ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480
และวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2484)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทรโยธิน
ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ ณ วันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2485
เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรมีกฎหมายควบคุมการ แลกเปลี่ยนเงิน จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติควบคุมก าร แลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485"

มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

[รก.2485/7/279/1 กุมภาพันธ์ 2485]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"เงินตรา" หมายความว่า เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายใน ประเทศไทย

"เงินตราต่างประเทศ" หมายความว่า เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ในประเทศอื่นใดนอกจากประเทศไทย และหมายความรวมตลอดถึงค่าแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ

"ค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ" หมายความว่า เงินฝากคงเหลือ ในธนาคาร ตั๋วแลกเงิน เช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน โทรเลขสั่งโอนเงิน หนังสือสั่ง โอนเงิน หรือธนาณัติ บรรดาที่จะพึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ

"ทองคำ" หมายความว่า เหรียญกษาปณ์ทองคำ ทองคำแท่งหรือก้อน

"หลักทรัพย์" หมายความว่า หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ และใบรับเงินฝาก

"เจ้าพนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

[มาตรา 3 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติฯ พุทธศักราช 2486]

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงควบคุม กำกัดหรือ ห้ามการปฏิบัติกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินหรือการอื่นซึ่งมีเงินตรา ต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าในรูปใด และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ในข้อต่อไปนี้ด้วย

(1) การซื้อ การขาย การให้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศหรือทองคำ
(2) การส่งเงินตรา ธนาคารบัตร ธนาณัติ หลักทรัพย์ เงินตราต่าง ประเทศ หรือทองคำออกไปนอกประเทศ
(3) การโอนหลักทรัพย์จากประเทศไทยไปที่อื่น
(4) การออกตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำให้ตั๋วแลกเงิน หรือตั๋วสัญญาใช้เงินเปลี่ยนมือ การโอนหลักทรัพย์ หรือการรับสภาพหนี้อันเป็น การก่อให้เกิดหรือโอนไปซึ่งสิทธิที่จะได้รับชำระเงินในประเทศไทยเป็นการ ตอบแทน  

(ก) การรับชำระเงินหรือการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่อยู่นอก ประเทศไทย  
(ข) การได้สิทธิที่จะได้รับชำระเงิน หรือการได้สิทธิที่จะได้ รับมาซึ่งทรัพย์ สินที่อยู่นอกประเทศไทย รวมตลอดถึงการชำระเงินเป็นการตอบแทนการดังกล่าวนี้ด้วย

(5) การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน โดยเฉพาะการนี้ถ้ารัฐมนตรี เห็นสมควรก็ให้กระทำโดยประกาศได้
(6) การอนุญาตให้ธนาคารหรือบุคคลอื่นใดทำการแลกเปลี่ยนเงิน
(7) สั่งให้ขายของขาออกเป็นเงินตราต่างประเทศ หรือชำระเงิน ค่าของขาเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้จะระบุชื่อเงินตราต่างประเทศ นั้นด้วยก็ได้
(8) สั่งให้ขายเงินตราต่างประเทศที่ได้มาจากของขาออกหรือซื้อ เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าของขาเข้า ให้แก่หรือจากบุคคลที่รัฐมนตรี กำหนดและกำหนดระยะเวลา วิธีการ และเงื่อนไขแห่งการขายและซื้อ ดังกล่าวนั้น
(9) กัก จำกัดหรือห้ามการส่งออกซึ่งของ เมื่อมิได้ขายเงินตรา ต่างประเทศที่ได้มาจากของนั้น หรือการนำเข้าซึ่งของ เมื่อมิได้ซื้อเงินตรา ต่างประเทศ เพื่อชำระค่าของนั้นตามระยะเวลา วิธีการ หรือเงื่อนไขที่ได้ กำหนดไว้
(10) กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการรับหรือก ารใช้จ่ายเงินที่ส่ง มาจากเมืองต่างประเทศ
(11) กำหนดให้ผู้ส่งของออกหรือผู้นำของเข้าแจ้งรายการเกี่ยวกับ เงินที่ได้รับหรือได้ชำระเป็นค่าของที่ส่งออกหรือที่นำเข้า พร้อมทั้งแจ้ง รายการแห่งของนั้น

[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฯ พุทธศักราช 2486 รก.2486/27/820/18 พฤษภาคม 2486]

มาตรา 4 ทวิ ในการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศหรือ เล็ตเตอร์ออฟเครดิต และการโอนเงินระหว่างประเทศ ธนาคารหรือบุคคล อื่นใดที่ได้รับอนุญาตให้ทำการแลกเปลี่ยนเงิน ต้องทำการนั้นให้ถูกต้องตาม ประกาศหรือคำสั่งของรัฐมนตรี

[มาตรา 4 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราช บัญญัติฯ พุทธศักราช 2486 รก.2486/27/820/18 พฤษภาคม 2486]

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้มีทองคำ เครดิต หรือ เงินตราต่างประเทศ สิทธิที่จะได้รับเครดิตหรือเงินตราต่างประเทศ หรือ หลักทรัพย์ต่างประเทศให้ขายให้แก่เจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นใดที่รัฐมนตรี กำหนด และให้รับเงินตราตามอัตราแลกเปลี่ยนที่รัฐมนตรีกำหนด ให้ผู้ที่ได้รับคำสั่งของรัฐมนตรีซึ่งได้สั ่งตามความในวรรคก่อนปฏิบัติ ตามคำสั่งภายในเวลาที่กำหนด

มาตรา 6 การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 5 ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานและกำหนด อำนาจหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวแก่การเรียกให้แสดงสมุด บัญชี และเอกสารอันควรแก่เรื่อง

มาตรา 7 ทวิ เมื่อรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แทนแล้ว ให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่งตั้งพนักงานของธนาคารเป็นเจ้าพนักงานตามความในพระราชบัญญัตินี้ได้

[มาตรา 7 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ พุทธศักราช 2486]

มาตรา 8 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 8 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการ ลักลอบส่งหรือ นำเงินออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทย ให้ถือว่าเงินตรา เงินตราต่างประเทศ ธนาคารบัตรต่างประเทศ หรือหลักทรัพย์ไม่ว่าของไทย หรือต่างประเทศ เป็นของตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร การส่งหรือนำ หรือพยายามส่งหรือนำ หรือช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้อง ด้วยประการใด ๆ ในการส่งหรือนำเงินตรา เงินตราต่างประเทศ ธนาคาร บัตรต่างประเทศ หรือหลักทรัพย์ไม่ว่าของไทยหรือต่างประเทศออกไปนอก หรือเข้ามาในประเทศไทย โดยฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะกระทำด้วย วิธีใด ๆ ให้ถือว่าเป็นการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกหรือเข้ามา ในประเทศไทยอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรด้วย และให้นำ บทกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและอำนาจพนักงานศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ว่าด้วยการตรวจของและป้องกันลักลอบหนี ศุลกากร การตรวจค้น การยึดและริบของหรือการจับกุมผู้กระทำผิด การ แสดงเท็จและการฟ้องร้อง มาใช้บังคับแก่การกระทำดังกล่าว รวมทั้งบุคคล แ ละสิ่งของที่เกี่ยวข้อง

[มาตรา 8 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527]

มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ บทบัญญัติในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และ กฎหมายว่าด้วยศุลกากรยังไม่ชัดเจนและมีปัญหาในทางปฏิบัติเนื่องจากเมื่อมี การลักลอบส่งหรือนำเงินตราไทยออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทยโดย ผิดกฎหมาย ทางราชการไม่สามารถริบเงินตราไทยจากบุคคลที่ได้ทำการ ลักลอบนั้นไ ด้ เพราะได้มีคำพิพากษาฎีกาหลายฉบับพิพากษาว่าธนบัตรไทย ของกลางมิใช่ "ของ" อันอาจนำไปจำหน่ายเป็นสินค้าอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้ ดังนั้น ธนบัตรไทยของกลางจึงมิใช่ "ของ" ตามความหมายใน กฎหมายว่าด้วยศุลกากร และไม่สามารถริบได้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ฉะนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงสมควรกำหนดให้เงินตราไทยเป็น "ของ" ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และนอกจากนั้น เพื่อความชัดเจนและขจัดปัญหาต่อไปในอนาคต สมควรกำหนดให้เงินตรา ต่างประเทศ ธนาคารบัตรต่างประเทศ และหลักทรัพย์ทั้งของไทยและ ต่างประเทศเป็น "ของ" ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยศุลกากรด้วย และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

[รก.2527/174/1พ/26 พฤศจิกายน 2527]

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย