สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

คนภูเขา

ลาวโซ่ง(ภูไท,ผู้ไทย)

             โซ่ง แปลว่ากางเกง ลาวโซ่งแบ่งเป็น 4 สาขา ตามลักษณะสีเสื้อผ้า คือ ผู้ไทยดำ ผู้ไทยขาว ผู้ไทยแดง ผู้ไทยลาย มีที่อยู่เดิมในแคว้นสิบสองผู้ไทย หรือสิบสองปันนาจุไทย อพยพเข้ามาในไทยทางแม่น้ำโขง ส่วนใหญ่มาอยู่ที่จังหวัดนครพนม กาฬสินธุ์ สกลนคร คืออยู่บริเวณเทือกเขาภูพาน โดยท้าวพระยาเป็นหัวหน้าพาผู้ไทยและชาวป่ามาจากเมืองวัง ซึ่งอยู่ระหว่างหลวงพระบางกับเวียงจันทร์
           การแต่งตัวของชาวผู้ไทยคือ ผู้ชายนุ่งผ้าดำหรือขาว ใส่เสื้อทอเองสีดำ ผู้หญิงนุ่งซิ่นดำและใส่เสื้อดำสะพายแล่ง โดยเอาแขนเสื้อสองแขนผูกติดเข้าหากัน พอปิดบังหน้าอก
              พวกผู้ชายไม่ใช้เครื่องประดับ ผู้หญิงสวมกำไลข้อมือเงิน ต่างหูเงิน เกล้าผมสูงจัดเป็นกีบสวยงาม รัดด้วยผ้าทอผืนเล็กๆ ในงานบุญต่างๆจะแต่งตัวสวยเป็นพิเศษ ผู้ชายจะนุ่งผ้าไหมสวมเสื้อชั้นใน สะพายผ้าทอลายต่างๆ ผู้หญิงนุ่งซิ่นมัดหมี่สวมเสื้อดำแขนยาว ผ่าอกติดกระดุมด้วย 30-40 เม็ดสลับด้วยสตางค์ มีลูกปัดแก้วคล้องคอ ข้อมือ และประดับผม บางคนมีสร้อยคอห้อยเงินเหรียญต่างๆ การแต่งกายอย่างนี้เป็นการแต่งกายพื้นบ้านแบบเก่า
               ชาวลาวโซ่งหรือผู้ไทยนับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีบุญบ้องไฟ บุญมหาชาติ บุญออกพรรษา บุญข้าวจี่ บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญสงกรานต์ ในพิธีต่างๆมักจะมีการฟ้อนรับภูไท
               นอกจากนี้ยังคงทีการนับถือผี แบ่งเป็นผีฟ้า ผีเหย้า ผีเรือน การเซ่นผีใช้ของหวาน เพราะเชื่อกันว่าผีไม่กินของคาว ผู้ที่ทำพิธีติดต่อกับผี หรือทรงเจ้าเข้าผี เรียกว่า หมอลำเหยา หรือ หมอลำส่อง
                ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวภูไทดูสงบง่าย สูกสาวขะลุกขึ้นแต่เช้าตำข้าวด้วยสากแบบเก่า แม่จะก่อเตาไฟหุงข้าว ยายแก่จะปั่นฝ้ายทอผ้า โดยชาวภูไทจะทอผ้าใช้เองทุกอย่าง เช่น ผ้าซิ่น เสื้อ ผ้าห่ม พวกเด็กชายก็จะลี้ยงวัว ควาย พวกสาวๆตำข้าวเสร็ขก็จะเลี้ยงหมู กินข้าวอิ่มแล้วก็ช่วยทอผ้า เลี้ยงไหม
                 ในงานบายศรีต้อนรับแขก มีการผูกข้อไม้ข้อมือด้วยด้ายขวัญ และให้ศีลให้พร เครื่องบายศรีมีใบตองจีบประดับดอกไม้สวยงาม เครื่องประกอบมี ไก่ต้ม ไข่ต้ม ข้าวเหนียว เหล้าอุ
                    การแต่งงานของชาวผู้ไทย เรียกว่า กินดอง เจ้าบ่าวหรือผู้บ่าว จะแห่ผ้าขวัญ อันประกอบด้วย หมอน ฟูก เสื้อผ้าพื้นเมืองของเจ้าบ่าวเจ้าสาว มาที่บ้านเจ้าสาว ทำพิธีที่ปะรำที่ปลูกหน้าบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งหันหน้าเข้าหากัน ไม่นั่งคู้เคียงเหมือนแถบภาคกลาง ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายนั่งด้านหนึ่ง ฝ่ายหญิงนั่งอีกด้านหนึ่ง โดยมีผ้าขวัญวางอยู่ตรงกลาง
                   คนทำพิธี เรียกว่า พ่อล่าม จะจับมือบ่าวสาวคนละมือ ญาติทั้งสองฝ่ายจะจับแขนพ่อลามต่อๆกันไป แล้วพ่อล่ามก็จะประกาศพิธีกินดองและอวยพร มีเสียงแคนและหมอลำขับลำนำให้พร เสร็จแล้วเจ้าบ่าวจะพาเจ้าสาวไปอยู่เรือนหอที่ปลูกใหม่.

» เย้า

» มูเซอ

» แม้ว

» สิบสองปันนา

» มานาว

» ไทยลื้อ

» กะเหรี่ยง

» ข่าก้อ

» อีก้อ

» ผีตองเหลือง

» ว้า

» ลาวโซ่ง

» ลีซอ

» ข่า

» แข่เย้า

» บทเพลงกล่อมลูก ชาวเหนือ- ชาวอีสาน- ชาวเขา

***ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเก่าตั้งแต่เมื่อปี 2512 ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมประเพณีและการแต่งกาย อาจเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย