ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ศิลปกรรม

มีบทนิยามว่า "สิ่งที่เป็นศิลปะ สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ"  ดังนั้นคำ ศิลปกรรม จึงมีความหมายกว้างขวาง ไม่จำกัดเฉพาะงานจิตรกรรม งานประติมากรรมและงานสถาปัตยกรรม อย่างที่นิยมใช้กันเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายรวมไปถึงงานวรรณกรรม งานนาฏศิลป์และงานดุริยางคศิลป์ด้วย

การจำแนกประเภทศิลปกรรมมีหลายวิธี แต่ที่นิยมกันคือจำแนกตามชนิดของสื่อที่ใช้แสดงผลงาน ดังนี้

1. ทัศนศิลป์ เป็นศิลปกรรมที่สื่อให้รับรู้ด้วยวิธีการเห็นด้วยตาเป็นสำคัญ มีการแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปภาพ เช่น งานจิตรกรรม งานศิลปะภาพพิมพ์ซึ่งเป็น ผลงานรูปแบบสองมิติ และยังรวมไปถึงผลงานรูปแบบสามมิติ เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นงานที่มีการแสดงออกด้วยลักษณะที่เป็นรูปทรง สัมผัส  จับต้องมิติต่าง ๆ ได้ด้วย จึงมีการเรียกงานทัศนศิลป์ประเภทนี้ว่า ทัศนะ - ผัสสะศิลป์ด้วย

2. โสตศิลป์ เป็นศิลปกรรมที่สื่อให้รับรู้ด้วยการฟังด้วยหูเป็นสำคัญ ได้แก่งานดุริยางคศิลป์ หรือดนตรีโดยเฉพาะ
เป็นศิลปกรรมที่ไม่มีกายภาพให้จับต้องได้ เป็นเสียงจากเครื่องดนตรีขณะกำลังบรรเลงเท่านั้น

3. พจนศิลป์ เป็นศิลปกรรมที่สื่อให้รับรู้ด้วยความเข้าใจความหมายของถ้อยคำเป็นสำคัญ ได้แก่งานวรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง

4. ศิลปะผสม เป็นศิลปกรรมที่สื่อให้รับรู้ได้หลายอย่าง ได้แก่งานด้านการแสดง เช่น ละครและเพลง

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย