สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย - กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

 

กระทรวงการต่างประเทศ

การละเมิดข้อตกลงของกัมพูชาและการประท้วงของไทย

MOU 2543 ข้อ 5 กำหนดว่า “เพื่ออำนวยความสะดวกให้การ สำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกัน เป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้น จะงดเว้น การดำเนินการใด ๆ ที่มีผล เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของ พื้นที่ชายแดน เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการ เทคนิคร่วม เพื่อประโยชน์ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน”

อย่างไรก็ดี นับแต่มีการจัดทำ MOU 2543 ฝ่ายกัมพูชาได้ละเมิด MOU 2543 ข้อ 5 โดยก่อสร้างรุกล้ำเขตแดนไทยในบางพื้นที่ รวมทั้ง ก่อสร้างวัด ถนน ตลาด และให้มีประชาชนกัมพูชาอาศัยอยู่ในบริเวณ ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้ ฝ่ายกัมพูชายังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ในบริเวณพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการละเมิดอธิปไตยและ บูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย ฝ่ายไทยจึงได้ดำเนินการประท้วงต่อ เรื่องดังกล่าว

ในทางปฏิบัติของไทย การประท้วงจะเริ่มจากหน่วยงานในท้องถิ่น อาทิ หน่วยงานประสานงานชายแดนประจำพื้นที่ และหากหน่วยบังคับ บัญชาเห็นว่าควรมีการประท้วงในระดับรัฐบาลก็จะมีหนังสือแจ้งให้ กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการต่อไป ในขณะเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศก็ได้รับแจ้งเรื่องจากหน่วยงานระดับท้องถิ่นเพื่อ ติดตามสถานการณ์ด้วย

การประท้วงของไทยในระดับรัฐบาล

    25 พฤศจิกายน 2547 - ไทยดำเนินการประท้วงชุมชนและการก่อสร้าง ที่พัก และการบริหารจัดการขยะและน้ำเสีย
    8 มีนาคม 2548 - ประท้วงการก่อสร้างและพัฒนาถนนจากบ้าน โกมุยขึ้นสู่ปราสาทพระวิหาร
    17 พฤษภาคม 2550 - คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น มรดกโลก
    10 เมษายน 2551 - ประท้วงการขึ้นทะเบียนมรดกโลก การก่อสร้าง ถนน การก่อสร้างต่าง ๆ ของชุมชนและกรณี กัมพูชาวางกำลังทหารรวมทั้งส่งหน่วยเก็บกู้ ระเบิดเข้าดำเนินการในพื้นที่
    11 พฤศจิกายน 2551 - ประท้วงกรณีชาวกัมพูชาและเจ้าหน้าที่ยูเนสโก เดินทางผ่านเข้ามาในไทยโดยมิได้ขออนุญาตเพื่อ เข้าร่วมพิธีปักธงบริเวณปราสาทพระวิหารและ พื้นที่ใกล้เคียง
    12 พฤศจิกายน 2551 - ประท้วงการตั้งเสาธงชาติและธงยูเนสโก การก่อสร้างป้ายบริเวณแนวบันไดปราสาทพระวิหาร
    13 พฤศจิกายน 2551 - ประท้วงกรณีกัมพูชานำพระสงฆ์ เณร และ ประชาชนชาวกัมพูชา เข้าร่วมพิธีทอดกฐิน ณ วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา
    10 มีนาคม 2552 - ประท้วงการก่อสร้างและพัฒนาถนนจากฝั่ง กัมพูชาขึ้นสู่ปราสาทพระวิหารถึงบริเวณวัด แก้วสิขาคีรีสะวารา
    26 มีนาคม 2552 - ประท้วงการก่อสร้างห้องน้ำและอาคารบริเวณ วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา
    22 กันยายน 2552 - ประท้วงสิ่งปลูกสร้างบริเวณบันไดเชิงปราสาท พระวิหาร
    29 ตุลาคม 2552 - ไทยปฏิเสธข้อกล่าวหาของกัมพูชาที่กล่าวว่า ทหารไทยเป็นผู้ทำลายตลาดบริเวณปราสาท
    9 เมษายน 2553 - ประท้วงการสร้างกุฏิพระที่วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา ในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
    4 มีนาคม 2554 - ประท้วงการจัดให้ผู้ช่วยทูตทหารต่างประเทศดู พื้นที่ปราสาทพระวิหารผ่านพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิ
    31 มีนาคม 2554 - ไทยเรียกร้องให้กัมพูชารื้อถอนวัดและปลดธงจาก วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา

*** การประท้วงของไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศ ถือว่ามีผล สมบูรณ์ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในการรักษาสิทธิและอธิปไตยของ ประเทศ โดยถึงแม้กัมพูชาจะมีการสร้างถนน ตลาด วัด และชุมชนในพื้นที่ ก็ตาม ประเทศไทยเลือกใช้แนวทางการเจรจาซึ่งเป็นการยุติข้อพิพาทโดย สันติวิธีอันเป็นหลักที่ยอมรับในอารยประเทศ ***

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย