นไรนอกจากจะต้องไปลงนรกชดใช้กรรมแล้ว ยังต้องมาเกิดเป็นสัตว์ ต้องถูกฆ่าเอาเนื้อไปกินชาติแล้วชาติเล่า เป็นเวลานับพันปียังไม่ได้มาเกิดเป็นคนเลย จะยินดีให้กินเนื้อหรือ ต่อให้ไม่ได้ฆ่าเอง ซื้อเนื้อที่ฆ่ามาเสร็จแล้วขายบนแผง ก็ไม่สมควรจะปัดความรับผิดชอบเช่นนั้น ควรคิดให้ลึกซึ้งกว่านี้ ควรสงสารเมตตา แทนที่จะจ่ายเงินซื้อเนื้อ ที่ฆ่ามาแล้วให้ไป ควรจะเลิกอุดหนุน เพื่อให้ได้ไปประกอบอาชีพใหม่ที่ไม่มีบาปกรรมจะดีกว่า แม้ว่าจะทำให้ลำบากในระยะแรกก็ตาม นี่จึงจะเรียกว่าทำความดีจริง มิฉะนั้นก็ไม่ได้ความดีอะไรเลย เรื่องปีศาจนางสนมต๋าจี มาเล่าสู่ให้ฟัง ก็เพื่อหวังให้ชาวพุทธได้เข้าใจชะตากรรมของผู้ที่ได้ชื่อว่า นางผู้ล้มแผ่นดิน

อ่านต่อหน้า2

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย