สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์

คำประกาศแห่งความเสมอภาค

(The Communist Manifesto)
โดย คาร์ล มาร์กซ์ และ เฟรดริด แองเกลส์

อุตสาหกรรมใหม่ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพ ของโรงงาน ในร้านเล็กๆ ของนายจ้าง สมัยกลาง ให้เป็นโรงงานที่ใหญ่โต ของพวกนายทุน อุตสาหกรรม มวลชนกรรมกร ที่รวมอยู่ในโรงงาน ถูกจัดระเบียบเหมือนทหาร ซึ่งภายในกองทัพ อุตสาหกรรม ส่วนบุคคลนี้ พวกเขาได้ถูกควบคุมไว้ ภายใต้การบังคับบัญชา แบบเจ้าขุนมูลนาย ที่เด็ดขาด ของเจ้าหน้าที่ และผู้คุม เขาไม่เพียงแต่ตกเป็นทาส ของชนชั้นกระฎุมพีเท่านั้น หากแต่ยังเป็นทาส ของเครื่องจักร เป็นรายชั่วโมง หรือรายวัน เจ้านายเบื้องบน และที่สำคัญที่สุด คือพวกกระฎุมพี เจ้าของโรงงาน เป็นนายตนเอง ยิ่งมีการกล่าวอ้าง อย่างเปิดเผย ในการนำเอา ระบบการปกครองกดขี่ มาเป็นเป้าหมาย และอุดมการณ์ มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความคับแค้น เพิ่มความเกียดชัง และเพิ่มความขมขื่น มากขึ้นเท่านั้น

           ยิ่งความต้องการความชำนาญ และการใช้แรงงาน ปรากฎให้เห็นลดน้อยลง ในงานที่ต้องใช้มือ มากเท่าใด (หรืออีกนัยหนึ่ง ยิ่งการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ได้ถูกพัฒนา มากขึ้นเพียงใด) แรงงานบุรุษก็ถูกแทนที่ด้วย แรงงานสตรี มากขึ้นเท่านั้น ความต้องการ ของวัย และเพศ มิได้กลายเป็นสิ่งแบ่งแยก คุณภาพทางสังคม สำหรับชนชั้น คนงานอีกต่อไป ทุกคน กลายเป็นเครื่องมือแรงงาน จะมีค่ามากน้อยเพียงใด ต่างขึ้นอยู่กับวัย และเพศ ของเขาเท่านั้น
           พอการเอารัดเอาเปรียบ ของเจ้าของโรงงาน สิ้นสุดลง อันหมายถึง เมื่อกรรมกร ได้รับค่าจ้างเป็นเงินสด เขาก็จะถูกมุ่งมั่น เอารัดเอาเปรียบอีก โดยชนชั้นกระฎุมพี ส่วนอื่นๆ อันได้แก่ เจ้าของที่ดิน เจ้าของร้านค้า ผู้รับจำนำ และคนอื่นๆ อีก
           ชนชั้นกลางขั้นต่ำ.....อันหมายถึง พ่อค้าเล็กๆ เจ้าของร้านค้า เจ้าของทรัพย์สิน ผู้มีรายได้ จากการลงทุนเล็กๆ น้อยๆ ช่างฝีมือ และชาวนา พวกคนเหล่านี้ ทั้งหมดค่อยๆ จมลงสู่ ชนชั้นกรรมาชีพ เพราะส่วนหนึ่ง ทุนอันกระจ้อยร่อยของเขา ไม่เพียงพอสำหรับ อัตราส่วน ที่ซึ่งอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ดำเนินอยู่ และถูกกลืนกินในการแข่งขัน กับนายทุน ผู้ยิ่งใหญ่ และส่วนหนึ่งเพราะว่าเครื่องมือ การผลิตแบบใหม่ได้ทำให้ ความชำนาญ เฉพาะของเขาหมดคุณค่าไป ดังนั้น ชนชั้นกรรมาชีพ จึงเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากทุกชนชั้น ของประชากร


           ชนชั้นกรรมาชีพ ได้ผ่านพัฒนาการ หลายขั้นตอน เริ่มต้นการกำเนิดของเขา ด้วยการต่อสู้ ทางชนชั้นกระฎุมพี ในขั้นต้น การต่อสู้ได้ดำเนินไป โดยกรรมกรเป็นรายคน แล้วโดยคนงาน ในโรงงาน แล้วโดยสหกรณ์แรงงานหมู่ ในเฉพาะสาขาอาชีพ ระดับท้องถิ่น ต่อต้านกระฎุมพี เป็นรายบุคคล ที่เอารัดเอาเปรียบเขาโดยตรง เขาหาได้มุ่งเข็มโจมตี ต่อต้าน เงื่อนไขการผลิต ของชนชั้นกระฎุมพี หากแต่ต่อต้าน เครื่องมือการผลิตโดยตรง เขาทำลายสินค้าเข้า ซึ่งเป็นคู่แข่ง ของแรงงานของเขา ทำลายเครื่องจักร เผาโรงงาน และพยายามนำเอาสถานะ ที่สูญหายไปแล้ว ของคนงานในสมัยกลาง กลับมาโดยกำลัง
           ในระยะนี้กรรมกร ยังคงก่อรูปแบบมวลชน ที่กระจัดกระจายทั่วประเทศ และแตกแยกโดยการแข่งขัน ซึ่งกันและกัน หาก ณ ที่ใด ที่พวกเขารวมตัวกัน ก่อรูปแบบที่เหนียวแน่น รูปแบบนี้ก็ยังหาใช่เป็นหัวใจ ขององค์กรการ ที่มีประสิทธิภาพ ของพวกเขาเองไม่ หากแต่เป็นองค์กรการ ของชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งถูกบีบบังคับให้กระตุ้น พลังกรรมกรให้เคลื่อนไหว เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย ทางการเมืองของมันเอง ซึ่งการกระทำ เช่นนี้ ก็เป็นไปได้ในระยะหนึ่ง เพราะฉะนั้นกรรมาชีพ ในระยะแรกนี้ จึงหาได้ต่อสู้กับ ศัตรูของเขา หากแต่ต่อสู้กับ ศัตรูของศัตรูของเขา ซึ่งเป็นซากเด่นเก่า หลงเหลือมาจาก ระบบสมบรูณาญาสิทธิราช อันหมายถึงเจ้าที่ดิน กระฎุมพีผู้มิได้เป็น เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม และกระฎุมพีผู้น้อย ดังนั้นความเคลื่อนไหวทั้งหลาย ในประวัติศาสตร์ จึงถูกรวมไว้ ในมือของชนชั้นกระฎุมพี และชัยชนะทุกครั้งที่ได้รับ ก็คือ ชัยชนะของ ชนชั้นกระฎุมพีนั่นเอง   
               แต่ด้วยการพัฒนา อุตสาหกรรมมากขึ้น ชนชั้นกรรมาชีพ ไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวน เท่านั้น หากแต่พวกเขา ได้รวมตัวเป็นมวลที่ใหญ่ขึ้น พลังของเขาเติบโตขึ้น และก็ได้สำนึก ในพลังของตนเองมากขึ้น รายได้และสภาพชีวิต ภายในสถานะแห่งกรรมาชีพ ได้ถูกทำให้ เท่าเทียมกันมากยิ่งขึ้น ตามสัดส่วนที่เครื่องจักรได้ทำ การหักลบความแตกต่าง แห่งแรงงาน และในเกือบทุกแห่ง ได้ตัดทอนค่าจ้างลง ในระดับต่ำเดียวกัน การแข่งขันที่ทวีความเข้มข้น มากขึ้น ท่ามกลางชนชั้นกระฎุมพี และวิกฤตการณ์ ทางการพาณิชย ์ที่สะท้อนผลกลับ ได้ทำให้ ค่าจ้างของคนงาน ไม่คงที่มากขึ้น การปรับปรุงเครื่องจักร ที่ไม่มีวันหยุดยั้ง นับวันยิ่งพัฒนาเร็ว ยิ่งขึ้นนั้น ได้ทำให้การดำเนินชีวิต ของกรรมกร ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ต่างๆ กันยิ่งขึ้น การกระทบกระทั่ง ระหว่างกรรมกร และกระฎุมพี ที่เป็นรายบุคคล ก็ยิ่งค่อยๆ สวมลักษณะ การกระทบกระทั่งกัน ระหว่างสองชนชั้นมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น กรรมกร จึงได้เริ่มวางรูปแบบ การผนึกกำลัง (สหภาพแรงงาน) ขึ้นต่อต้านกระฎุมพี พวกเขารวมตัวกัน เพื่อผนึกกำลัง เรียกร้องค่าจ้างให้สูงขึ้น พวกเขาได้รวมตัวกันก่อตั้ง สมาคมที่ถาวร เพื่อที่จะจัดหาทุนสำรองเตรียมไว้ สำหรับก่อการขบถ ในบางโอกาสนี้ ตามที่ต่างๆ การต่อสู้ได้ลุกลาม ถึงขั้นจราจล
           กรรมกร เป็นฝ่ายชนะเสมอ แต่ก็เป็นเพียง ระยะหนึ่งเท่านั้น ผลที่แท้จริง ของสงคราม หาได้วางอยู่ที่ผล ที่ได้มาทันทีนั้นไม่ หากอยู่ที่องค์กรของคนงาน ที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ องค์กรนี้ได้ถูกทำให้ก้าวหน้า ไปโดยวิธีที่ปรับปรุงแล้ว แห่งการคมนาคม ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย อุตสาหกรรมสมัยใหม่ และซึ่งได้ชักนำให้กรรมกร ในท้องถิ่นต่างๆ ได้ติดต่อซึ่งกันและกัน เนื่องจากการติดต่อนี้เอง ที่เป็นที่ต้องการอย่างยิ่ง สำหรับการ รวมตัวการต่อสู้ ระดับท้องถิ่น ที่มีส่วนคล้ายคลึงกันทั้งหลาย เข้าด้วยกัน เป็นการต่อสู้ ระหว่างชนชั้นระดับชาติ แต่การต่อสู้ทางชนชั้นทั้งหลาย เป็นการต่อสู้ทางการเมือง และการบรรลุถึงสหภาพ ซึ่งชาวเมืองสมัยกลาง พร้อมด้วยทางหลวงที่เลวร้ายของเขา ต้องการเวลานับศตวรรษ ในการสร้างขึ้นใหม่ กรรมาชีพสมัยใหม่ สามารถบรรลุผลสำเร็จ ก่อตั้งสหภาพเช่นว่านี้ ได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อันเป็นผลเนื่อง มาจากการคมนาคม (ทางรถไฟ) นั่นเอง
             องค์กรกรรมาชีพ ที่ขยายตัวเป็นชนชั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพรรคการเมือง ได้ถูกทำให้ปั่นป่วน ยุ่งเหยิงอยู่อีกเสมอ โดยการแข่งขันระหว่าง คนงานด้วยกันเอง แต่มันก็เกิดขึ้นใหม่อีก เข้มแข็งยิ่งขึ้น มันคงยิ่งขึ้น มีพลังมากยิ่งขึ้น อีกเช่นกัน มันบีบบังคับ ให้มีการยอมรับผล ประโยชน์บางส่วน ของคนงานอย่างเป็นทางการ โดยอาศัยความแตกแยก ระหว่างพวกกระฎุมพีกันเอง และดังนั้น กฎหมายประกันชั่วโมง ทำงาน 10 ชั่วโมง ก็ได้รับการประกาศใช้ ในอังกฤษ
             ผลรวมการปะทะกัน ระหว่างชนชั้นต่างๆ ของสังคมเก่า ทำให้สาเหตุ แห่งการพัฒนา ของชนชั้นกรรมาชีพ ก้าวหน้าไป ชนชั้นกระฎุมพี จำเป็นต้องนำตนเอง เข้าไปยุ่งเกี่ยว กับการปะทะที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ตอนแรกกับพวกขุนนาง ภายหลังกับส่วนต่างๆ ของพวกกระฎุมพี (พวกขุนนาง ที่กลายมาเป็น กระฎุมพีในสมัย ที่ระบบอุตสาหกรรม เริ่มเข้ามา มีบทบาทในสังคม) เอง ซึ่งผลประโยชน์ ของมันเป็นปฏิปักษ์ กับความก้าวหน้า ทางอุตสาหกรรม และตลอดเวลาต้องต่อสู้ กับกระฎุมพีต่างชาติอีกด้วย ในสงครามทั้งหมด เหล่านี้ กระฎุมพีถูกบีบบังคับ ให้ขอความช่วยเหลือ จากกรรมาชีพ และด้วยเหตุนี้เอง จึงชักนำให้กรรมาชีพ เข้าสู่เวทีการเมือง และทั่วๆ ไปให้กับกรรมาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง มันได้ติดอาวุธ ให้กับชนชั้นกระฎุมพี สำหรับต่อสู้กับมันเอง ภายหลัง
               อย่างที่เราได้ทราบมาแล้ว ส่วนต่างๆ ทั้งหลายของชนชั้นปกครอง ถูกผลักลงมา สู่ชนชั้นกรรมาชีพ โดยความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ถูกคุกคาม ความเป็นอยู่ พวกนี่ยังได้กลายเป็นส่วนเสริม ทางด้านความรู้สึก และความก้าวหน้าใหม่ๆ ให้กับชนชั้นกรรมาชีพอีกด้วย 

<< ย้อนกลับ | หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย