ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

บุคลิกภาพ

ทฤษฏีบุคลิกภาพการเรียนรู้ทางสังคม

 (Social Learning Theory)

ความเข้าใจ สภาพการณ์ และพฤติกรรม ทำไมแต่ละบุคคลจึงแสดงการกระทำที่แตกต่างกัน ทั้งที่ในสภาพการณ์ที่เหมือนกันและทำไมในบุคคลคนเดียวกันจะแสดงการการทำด้วยความยุติธรรมในโอกาสที่ต่างกัน นักพฤติกรรมมีความเห็นว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแต่ละบุคคลจะรู้จักการใช้ลักษณะเฉพาะบุคคลตามแต่ละสภาพการณ์

วอลเตอร์ มิสเชล (Walter Mischel) มีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นรางวัลที่บุคคลเคยได้รับและเป็นประสบการณ์ในสภาพการณ์ที่เหมือนกัน เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพการณ์ ความเข้าใจที่เป็นลักษณะเฉพาะต่อสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น การให้คุณค่าความสำคัญต่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะ เช่น เงิน หรือการเข้ากับบุคคลอื่นได้ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่อยู่รอบตัวเขา และความสำคัญในการพยากรณ์บุคลิกภาพอีกด้วย นักทฤษฎีลัทธิ พฤติกรรมเน้นบทบาทความคิดของแค่ละบุคคล ความรู้สึกและการคาดหวังในบุคลิกภาพ เรียกว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

การศึกษาบุคลิกภาพโดยใช้วิธีการเรียนรู้ทางสังคม เน้นตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมและ พฤติกรรมล้วนแต่เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้การ ตัดสินโดยอาศัยสภาพการณ์ที่มีตัวบุคคลอยู่ในสภาพการณ์นั้น กระบวนการความเข้าใจ ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและบุคคลอื่นจะช่วยทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีส่วนช่วยทำให้แต่ละบุคคลเกิดแนวทางปรับปรุงพฤติกรรมตามสภาพการณ์นั้น นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเป็นจำนวนมากเห็นว่าพฤติกรรมคือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ระหว่างคุณลักษณะเฉพาะบุคคลของแต่ละบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว

 

แอลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert Bandura) นักทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคมที่มีชื่อเสียง ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการความเข้าใจเป็นศูนย์กลางของการกระทำทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพในการใช้สัญลักษณ์เป็นกระบวนการ และสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ ตนเองให้เป็นการนำไปสู่การกระทำในอนาคต บุคคลมีความสามารถสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ด้วยการลงมือกระทำ โดยการรู้จักใช้ความรู้และพลังอำนาจในการรู้จักใช้สัญลักษณ์พฤติกรรมของบุคคล มิใช่อาศัยเพียงแต่ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและมิใช้ปฏิกิริยาตอบสนองในทันทีทันใดต่อ สิ่ง แวดล้อม แต่เป็นการควบคุมโดยความคิดที่มองเห็นการณ์ไกล นั้นก็คือ อนาคตที่วางแผนไว้ ล่วงหน้าหรือกำหนดลำดับขั้นของการกระทำไว้เป็นการล่วงหน้า ส่วนมากพฤติกรรมของแต่ ละบุคคลถูกจูงใจและควบคุมโดยมาตรฐานภายในตัวบุคคล การประเมินผล ปรับความคิดและ พฤติกรรมได้ รูปแบบของความคิดที่มีผลต่อการกระทำทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า บุคคลมีการตัดสินใจโดยการใช้ความสามารถของตนที่จะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพการณ์ที่ต่างกัน นั้นก็คือศูนย์กลางที่เรียกว่า ประสิทธิภาพของตนเอง

อิทธิพลที่เกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล เป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดการกระทำโดยใช้ความอุตสาหะในกิจกรรมแต่ละอย่าง และถ้าเป็นงานที่บุคคลนั้นมีความกระตือรือร้นหรือมีความศรัทธา บุคคลนั้นก็สามารถเลือกระดับประสิทธิภาพการทำงานของเขาได้ การรู้จักสังเกตตัวอย่างบุคคลอื่นที่มีความสำเร็จในการทำงาน เป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางฐานะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพของตนเองได้ดีขึ้น

แบนดูร่ามีความเห็นว่า การกระทำทั้งหลายของบุคคลเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม ความเข้าใจปัจจัยส่วนบุคคลและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระทำของแต่ละบุคคลจะมีพลังแตกต่างกันโดยจะแปรตามสภาพการณ์ เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งจะมีพลังอิทธิพลต่อ พฤติกรรม เช่น เมื่อคนกระโจนลงในน้ำลึก ทุกคนจะพยายามว่ายน้ำขึ้นมา การเรียนรู้โดยใช้การสังเกตจากบุคคลอื่น เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ แบนดูร่า กล่าวว่า บุคคลรู้จักสังเกต พฤติกรรมของบุคคลอื่น และรู้จักดูว่าหลังจากการแสดงพฤติกรรมนั้นแล้วผลที่ตามมาจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะถูกควบคุมโดยลำดับขั้นต่างๆ แตะยังมีผลต่อความ เข้าใจและการประเมินสภาพการณ์ของบุคคล

อ่านต่อ >>>

» สิ่งที่กำหนดบุคลิกภาพ

» ทฤษฏีบุคลิกภาพ

» ทฤษฎีของกลุ่มฟรอยด์ใหม่

» ทฤษฏีบุคลิกภาพของแอคเลอร์

» ทฤษฏีบุคลิกภาพแบบคุณลักษณะ

» ทฤษฏีบุคลิกภาพตามรูปร่างของบุคคล

» ทฤษฏีบุคลิกภาพการเรียนรู้ทางสังคม

» ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม

» ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพของอีริคสัน

» การวัดบุคลิกภาพ

» เครื่องมือวัดบุคลิกภาพ

» การประเมินชนิดฉายภาพตนเอง

» วิธีวัดบุคลิกภาพชนิดอื่น ๆ

» การแสดงออกสำหรับบุคลิกภาพที่ดี

» การพัฒนาบุคลิกภาพ

» บุคลิกภาพและความสำเร็จ

» อิทธิพลของพฤติกรรมและท่าทีความรู้สึกของผู้อื่นกับบุคลิกภาพของเรา

» บุคลิกภาพกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน

» การใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ

» ประยุกต์ใช้กับตนเอง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย