สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กะเหรี่ยง

ประชากร

นับว่าได้ว่ากะเหรี่ยงเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อพยพเข้าในประเทศไทยมานานแล้ว ส่วนหนึ่งมาอยู่หลายศตวรรษตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา,กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกนสินทร์ตอนต้นดังที่กล่าวมาแล้วจากประวัติศาสตร์ อีกส่วนหนึ่งอพยพมาได้ไม่กี่ปีร้อยจนถึงไม่ถึงร้อยปีการอพยพมาของชาวเขาที่มีอยู่ในประเทศไทย ในจำนวนเผ่าใหญ่ๆ เหล่านี้ ชาวกะเหรี่ยงมีประชากรมากที่สุด คือคิดเป็นร้อยละ 62.08 (ศูนย์วิจัยชาวเขา 2526) โดยตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกของไทยซึ่งติดต่อกับประเทศพม่า ตั้งแต่ตอนสุดลงมาจนถึงภาคใต้ ในบริเวณ 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, ลำพูน, ตาก, กาญจนบุรี, สุโขทัย, แพร่, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี, กำแพงเพชร, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, และระนอง

จำนวนประชากรกะเหรี่ยงทั้ง 4 กลุ่ม จากการสำรวจวิจัยของทั้งนักวิชาการ กรมประชาสงเคราะห์และศูนย์วิจัยชาวเขา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517-2531 และปี พ.ศ.2532-2537 มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 572,100 คน

ปี พ.ศ.2546 เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเดียวมีชาวเขาอาศัยอยู่ทั้งหมดประมาณ 238,777 คน โดยมีชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากถึง 138,447 คน คิดเป็นร้อยละ70.09 ในขณะเดียวกัน ปี พ.ศ.2546 จำนวนประชากรของจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด 1,603,220 คน โดยแยกจำนวนของเพศ คือชายมี 790,107 คน หญิงมี 813,113 คน ซึ่งหมายความว่าประชากรชาวเขาก็เป็นส่วนหนึ่งจำนวนประชากร 1 ล้าน 6 แสนเศษของเชียงใหม่.(จากข้อมูลศูนย์วิจัยชาวเขาก่อนถูกยุบไปหนึ่งเดือน)

อ่านต่อ >>

» กะเหรี่ยง

» ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพจากประเทศจีน

» ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชนชาติไทย

» ชนชาติกะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

» ลักษณะบุคคลกะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย

» ประชากร

» โครงสร้างทางสังคม

» ครอบครัว

» หมู่บ้าน

» ระบบคุณธรรมและจริยธรรม

» ประเพณีและข้อห้าม

» ศาสนาและพิธีกรรม

» ระบบเศรษฐกิจ

» การปกครอง

» ตำนานชนเผ่า

» บรรณานุกรม

กะเหรี่ยงในประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์ของกะเหรี่ยงในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย