ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่าย ตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

[รก.2543/44ก/13/18 พฤษภาคม 2543]

มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521
(2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521
(3) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2523
(4) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2527
(5) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2528
(6) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2531
(7) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2536
(8) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2538

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม หมายความว่า ข้าราชการซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในศาลยุติธรรมหรือสำนักงานศาลยุติธรรม

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานศาล ยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม

คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม หมายความว่า คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ก.ต. หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

มาตรา 5 ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม มีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ข้อบังคับนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1
บททั่วไป
________

มาตรา 6 ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ได้แก่

(1) ข้าราชการตุลาการ คือ ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดีรวมตลอดถึงผู้ช่วยผู้พิพากษา และข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่อ อย่างอื่นตามมาตรา 11 วรรคสอง

(2) ดะโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม

(3) ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ในทางธุรการซึ่งได้รับ การบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม

มาตรา 7 อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการและ ดะโต๊ะยุติธรรมให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 8 ภายใต้บังคับมาตรา 14 มาตรา 24 มาตรา 31 และมาตรา 52 การโอน ข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการโอนพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการหรือ ดะโต๊ะยุติธรรมอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยสำนักงานศาลยุติธรรมทำความตกลงกับเจ้าสังกัด

เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่ โอนมาตามวรรคหนึ่ง ในขณะที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเวลาราชการของข้าราชการตุลาการหรือดะโต๊ะยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่า การโอนนั้นจะได้กระทำก่อนหรือหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 9 บำเหน็จบำนาญของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมให้เป็น ไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมผู้ใดถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายถึง ทุพพลภาพเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนต้องออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพตาม มาตรา 35 ก.ต. หรือคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการศาลยุติธรรมจะพิจารณาเลื่อนชั้นหรือขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญก็ได้

มาตรา 10 ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและผู้พิพากษาสมทบตามกฎหมาย และระเบียบว่าด้วยการนั้น

หมวด 2
ข้าราชการตุลาการ
_______

ส่วนที่ 1
การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนตำแหน่ง
_______

มาตรา 11 ตำแหน่งข้าราชการตุลาการมีดังนี้ ประธานศาลฎีกา รองประธาน ศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน

ศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษา ประจำศาลและผู้ช่วยผู้พิพากษา นอกจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ก.ต. อาจออกประกาศกำหนดให้มีตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีกได้ ตำแหน่งดังกล่าวจะเทียบกับตำแหน่งใดตาม วรรคหนึ่งให้กำหนดไว้ในประกาศนั้นด้วย ประกาศ ก.ต. ตามวรรคสอง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 12 นอกจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา 11 ให้มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น การบรรจุ การแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำ ตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของผู้พิพากษาอาวุโส ให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

มาตรา 13 ข้าราชการตุลาการให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้

(1) ในศาลฎีกา

(ก) ประธานศาลฎีกา ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 5
(ข) รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และผู้พิพากษา ศาลฎีกา ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 4

(2) ในศาลอุทธรณ์

(ก) ประธานศาลอุทธรณ์และประธานศาลอุทธรณ์ภาค ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 4
(ข) รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 3 - 4

(3) ในศาลชั้นต้น

(ก) อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล และผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 3
(ข) ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 2 - 3 โดยให้เริ่มรับเงินเดือน ในขั้นต่ำของชั้น 2
(ค) ผู้พิพากษาประจำศาล ให้ได้รับเงินเดือน ชั้น 1 โดยให้เริ่มรับเงินเดือน ในขั้นต่ำของชั้น 1

(4) ผู้ช่วยผู้พิพากษา ให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา โดยให้เริ่ม รับเงินเดือนในขั้นต่ำของตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา

ให้ข้าราชการตุลาการได้รับเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนับแต่ วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว

ข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 11 วรรคสอง เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดก็ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น

มาตรา 14 การบรรจุข้าราชการตุลาการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย ผู้พิพากษา ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสอบคัดเลือก การทดสอบ ความรู้หรือการคัดเลือกพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 2 ของหมวดนี้

มาตรา 15 ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล จะต้อง เป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาและได้รับการศึกษาอบรมจากสำนักงานศาลยุติธรรมมาแล้ว ตามระยะเวลาที่ประธานศาลฎีกากำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.ต. แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผลของการศึกษาอบรมเป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าเป็น ผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ และความประพฤติเหมาะสม ที่จะเป็นผู้พิพากษา ทั้งนี้ ให้มีการประเมินผลของการศึกษาอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ในระหว่างการศึกษาอบรมตามวรรคหนึ่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษาผู้ใดไม่เหมาะสมที่จะ ดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการต่อไป หรือผู้ช่วยผู้พิพากษาผู้ใดเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษามาเป็นเวลา เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งถึงหนึ่งปีแล้ว และผลการศึกษาอบรมยังไม่เป็นไปตาม มาตรฐานของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ให้ประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของ ก.ต. มีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ หรือดำเนินการเพื่อให้มีการโอนไปเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมก็ได้

มาตรา 16 เมื่อ ก.ต.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการให้ดำรง ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาผู้นั้นต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อ พระมหากษัตริย์ ในระหว่างการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล หากปรากฏว่าผู้พิพากษา ประจำศาลผู้ใดไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป เมื่อคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเสนอ และ ก.ต. เห็นชอบ ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ออกจากราชการ หรือดำเนินการเพื่อให้ มีการโอนไปเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมก็ได้

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความเหมาะสมตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด

มาตรา 17 ในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่มิใช่ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการ และการงด การเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ต.

การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นให้เสนอแต่งตั้งจากข้าราชการตุลาการที่ดำรง ตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาลมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

ห้ามมิให้แต่งตั้งข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสตาม มาตรา 12 ไปดำรงตำแหน่งอื่น การพิจารณาให้ความเห็นชอบของ ก.ต. ตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงความรู้ ความ สามารถ ความรับผิดชอบ และประวัติการปฏิบัติราชการของบุคคลนั้น และให้นำความเห็น ในเรื่องดังกล่าวของคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมประจำชั้นศาลตามมาตรา 47 วรรคสอง มาประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา 18 การโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการตามมาตรา 17 จะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากข้าราชการตุลาการผู้นั้น เว้นแต่เป็นการโยกย้ายแต่งตั้งประจำปี การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น หรือเป็นกรณีที่ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัยหรือเป็น จำเลยในคดีอาญา ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.ต. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 19 เมื่อ ก.ต. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง การโยกย้ายแต่งตั้ง และ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการตุลาการตามมาตรา 17 แล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป

มาตรา 20 ให้ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ได้รับการเลื่อนชั้น เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการตุลาการท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้

(1 ) รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เมื่ออยู่ในชั้น 3 มาครบเจ็ดปี ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งเป็นชั้น 4

(2) ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น เมื่ออยู่ในชั้น 2 มาครบห้าปี ให้เลื่อนชั้นเงินเดือนและ เงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น 3 ขั้นต่ำ และเมื่ออยู่ในชั้น 3 ขั้นต่ำมาครบสามปีแล้ว ให้ได้รับพิจารณา เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเป็นชั้น 3 ขั้นสูงสุดได้

ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อเทียบกับตำแหน่งใดตาม (1) หรือ (2) ก็ให้ได้รับการเลื่อนชั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามตำแหน่งนั้น
ให้ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตุลาการตามมาตรา 13 (3) (ข) และ (ค) และ (4) สูงขึ้นหนึ่งขั้นทุกปี เว้นแต่เป็นกรณีที่ข้าราชการตุลาการผู้ใดได้รับเงินเดือนในขั้นสูงสุดของชั้น ที่ตนดำรงอยู่ ทั้งนี้ โดยไม่มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี

มาตรา 21 ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตุลาการไปช่วยทำงาน ชั่วคราวในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรมในตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่ไม่ ต่ำกว่าตำแหน่งที่ผู้นั้นดำรงอยู่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินหกเดือน หากกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวเกินกว่าหกเดือน ประธานศาลฎีกาต้องขอความเห็นชอบจาก ก.ต. ก่อน

การสั่งให้ข้าราชการไปช่วยทำงานชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความยินยอม จากข้าราชการตุลาการผู้นั้นด้วย

ห้ามมิให้ข้าราชการตุลาการซึ่งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสตามมาตรา 12 ไปช่วยทำงานชั่วคราวตามวรรคหนึ่งในตำแหน่งอื่น

มาตรา 22 เพื่อประโยชน์แก่ราชการศาลยุติธรรม ให้ข้าราชการตุลาการที่ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่คงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไปจนกว่าจะเข้ารับหน้าที่ ในตำแหน่งใหม่แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นให้คงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไปได้ตาม ระยะเวลาที่ ก.ต. กำหนด

มาตรา 23 การโอนข้าราชการตุลาการไปเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการ ศาลยุติธรรม หรือข้าราชการฝ่ายอื่น ให้ประธานศาลฎีกาสั่งได้เมื่อข้าราชการตุลาการผู้นั้นยินยอม และ ก.ต.เห็นชอบ

มาตรา 24 ข้าราชการตุลาการผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการไปโดย มิได้มีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมองในราชการ หรือโอนไปเป็นข้าราชการพลเรือนหรือ ข้าราชการฝ่ายอื่น เมื่อยื่นความประสงค์จะขอกลับ หรือโอนกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการตุลาการ โดยรับเงินเดือนไม่สูงกว่าขณะพ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการ และผู้นั้นมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 26 ให้ประธานศาลฎีกาสั่งบรรจุได้เมื่อ ก.ต. เห็นชอบ และให้นำความ กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป

ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการตุลาการผู้พ้นจากตำแหน่ง โดยโอนไปเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ที่ยื่นความประสงค์ขอโอนกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการ

ตุลาการด้วย เว้นแต่ข้าราชการตุลาการซึ่งโอนไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมจะ ขอโอนกลับเข้ารับตำแหน่งข้าราชการตุลาการโดยให้คงอยู่ในลำดับอาวุโสที่เคยครองและได้รับเงิน เดือนและเงินประจำตำแหน่งในชั้นและขั้นเดียวกับข้าราชการตุลาการที่อยู่ในลำดับอาวุโสเท่ากัน ในขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการก็ได้

มาตรา 25 ข้าราชการตุลาการผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการ รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย และประสงค์จะกลับเข้ารับ ราชการในตำแหน่งข้าราชการตุลาการโดยได้รับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ในขณะที่ไปรับราชการ ทหารนั้น ให้ยื่นคำขอภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ในกรณี เช่นว่านี้ให้ประธานศาลฎีกาสั่งบรรจุได้ เมื่อ ก.ต. เห็นชอบ และให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย