ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติการค้นพบ

มักเจนแลน เดินเรือรอบโลก

เมื่อฟรานซิสโค เซอรันโน ได้ค้นพบหมู่เกาะเครื่องเทศ หรือหมู่เกาะต่าง ๆ ในอาณาบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของมหาสมุทรอินเดียแล้ว เขาได้เขียนจดหมายแจ้งข่าวการค้นคว้าของเขาไปยังมักเจลแลน เพื่อนักเดินเรือของเขาที่อยู่ในปอร์ตุเกสเสมอ ครั้งหนึ่งเขาเขียนไปว่าให้มักเจลแลนมาร่วมงานค้นคว้ากับเขา ในหมู่เกาะเครื่องเทศด้วย ซึ่งข่าวจากฟรานซิสโคเซอรรันโนนี้ ทำให้มักเจลแลนมีความตื่นเต้นในใจต่อดินแดนภาคตะวันออกของอาเซียเป็นอย่างยิ่ง เขาคิดว่าหมู่เกาะเครื่องเทศที่เซอรันโนค้นพบอยู่นั้น อยู่ทางตะวันออกไกลสุดจริงแล้ว เขาก็อาจจะไปถึงได้โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะต้องมีช่องทางอ้อมดินแดนอเมริกาไปสู่ดินแดน หรือมหาสมุทรส่วนนั้นได้ ครั้งแรก มักเจลแลนได้ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าแผ่นดินปอร์ตุเกส แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงไปเสนอแผนการณ์ต่อพระเจ้าแผ่นดินสเปน และได้รับความช่วยเหลือโดยพระองค์ให้เรือ 5 ลำ พร้อมด้วยลูกเรือและอาหาร มักเจลแลนจึงออกเดินทางจากยุโรป ค.ศ. 1519 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนมาถึงฝั่งของอเมริกา หลังจากแล่นเลียบลงไปทางตอนใต้อีก อากาศก็เริ่มหนาวจัดขึ้นทุกทีที่สุดก็ไปถึงช่องแคบกว้างใหญ่มีฝั่งทั้งสองข้างเต็มไปด้วย ผาหินที่สูงชันทำให้มักเจลแลนเกิดความสงสัยว่ามันจะเป็นปากทางออกไปด้านหนึ่ง หรือเป็นปากแม่น้ำใหญ่ก็รู้ไม่ได้ มักเจลแลนจึงตัดสินใจแล่นเรือผ่านเข้าไป เป็นเวลา 5 สัปดาห์ที่เขาต้องแล่นวกเวียนไปตามซอกเล็ก ๆ และอ่าวน้อยใหญ่จนที่สุดก็พบว่ากองเรือของตนได้ออกมาสู่มหาสมุทรอันไพศาลอีกมหาสมุทรหนึ่งซึ่งมีพื้นน้ำสงัด ปราศจากคลื่นพายุรุนแรง ดังนั้นเขาจึงตั้งชื่อว่า “มหาสมุทรปาซิฟิค” จากนั้นกองเรือของมักเจลแลนก็แล่นมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือพบกับอากาศที่อบอุ่นขึ้น จึงวกออกไปทางทิศตะวันตก เป็นเวลา 98 วัน โดยไม่ได้พบเกาะหรือแผ่นดินแห่งใดเลย อาหารในเรือก็ขาดแคลนลงจนคนเรือล้มเจ็บและถึงแก่กรรมไปหลายคน แต่ในที่สุดโชคยังเป็นของเขา เพราะเขาได้มาพบเกาะกวมซึ่งเป็นเกาะกลางมหาสมุทร จึงพอได้ขึ้นหาอาหารมาเพิ่มเติมได้บ้าง แล้วแล่นเรือต่อไปจนพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ที่หมู่เกาะฟิลิปปินส์เขาได้เกิดสู้รบกับชาวพื้นเมืองและถูกฆ่าตายที่นั้น ลูกเรือที่เหลือจึงนำเรือแล่นไปทางตะวันตกต่อไป ข้ามช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย และอ้อมปลายแหลมกูดโฮปกลับไปถึงสเปนได้ในที่สุด ลูกเรือที่เหลือกลับไปมีเพียง 18 คนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเป็นการเดินทางโดยทางเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นการพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าโลกนี้กลม ไม่ใช่แบนอย่างคนส่วนมากเข้าใจกัน

ชาวโฟนิเชียน นักเดินเรือโบราณ
เนโค ผู้สำรวจชายฝั่งอาฟริกา
ฮานโน ผู้สำรวจฝั่งตะวันตกอาฟริกา
เฮโรโดตุส ผู้สำรวจภายในอาฟริกา
อเล็กซานเดอร์มหาราช กับอินเดีย
ไปธีอัส กับเกาะอังกฤษ
ชาติไวกิ้ง นักเดินเรือโบราณ
โปไลเนเชียน กับมหาสมุทรแปซิฟิค
มาร์โคโปโล
มาร์โคโปโล กับทะเลจีนใต้
เจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุรุษ
จวน เฟอร์นานเดซ์ กับทะเลทรายซาฮาร่า
ไดอัซ กับแหลมกู๊ดโฮป
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
จอห์น คาบอต พบนิวเฟาว์แลนด์
วาสโกดากามา กับอินเดีย
อเมริโกเวสปุชชี กับโลกใหม่
บัลบัว กับมหาสมุทรแปซิฟิค
หมู่เกาะเครื่องเทศ
มักเจนแลน เดินเรือรอบโลก
คอร์เตส กับอาณาจักรแอซเตค
อาณาจักรแห่งเอลดอราโด
ฝรั่งเศสใหม่ ในทวีปอเมริกา
อาณาจักรอินคา
ออเรลลานา ข้ามทวีปอเมริกาใต้
ซานเซลเลอร์ กับขั้วโลกเหนือ
เฮนรี่ ฮัดสัน พบอ่าวฮัดสัน
การสำรวลออสเตรเลีย ของทัสมัน
การสำรวจไซบีเรีย
เจมส์คุก สำรวจแปซิฟิค
แมคเคนซี ข้ามทวีปอเมริกาเหนือ
มังโกปาร์ค กับแม่น้ำไนเกอร์
ลิฟวิงสโตน กับทวีปอาฟริกา
เปียรี่ กับการค้นหาขั้วโลกเหนือ
อมุนต์เสน กับขั้วโลกใต้
คอนติกิ
การพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย