ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

คณะราษฎร์

4

ที่ประชุมคณะราษฎร์ ตกลงกันว่าให้ใช้กำลังในตอนเช้าตรู่ ของวันที่ 24 มิถุนายน และเพื่อให้เป็นไป ตามแผนการณ์ที่ได้วางเอาไว้ จึงได้แบ่งความรับผิดชอบออกเป็นสายงานต่างๆ   พันเอกพระยาทรงสุรเดช ผู้วางแผน การณ์จะต้องใช้กลอุบายหลอกล่อ ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร และอธิบดีกรมตำรวจ พลโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ พระองค์เจ้าอลงกฎ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ไม่ให้เกิดความสงสัยครางแครง ในการเคลื่อนไหวทางทหารที่จะมีขึ้น โดยได้ประกาศเป็นทางการว่า จะมีการฝึกทางยุทธวิธีแผนใหม่ จึงต้องใช้กำลังจากหน่วยต่างๆสมทบ ด้วยการสมมุติ เหตุการณ์ตามหลักการทหาร ซึ่งกรมยุทธศึกษาทหารบก ของของพระยาทรงสุรเดช ได้มีการติดต่อให้กองทหารต่างๆ ส่งผู้แทนมาร่วมประชุม อย่างพร้อมเพียงกัน
                   สำหรับกองกำลังหลักคือ ทหารปืนใหญ่ 1 กองพัน ทหารหน่วยน้อยภายใต้การบังคับของ พันเอก พระยา ฤทธิ์อัคเนย์ ทำหน้าที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า และผู้บังคับการของทหารหน่วยน้อยนี้ แต่ละคนก็คือ ผู้ที่ได้คบคิดทำการ ปฎิวัติในครั้งนี้นั่นเอง
                   และอีกหน่วยหนึ่งคือ นักเรียนนายร้อยทหารบก ภายใต้การบังคับบัญชาของ พันโท พระเหี้ยมใจหาญ ผู้บังคับการ   หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ และหลวงศุภชลาศัย ควบคุมกองกำลังทหารเรือ   นายพันตรี หลวงทัศนัย นิยมศึก นายร้อยโท ทวน วิชัยขัทคะ นายร้อยโท ชัย ประทีปเสน ทั้งหมดนี้จะนำรถถังมาร่วมด้วยในว้นนั้น
                   ทางฝ่ายพลเรือน หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ร่างคำแถลงการณ์ และร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญการปก ครองชั่วคราวเตรียมไว้ หลวงโกวิทย์ อภัยวงค์ นายวิลาศ โอสถานนท์ นายประยูร ภมรมนตรี นายประจวบ บุนนาค น.ต.หลวงนิเทศ กลกิจ บุคคลทั้งหมดนี้ จะทำหน้าที่ตัดสายโทรเลข และสายโทรศัพท์ ทั่วพระนคร ในวันปฎิวัติ
               ผู้ร่วมก่อการณ์ และ คณะราษฎร์ ทุกคน ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหรือตาย พวกเขาขอ ยอมมอบชีวิต เพื่อผลประโยชน์ของชาติ และประเทศ อันเป็นที่รักยิ่ง ทั้งหมดได้ปฎิญาณร่วมกันว่า จะไม่แพร่งพราย ความลับนี้ให้ลูกเมีย หรือญาติพี่น้องของตนได้รับรู้เป็นอันขาด เพื่อตัดความกังวลและความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น


                              วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปีวอก
                   วันที่จะต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ วันที่อำนาจได้เปลี่ยนมือ จากสมบรูณาญาสิทธิราช สู่ระบอบ   ที่เข้าใจกันว่า เป็นประชาธิปไตยในยุคนั้น
                       ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเอง แสงแห่งประชาธิปไตย ได้คืบคลานเข้ามาทาบทาโค้งฟ้าสยามประเทศ คณะราษฎร์ อันประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสรุเดช พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ์ หัวหน้าผู้นำในการปฎิวัติ ได้เริ่มแผนการณ์ตามที่ได้กำหนดไว้ การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด กำลังจะ อุบัติขึ้น

kanarad1.jpg (23442 bytes)


                       ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า การปฎิวัติของคณะราษฎร์ ได้เริ่มต้นเปิดฉากขึ้นที่นั่น... กองกำลังส่วน หนึ่งของพันเอก พระยาฤิทธิ์อัคเนย์ หร้อมอาวุธ เดินทางมุ่งเข้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย นำกำลังทหารเรือเข้ามาด้วยเช่นกัน กองกำลังส่วนอื่น ได้แก่ กำลังรถถัง นำโดย ร.อ.หลวงทัศนัย นิยมศึก ได้นำขบวนส่วนหนึ่งมายังลานพระบรมรูปด้วยอีกเหมือนกัน โดยกำลังอีกส่วนหนึ่งได้ถูกส่งไป ยังส่วนต่างๆ ตามที่ได้วางแผนการณ์ไว้เมื่อก่อนหน้านี้
                    ทางด้านพลเรือน หลวงโกวิท อภัยวงค์ พร้อมสมัครพรรคพวก ได้แก่ นายบรรจง ศรีจรูญ นายประยูร ภมรมนตรี ร้อยเอก หลวงนิเทศกลกิจ นายยิน นายยล สมานนท์ นายประจวบ บุนนาค และคนอื่นๆ ได้นำกำลังออกไป ลาดตะเวน ตัดสายโทรเลขและสายโทรศัพท์ ตั้งแต่ก่อนเวลา 15.00 นาฬิกา เพื่อมิให้ผู้สำเร็จราชการพระนครและ ผู้บังคับบัญชาด้านการทหาร สามารถติดต่อกันได้ และรวมถึงการติดต่อโทรเลขกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้น ทรงประทับแรมอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล
                  กำลังส่วนต่างๆ ทั้งทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน และบุคคลสำคัญอื่นๆ ที่ พระยาพหลพลพยุห เสนา และพระยาทรงสุรเดช ได้สั่งการให้ออกไปสอดแนมติดตามความเคลื่อนไหว ของพระบรมวงศานุวงค์ และคน อื่นๆ ได้กลับเข้ารายงาน เพื่อทราบว่า พระพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระบรมวงศานุวงค์ และคนสำคัญในด้านการทหาร อยู่ ณ ที่ใด เพื่อความสะดวกในการติดตามจับกุมตัว เอาไว้เป็นตัวประกัน

หน้าถัดไป >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย