ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาสัจจนิยม

3

สัจจนิยมแบบโดยอ้อม

หลักการทั่วไปของสัจจนิยมแบบโดยอ้อม เป็นการปฏิเสธทัศนะของสัจจนิยมโดยตรง สัจจนิยมโดยอ้อมนี้มีการแบ่งออกเป็นวัตถุภายนอกในฐานะที่เป็นตัวสาเหตุของการรับรู้และเป็นวัตถุของการรับรู้กับ ข้อมูลทางผัสสะซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางจิตขอขบวนการของสมอง โดยขึ้นอยู่กับการกระท่าของวัตถุภายนอกต่ออวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ

สัจจนิยมแบบตัวแทน

  1. ในการรับรู้วัตถุ เช่น “ การมองเห็นโต๊ะตัวหนึ่ง”  อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเมื่อลำแสงสะท้อนจากโต๊ะมากระทบนัยน์ตา เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่อเรตินา (เยื่อภายในลูกตาทำหน้าที่รับภาพเหมือนจอภาพยนตร์) และส่งแรงกระตุ้นไปตามประสาทตาเพื่อไปสู่สมอง เมืองก็จะกระทำการผลักดันให้จิตของผู้รับรู้ได้ตระหนักในผัสสะที่เป็นส่วนตัวขึ้น ซึ่งเป็นความคิดของจิต  “ ความคิดเชิงเดี่ยวในปรัชญาของล็อคผัสสะนี้เป็นตัวแทนของคุณสมบัติต่าง ๆ ของโต๊ะ เช่น รูปร่างสี ดังนั้นประเด็นสำคัญคือการรับรู้ที่แท้จริง ก็คือ การตระหนักรู้โดยตรงในผัสสะ ซึ่งวัตถุเป็นตัวทำให้เกิดขึ้น การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ต้องอยู่ภายในขอบขายของผัสสะทั้งสิ้น การรับรู้แบบนี้จึงจัดเป็นขบวนการ 3 หน่วย (three tem process) เพราะการรับรู้วัตถุเป็นการรับรู้ผ่านตัวแทนที่เป็นผัสสะหรือเป็นความคิดของจิต ตรงกันข้ามกับสัจจนิยมแบบโดยตรงที่การรับรู้วัตถุเป็นการรู้จักตัววัตถุจริง ๆ มิได้ผ่านตัวแทนอะไร
  2. วัตถุทั้งหลายที่อยู่ภายนอกตัวคนนั้นมีความแท้จริง แต่เป็นความแท้จริงในลักษณะที่เป็นสิ่งที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น เพราะคุณสมบัติประเภทนี้เป็นคุณสมบัติที่ทุกสิ่งต้องมีเหมือนกันหมด วัตถุใดก็ตามจะต้องมีขนาดรูปร่าง น้ำหนักการเคลื่อน เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่มีความคงทนติดอยู่กับวัตถุตลอดไป ส่วนคุณสมบัติทุติยภูมินั้นไม่ได้มอยู่ตัววัตถุ เพราะมันเป็นสิ่งที่จิตของคนเป็นผู้สร้างขึ้นมาในเวลาที่เรารับรู้วัตถุที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิ ดังนั้น สีและกลิ่นของดอกกุหลาบสีและรสของขนมทองหยิบ จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการรับรู้ของคนต่อมัน ด้วยเหตุนี้เองคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่คงทน หากต้องผันแปรไปตามสถานการณ์ของตัวคนที่รับรู้ เช่น คนตาบอดสีจะมีการเห็นสีต่าง ๆ ผิดไปจากคนตาปกติ ดังนั้น ผัสสะทั้งหลายจะมีความเหมือนกันกับคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ เช่น เรามองเห็นขนมเปี๊ยะว่า มีรูปร่างกลม ผัสสะของความกลมนี้จะตรงกันกับคุณสมบัติกลมที่มีอยู่ในตัวขนม แต่ผัสสะที่เป็นพวกสีเสียง กลิ่น รส  อุณหภูมิ จะไม่เหมือนกับคุณสมบัติทุติยภูมิของวัตถุ เพราะในวัตถุจริง ๆไม่ได้มีคุณสมบัติพวกนี้อยู่เลย มันเป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น โดยมีคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุเป็นตัวผลักดันให้เกิดมีขึ้น
  3. จุดบกพร่องของสัจจนิยมแบบตัวแทนก็คือ ถ้าถือว่าการรับรู้ขอเราเป็นการตระหนักรู้ในผัสสะที่เป็นส่วนตัวและเป็นความคิดของจิตแล้ว ก็เป็นการยากที่จะทำลายแวดวงของผัสสะออกไป และได้ประจักษ์โลกภายนอกจริง ๆ เราจะบอกได้อย่างไรว่าวัตถุเหล่านี้มีอยู่ ถ้าเราพยายามพิสูจน์ว่าโต๊ะตัวหนึ่งมีอยู่ด้วยการเอามือไปสัมผัสมัน ซึ่งก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของพื้นผิว หรือถ้าเรามองเห็นว่ามือของเราสัมผัสโต๊ะ ก็เพียงแต่เราได้รับผัสสะของการเห็นเท่านั้น เมื่อใดที่เราพยายามจะเพ่งดูออกไปภายนอกขอบข่ายของผัสสะ เราก็จะมีแต่ได้รับผัสสะมากขึ้น หลักการของสัจจนิยมแบบตัวแทนนี้ ก็เหมือนกับการถ่ายภาพนั่นเอง เราไม่ได้รู้จักตัวจริงของวัตถุแต่รู้จักภาพถ่าย ซึ่งเป็นตัวแทนของวัตถุ ต่างกันตรงที่ว่าเราได้รู้ว่าภาพถ่ายนั้นเหมือนกับตัวจริง เพราะเราสามารถที่จะสังเกตเห็นทั้งภาพถ่ายและตัวจริง แต่เราไม่อาจจะเปรียบเทียบวัตถุจริงกับผัสสะได้ว่ามันเหมือนกันหรือไม่ การตรวจดูวัตถุ ก็คือ การตรวจดูผัสสะที่เหมือนกันเฉพาะในส่วนที่เป็นคุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น

ทฤษฎีสัจจนิยมแบบตัวแทนก็คือ ปรัชญาของจอห์น ล็อค (John Locke) ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทแรกที่ว่าด้วยปัญหาเรื่องต้นกำเนิดของความรู้นั่นเอง ซึ่งในปัญหาดังกล่าวเราเรียกปรัชญาของเขาว่า “ประจักษ์นิยม” เพราะยืนยันว่าความรู้ของคนเราเริ่มมีขึ้นจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ต่อมาในปัญหาเรื่องสิ่งที่คนเรารู้คืออะไร เราเรียกปรัชญาของเขาว่า “สัจจนิยมแบบตัวแทน” เพราะยืนยันว่าการรู้จักวัตถุเป็นการรู้โดยผ่านความคิดที่เป็นผัสสะซึ่งเป็นเพียงตัวแทนของคุณสมบัติแท้จริงที่มีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น นี่เป็นแนวที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ที่เสนอสมมติฐานว่า ในวัตถุหรือสสารประกอบด้วยอนุภาพเหล็ก ๆ ที่มีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา ไม่ได้มีคุณสมบัติพวกสี เสียง รส ฯลฯ แต่อย่างใด อย่างไรก็ดีมีผู้วิจารณ์ว่าหลักการของสัจจนิยมเช่นนี้ในที่สุดไม่อาจเลี่ยงพ้นจากการนำไปสู่จิตนิยมแบบอัตนัยของเบอร์คเลย์ได้

สัจจนิยมเชิงวิจารณ์
เป็นทัศนะที่ไม่เห็นด้วยกับสัจจนิยมใหม่ที่เห็นว่า คนเรารับรู้ตัววัตถุจริง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเรา จึงเสนอ แนวคิดว่า

  1. ยอมรับว่าวัตถุภายนอกมีความแท้จริงโดยไม่ขึ้นกับการที่ต้องมีคนมารู้จักมัน แต่คนเราไม่อาจจะรู้จักตัวจริงของวัตถุได้ เพราะประสบการณ์ของคนเราไม่ได้เข้าถึงความเป็นจริงของวัตถุในสภาวะที่ไม่มีสิ่งใดปกคลุม แต่การรับรู้ในวัตถุนั้นต้องรู้โดยผ่านตัวกลางบางอย่าง ดังนั้น วัตถุในการรับรู้ของคนเราจึงไม่ใช่ตัววัตถุของจริง แต่เป็นวัตถุคามที่ปรากฏแก่จิตที่รู้จักมัน
  2. ตัวกลางนี้เรียกว่า “ข้อมูล” (data) ซึ่งจะกล่าวว่าเป็นลักษณะจริงของวัตถุก็ไม่ได้ หรือจะถือว่าเป็นสภาวะของจิตของผู้รู้ไม่ได้ เพราะมันเป็นสภาวะรวมกันของทั้งสองอย่าง ข้อมูลนี้เป็นลักษณะที่ซับซ้อนที่จะเกิดมีขึ้นในขณะที่มีการรับรู้ ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของวัตถุและธรรมชาติของจิตผู้รู้ร่วมกันมันจึงไม่ใช่ตัววัตถุจริงและก็ไม่ใช่สภาวะของจิตอย่างเดียว ข้อมูลนี้เป็นสาระสำคัญเป็น ตัวนักขณะที่ชี้บอกถึง“ ความเป็นอะไร” ของวัตถุในฐานะที่เป็นสิ่งถูกรู้
  3. ดังนั้นในการรับรู้โลกภายนอกของคนเราจะมีปัจจัย 3 อย่างหนึ่ง คือ จิตที่เป็นผู้รู้ สอง คือ วัตถุใด ๆ ในสภาพดั้งเดิมของมัน และสาม คือ ข้อมูลซึ่งได้มาโดยทางอวัยวะรับสัมผัส ข้อมูลนี้เป็นสภาวะรวมกันของวัตถุและจิตผู้รู้ เพราะในขณะที่มีการรับรู้วัตถุภายนอกเกิดขึ้นนั้น เราไม่ได้รับรู้ตัวจริงของวัตถุ แต่จะต้องมีการเกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในของจิตเสมอ เด่นมีการตัดสินใจให้ชัดเจนว่ามันคืออะไรหรือมันเป็นลักษณะของสิ่งใด หรือเราทำการตอบสนองต่อมันไปในทันที การเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางจิตนี้จะเกิดขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามแต่สถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เรากล่าวว่า “ วิชัยอยู่นั่นไง”  เป็นการมองเห็นวิชัยและยังมีการชี้ชัดลงไปว่าเขาอยู่ที่นั่นหรือ “ นั่นไง รถเมล์ของฉันมาแล้ว”  ก็เป็นการรับรู้รถเมล์และชี้ชัดลงไปว่ามันเป็นสายที่ตนจะขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีการเตรียมพร้อมที่จะขึ้นรถซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางจิตวิทยา
  4. แม้ว่าสัจจนิยมวิจารณ์จะเป็นสัจจนิยมแบบสุดท้ายของการพัฒนาของลัทธิ แต่สัจจนิยมวิจารณ์ก็ยังมีข้อให้วิจารณ์ได้อยู่อีก  นั่นคือ การอ้างถึงตัวกลางในการรับรู้ ซึ่งดูเหมือนลอยอยู่ระหว่างวัตถุกับผู้รู้ ซึ่งการอธิบายออกจะเป็นสิ่งลึกลับและลึกซึ้งเกินไป และการถือว่าเราไม่อาจจะเข้าถึงตัววัตถุที่แท้จริงได้ก็ยิ่งลึกลับมากขึ้นเพราะเป็นการถอยหลังกลับไปสู่ปรัชญาของนักปรัชญาซาวเยอรมันชื่อ คานท์ (Kant) ซึ่งเสนอว่า โลกภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจปรากฏตัวจริงของมันต่อการรับรู้ของคนได้วัตถุต่าง ๆ มีอยู่ในฐานะเป็น “ สิ่งในตัวเอง”  ที่เราไม่อาจจะรู้จักธรรมชาติแท้จริงของมันได้ เพราะการรับรู้วัตถุต้องรู้ตามกลไกหรือโครงสร้างของสมอง ดังนั้น วัตถุจริงกับสิ่งที่เรารู้จะไม่เหมือนกัน

สัจจนิยมทุกแบบมีความเชื่อร่วมกันว่า มีโลกภายนอกตัวมนุษย์ โลกดังกล่าว ประกอบด้วยวัตถุทั้งหลายซึ่งมีความแท้จริงตามสภาพของมันโดยไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะมีมนุษย์รับรู้มันหรือไม่ และมีอยู่ก่อนที่จะมีผู้ใดมารู้มัน ถึงแม้ว่าคนเราจะรู้จักมันโดยทางประสาทสัมผัส แต่จะกล่าวว่ามันจึงเป็นเพียงผัสสะหรือความคิดของจิตไม่ได้ ฉะนั้นในคำถามที่ว่าสิ่งที่เรารู้คืออะไรนั้น สัจจนิยมได้ให้คำตอบว่าคือวัตถุทั้งหลายที่มีตัวตนอยู่นั่นเอง แต่ความคิดของนัก สัจจนิยมทั้งหลายจะต่างกันในเรื่องของการที่เรารู้จักวัตถุ นั้นรู้อย่างไร จึงทำให้เกิดมีสัจจนิยมแบบต่าง ๆ สัจจนิยมโดยตรง เป็นกลุ่มสัจจนิยมที่เห็นว่าคนเรารู้จักวัตถุต่าง ๆ โดยตรงในกลุ่มนี้มี

 

  1. สัจจนิยมแบบผิวเผิน มีความเชื่อว่าทุกอย่างทีคนเราได้รู้จักพบเห็นหรือที่ประสาทสัมผัสให้ข้อมูลแก่เรานั้น ล้วนเป็นความจริงทั้งสิ้น วัตถุมีคุณสมบัติทุกอย่างอยู่ภายในตัวมันอย่างแท้จริง
  2. สัจจนิยมเเบบสามัญสำนึก การรู้จักวัตถุทั้งหลาย ก็คือ การกระทบกระทั่งกันโดยตรงระหว่างมนุษย์ในฐานะที่เป็นอินทรีย์มีชีวิต กับวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมซาติวัตถุเป็นทั้งสาเหตุให้เกิดการรู้และเป็นวัตถุของการรู้
  3. สัจจนิยมใหม่ ในการรู้จักสิ่งต่าง ๆ สัจจนิยมใหม่มีความเชื่อที่ตรงกับสัจจนิยม 2 แบบแรก คือ เป็นการรู้จักวัตถุโดยตรงไม่ได้ผ่านหรืออาศัยข้อมูลที่เป็นผัสสะทางอวัยวะรับสัมผัสใด เช่น เมื่อตาเรามองเห็นต้นไม้ต้นหนึ่ง นั่นก็คือเราได้รับรู้ต้นไม้ต้นนั้น ไม่ใช่ผัสสะสีเขียว สูง สีน้ำตาลของลำต้น ฯลฯ ในการรับรู้วัตถุจึงไม่ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตที่เป็นส่วนตัวของผู้รู้เข้าไปเลย นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการที่คนหลายคนอาจจะรับรู้คุณสมบัติของวัตถุต่างกันออกไปว่า เป็นการที่ระบบประสาทของแต่ละคนเลือกรับรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง แต่ทุก ๆ ลักษณะก็เป็นคุณสมบัติแท้จริงของวัตถุเดียวกัน

สัจจนิยมโดยอ้อม คือกลุ่มสัจจนิยมที่ถือว่า คนเรารู้จักวัตถุโดยผ่านตัวกลางบาง อย่าง

  1. สัจจนิยมแบบตัวแทน การรู้จักวัตถุต้องรู้โดยผ่านผัสสะซึ่งเป็นตัวแทนของวัตถุจริง วัตถุจริงนั้นมีแต่คุณสมบัติปฐมภูมิเท่านั้น ไม่มีคุณสมบัติทุติยภูมิ ดังนั้นผัสสะของคนเราจะเหมือนกับคุณสมบัติปฐมภูมิของจริงในตัววัตถุ แต่จะไม่เหมือนกับคุณสมบัติทุติยภูมิ เพราะคุณสมบัตินี้ไม่มีอยู่ในตัววัตถุ เป็นเพียงอำนาจที่คุณสมบัติปฐมภูมิก่อให้เกิดขึ้นกับจิตผู้รับรู้
  2. สัจจนิยมเชิงวิจารณ์ การรู้จักวัตถุไม่ใช่เป็นการรับรู้วัตถุตัวจริงเหมือนอย่างสัจจนิยมใหม่ แต่เป็นการที่คนเรารู้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า “ ข้อมูล”  ได้มาโดยทางอวัยวะรับสัมผัส ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในสภาวะร่วมกันของจิตผู้รู้กับวัตถุตัวจริง วัตถุ ตัวจริงเป็นอย่างไรนั้นไม่อาจรู้ได้ เพราะเมื่อคนเรารับรู้สิ่งใด ๆ นั้น ต้องมีการเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตเข้าไปเสมอ เช่น ตัดสิน หรือ ตีความสิ่งนั้น ๆ ดังนั้นในการรู้จึงมีปัจจัย 3 อย่าง คือ จิตผู้รู้ วัตถุในสภาพดั้งเดิม และข้อมูลซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นวัตถุของการรับรู้ซึ่งได้ถูกเพิ่มเติมเนื้อหาทางจิตลงไปแล้ว

ดังนั้นจะเห็นว่าลัทธิสัจจนิยม (realism) เน้นในเรื่องวัตถุ หรือวัตถุนิยม (materialism) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก (outer world) Phoenix ได้กล่าวไว้ว่า “วัตถุนิยมเป็นลัทธิสัจจนิยมชนิดหนึ่ง ซึ่งถือเอาวัตถุ (material) เป็นความจริงสุดท้าย สิ่งที่ไม่มีอยู่ให้เห็น สิ่งนั้นไม่ใช่วัตถุ แต่ต่างกันที่ชนิดและสิ่งที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุเท่านั้น ส่วนจิตก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกิดจากวัตถุเท่านั้น

อ่านต่อ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย