ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

จักรวรรดิไศเลนทร์

14

     ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ สามารถขนสินค้าและสัมภาระได้จำนวนมากสำหรับเดินทางไกล แล่นฝ่าคลื่นลมไปได้อย่างรวดเร็ว มีความรู้และประสบการณ์ เป็นนักเดินเรือที่สามารถ กล้าแล่นเรือฝ่าคลื่นลมตัดข้ามมหาสมุทรจากเมืองท่าในประเทศศรีลังกาหรือเมืองท่าชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งอยู่ในแถบเส้นละติจูด 5 องศาเหนือ ตั้งหัวเรือมุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก เมื่อแล่นใบตัดข้ามทะเลอันดามัน กระลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดหัวเรือให้เฉไประหว่างเส้นละติจุดที่ 7-8 องศาเหนือ ครั้นเรือมาถึงคาบสมุทรภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ก็จะมาถึงเมืองท่าเรือในจังหวัดกระบี่ หรือ จังหวัดพังงา

ส่วนตอนขากลับกัปตันมักแล่นเรือเลียบขายฝั่งขึ้นไปที่บริเวณละติจูด 10 องศาเหนือ ในเขตจังหวัดระนอง มุ่งหัวเรือตรงไปทางทิศตะวัตตก กระแสลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดพาเรือไปยังเมืองท่าเรือชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย หรือ เมืองท่าเรือชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศศรีลังกา

การเดินเรือในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิค สมัยโบราณถูกจำกัดฤดูกาลของลมมรสุม คือ “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” เริ่มต้นพัดตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” เริ่มเต้นพัดตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ฤดูกาลของลมมรสุมดังกล่าวจึงมีระยะเวลาห่างกันในราว 3 เดือน ดังนั้น เมื่อพวกพ่อค้าเดินเรือจากอินเดียเมื่อมาถึงเมืองท่าชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ไม่ว่าชายฝั่งทะเลตะวันออกหรือว่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ก็ไม่สามารถเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางได้ จำเป็นต้องจอดเรือที่เมืองท่า หรือสถานีการค้า เพื่อซ่อมแซมเรือ ตระเตรียมเสบียงอาหาร น้ำจืด ขนสินค้าและสัมภาระข้ามคาบสมุทรไปยังเมืองท่าฝั่งตรงกันข้าม บรรทุกเรือเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง และรวบรวมสินค้าที่ซื้อขายและเปลี่ยนกับชาวพื้นเมืองขนถ่ายลงเรือ เพื่อเดินทางกลับให้ทันฤดูกาลของลมมรสุม

ส่วนการเดินเรือในทะเลจีนใต้ เรือสินค้าที่แล่นใบตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากเมืองท่าทางตอนใต้ของประเทศจีน กระแสลมจะพัดพาเรือเข้าปะทะชายฝั่งทะเลตอนกลางประเทศเวียดนามในแถบเมืองดานัง ต่อจากนั้นเรือจะแล่นเลียบชายฝั่งลงมาทางใต้จนกระทั่งถึงปลายแหลมญวน แล้วจึงแล่นเรือตัดข้ามอ่าวไทยมายังเมืองท่าชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ในแถบจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในตอนขากลับจะต้องอาศัย ฤดูกาลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เรือแล่นใบตัดอ่าวไทยไปยังปลายแหลมญวนแล้วเลียบชายฝั่งทะเลขึ้นไปยัง เมืองดานัง ต่อจากนั้นจึงแล่นเรือตัดอ่าวตังเกี๋ย มุ่งหน้าไปยังเมืองกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของประเทศจีน

แต่ภายหลังพวกพ่อค้าค้นพบว่า เส้นทางข้ามคาบสมุทรจาก บ้านทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ข้ามเขาสกไปยังท่าเรือบ้านหัวเขา หรือควนพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีระยะทางในราว 150 กิโลเมตร เป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรภาคใต้ ที่สะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายกว่าเดิม โดยขนถ่ายสินค้าและสัมภาระลงเรือเล็กล่องไปตามลำแม่น้ำจนถึงต้นน้ำ ต่อจากนั้นเดินบกข้ามเขาสกไปลงเรือเล็กล่องไปตามลำแม่น้ำไปยังท่าเรืออีกฝั่งหนึ่ง จึงนิยมใช้เส้นทางข้ามคาบสมุทรในบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางหลัก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรจุดเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจการค้าระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกให้ติดต่อถึงกันอย่างเป็นระบบ เรียกว่า “ระบบการค้าโลก” (World System)

ทั้งนี้เพราะว่าเรือสินค้าไม่ว่าเดินทางมาจาก อินเดีย อาหรับ เมื่อเดินทางมาถึงตอนกลางคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน หากต้องการขนถ่ายสินค้าและสัมภาระเดินทางข้ามคาบสมุทรไปยังชายฝั่งทะเลตะวันออก ต้องจอดเรือที่บ้านทุ่งดึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพราะว่าเป็นท่าเรือน้ำลึกที่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำตะกั่วป่า มีภูเขากำบังคลื่นลมสามารจอดได้ดีทุกฤดูกาล ต่อจากนั้นลำเลียงสินค้าและสัมภาระลงเรือเล็กล่องขึ้นไปตามลำแม่น้ำตะกั่วป่า ซึ่งมีความยาวในราว 30 กิโลเมตร เมื่อไปถึงเขาพระนารายณ์ต้นแม่น้ำตะกั่วป่า ตรงบริเวณ คลองเหล และ คลองรมณีย์ ไหลมาบรรจบกัน ก็ล่องเรือไปตามลำคลองจนถึงบ้านท่าหัน เรือไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ต้องเดินเท้า ส่วนสินค้าและสัมภาระใช้ช้างชนเดินตัดข้ามเขาสก ที่ช่องจอมน้ำค้าง ใช้เวลาในราว 4 ชั่วโมง ลงจากเขาสกไปยังท่าเรือที่บ้านคลองสก ขนถ่ายสินค้าและสัมภาระลงเรือล่องไปตามคลองสกไปออกลำแม่น้ำพุมดวง เดินทางมาถึงควนพุนพิน ซึ่งเป็นจุดที่ แม่น้ำพุมดวง กับ แม่น้ำหลวง หรือ แม่น้ำตาปี ไหลมาบรรจบกัน แล้วไหลไปออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน

เส้นทางข้ามคาบสมุทรจุดเชื่อมโลก ซึ่งประกอบด้วยเมืองท่าเรือ คลังเก็บสินค้า ศูนย์กลางตลาดการค้าทางทะเลที่ต้อยู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ทางฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ บริเวณโบราณสถานบ้านทุ่งตึก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในคัมภีร์เก่าแก่ของอินเดียว่า “เมืองท่าตักโกลา” มีร่องรอยเส้นทางเดินลัดข้ามคาบสมุทร มายัง เมืองท่าเรือชายฝั่งทะเตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ที่แหล่งโบราณสถานควนพุนพิน ตำบลท่าข้าม เป็นบริเวณที่แม่น้ำพุดวง ซึ่งต้นแม่น้ำเกิดมาจากเทือกภูเขาต่อแดนกับจังหวัดพังงาไหลมาบรรจบกับ แม่น้ำหลวง ซึ่งต้นแม่น้ำเกิดมาจากเมืองภูเขาหลวง ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช กลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่และยาวที่สุดในคาบสมุทรภาคใต้ ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “แม่น้ำตาปี” แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านแหล่งโบราณสาถนสำคัญบ้านหัวเขา ตำบลเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี สันนิษฐานว่า บริเวณควนพุนพิน ในอดีตเคยเป็นเมือท่าเรือ สถานีการค้าขนาดใหญ่ ที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ คงหมายถึง “เมืองพัน-พาน” หรือ “เมืองผุ่น-ผุ่น” ตามที่พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์เหลียงกล่าวไว้

“เมืองท่าและสถานีการค้า” (Trading Staton) ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกและชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ จึงเปรียบดัง “สะพานบก” (Land Bridge) เชื่อมโยงเมืองท่าทั้งสองฟากฝั่งให้ติดต่อถึงกัน ต่อเนื่องกับเส้นทางการเดินเรือของโลกมาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งก่อกำเนิดอารยธรรมอินเดียในสมัยเริ่มแรกในคาบสมุทรอินโดจีน นำมาปรับปรุงดัดแปลงผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมและความเชื่อของตนอย่างกลมกลืน จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แล้วส่งต่อไปยังภูมิภาคอื่นและดินแดนที่ไกลออกไป

เส้นทางข้ามคาบสมุทรจุดเชื่อมโลกที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจมาช้านานแล้ว พระบาทสมเด็จพระมุงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรับกาลที่ 6 ทรงสนพระทัย ได้เสด็จขึ้นไปถึงยอดเขาพระเหนอ อันเป็นเทวสถานที่ประดิษฐาน “เทวรูปพระนารายณ์” เพื่อทอดพระเนตรเมื่อ พ.ศ. 2452 เทวรูปพระนารายณ์สวมมาลาทรงกระบอกองค์นี้ แกะสลักขึ้นด้วยศิลาทรายประทับยืนอยู่บนฐานแท่น แสดงกล้ามเนื้อสง่างามเหมือนอย่างมนุษย์ ศาสตราจารย์ ปีแอร์ ดูปองต์ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชายฝรั่งเศสกล่าวว่าเป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นจากช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญตามศิลปะแบบปัลลวะ ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฉลาง จังหวัดภูเก็ต

กรมศิลปากรได้ขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึก และแหล่งโบราณคดีเขาพระเหนอ ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยชั้นดีราคาแพง ที่พวกพ่อค้านำเข้ามาจากต่างประเทศจำนวนมาก เช่น ภาชนะดินเผาเนื้อละเอียดขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเร็ว ผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง ควบคุมอุณหภูมิได้ดี เนื้อดินจึงสุกเสมอกัน เรียกว่า หม้อคุณฑี (Kendi) พบในชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกันมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ เช่น ที่ถ้ำต้นเหรียง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ เขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ชุมชนโบราณวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขุมขนโบราณบ้านท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีบริเวณที่ราบปากแม่น้ำโขง ในประเทศเวียดนาม เครื่องถ้วยจีนเนื้อดินขาวแบบติ้ง (Ding Ware) เครื่องถ้วยจีนแบบฉางช่าง (Chang Sha Ware) เครื่องถ้วยจีนเคลือบเขียวแบบยั่ว (Yue Ware) เครื่องถ้วยจีนแบบเหม่ยเซียน (Meixian Ware)เป็นสินค้าส่งออกของจีนที่เฟื่องฟูในสมัยราชวงศ์ถัง เหมือนกับที่พบท่าเรือโบราณตามแหล่งโบราณคดีในคาบสมุทรภาคใต้เช่น แหล่งโบราณคดีท่าม่วง อำเภอท่าชนะ ชุมชนโบราณวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนโบราณท่าเรือ เมืองพระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณคดีสุไหงมาส รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย

 

นอกจากนั้นยังพบเครื่องถ้วยเปอร์เซีย หรือ บาสรา แวร์ (Basra Turauoise Ware) เป็นภารชนะดินเผาเคลือบสีฟ้า หรือสีเขียวอมฟ้า สันนิษฐานว่าพวกพ่อค้าชาวเปอร์เซียนำเข้ามาเป็นสินค้าเพื่อขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าของชาวพื้นเมือง ภาชนะแก้วเคลือบน้ำยา เขียนด้วยสีสันเป็นลวดลายสดใสสวยงาน สันนิษฐานว่าผลิตในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พ่อค้าชาวโรมัน อาหรับนำเข้ามาขายเป็นสินค้า

การขุดค้นแหล่งโบราณคดีสถานควนพุนพิน บนเนินเขาเตี้ยๆ ใกล้บริเวณใกล้แม่น้ำพุมดวงไหลมาบรรจบกับลำแม่น้ำหลวง อันแสดงให้เห็นว่า ชุมชนโบราณควนพุนพิน ตั้งอยู่ในทำเลทางภูมิศาสตร์เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำ สามารถติดต่อกับชุมชนต้นแม่น้ำพุมดวก อันเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทรจากชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ข้ามเขาสกไปยัง ต้นแม่น้ำตะกั่วป่า เพื่อเดินทางไปยังที่ตั้งเมืองท่าบริเวณปากแม่น้ำตะกั่วป่า และยังสามารถเดินทางไปตามลำแม่น้ำหลวงไปยังแหล่งโบราณคดีสำคัญที่อำเภอเวียงสระด้วย พบฐานอาคารก่อด้วยอิฐ รูปพระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ 2 องค์ พระพิมพ์ทำด้วยดินดิบสีแดงจำนวนมาก สถูปดินเผา ภาชนะดินเผา เครื่องถ้วยจีน เหรียญเงินอาหรับ ลูกปัด ขวานหินขัด

จากแหล่งโบราณสถานควนพุนพิน ล่องเรือไปตามลำแม่น้ำหลวงประมาณ 5 กิโลเมตร มีชุมชนโบราณขนาดใหญ่ เรียกว่า “แหล่งโบราณสถานเขาศรีวิชัย” หรือ “โบราณสถานเขาพระนารายณ์” เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำหลวง หรือ แม่น้ำตาปี ในราว 400 เมตร เป็นภูเขาลูกเดียวโดด ๆ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ กว้างในราว 100 เมตรยาวตลอดสันเขาในราว 650 เมตร สูงประมาณ 30 เมตร เรียกกันว่า “เขาศรีวิชัย” หรือ “เขาพระนารายณ์” บนยอดเขามีที่ราบกว้างประมาณ 50 เมตร พบโบราณสถานก่อสร้างด้วยอิฐและหิน 8 แห่ง บนภูเขาแห่งนี้พบเทวรูปพระนารายณ์ หรือ พระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอกทั้งสิ้นจำนวน 4 องค์ บางองค์ชำรุดพระเศียรหักหายไป องค์ที่ถือว่าสมบูรณ์ก็คือ เทวรูปพระนารายณ์ในป่าประทับยืนตรง ขนาดความสูง 170 เซนติเมตร นักโบราณคดียกย่องว่าเป็นเทวรูปที่มีสุนทรียภาพที่ช่างผู้เชี่ยวชาญการประติมากรรมได้บรรจงแกะสลักขึ้นด้วยความประณีตให้มีรูปทรงสูงสง่างาม โดยบรรยายรายละเอียดไว้ว่า

เค้าพระพักตร์มนเป็นรูปไข่ พระเนตรเบิกกว้าง พระโอษฐ์แย้มสรวลน้อย ๆ อย่างอ่อนโยน พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อตามธรรมชาติที่สง่างาม พระอังสากว้าง (ไหล่) บั้นพระองค์คอดเล็ก (สะเอว) ทรงกีรฏิมกุฏทรงสูง (หมวก) ทรงพระภูษาโจงยาว (ผ้าโจงกระเบน) ขมวดเป็นปมอยู่ใต้พระนาภี (ท้อง) คาดทับด้วยปั้นเหน่งผ้าผูกเป็นโบว์อยู่ด้านหน้า คาดผ้าคาดโสณีเฉียง (สะโพก) และผูกเป็นโบว์อยู่เหนือต้นพระเพลาขวา (ขา) พระหัตถ์ขวาล่าง (มือ) ชำรุด พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงคธา (ไม้เท้า) ส่วนพระหัตถ์หลังทั้ง 2 ข้างหักหายไป

การขุดค้นโบราณสถานเขาศรีวิชัย พบพระพิมพ์ดินดับ เรียกกันว่า “พระเม็ดกระดุม” จารึกคาถา” “เยธรรมา” ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน ลูกปัดทองคำ คล้ายกับพบที่บ้านควนลูกปัด บ้านแหลมโพธิ์ และแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย เครื่องใช้เครื่องประทับ เครื่องถ้วยจีน สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณสถานเขาศรีวิชัยเป็นชุมชนโบราณที่เจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองท่าเรือ สถานการค้า ติดต่อค้าขายกับชุมชนภายในและภายนอกตลอดจนดินแดนโนทะเล และมีลักษณะคล้ายกับเป็นเมืองแฝดของ “เมืองพันพาน” ใกล้เคียงกัน เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า “แหล่งโบราณคดีควนพุนพิน” และ”แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย” ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ซึ่งเป็น “เส้นทางข้ามคาบสมุทรจุดเชื่อมโลก” มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งถึงสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อพิจารณา “แหล่งโบราณสถานควนพุนพิน” กับ “แหล่งโบราณสถานเขาศรีวิชัย” รวมกัน จะเห็นได้ว่าเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีขนาดใหญ่มโหฬาร จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นมหานครที่เจริญรุ่งเรืองมากมาก่อนสมัยประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวจากหลักฐานการติดต่อทางพระราชไมตรีกับราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง สันนิษฐานว่าดินแดนแห่งนี้คงหมายถึง“เมืองพัน-พัน” หรือ “เมืองผุ่น-ผุ่น”

หน้าถัดไป >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย