ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ASEAN Political - Security Community (APSC) Blueprint

คุณลักษณะและองค์ประกอบของเอพีเอสซี
การดำเนินการและการทบทวนแผนงานเอพีเอสซี

คุณลักษณะและองค์ประกอบของเอพีเอสซี

6. เป็นความมุ่งหวังว่า ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (เอพีเอสซี) จะทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยเป็นหลักประกันต่อประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติระหว่าง กันและกับโลกภายนอกในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรมและ การมีความปรองดองต่อกัน

7. เอพีเอสซีจะส่งเสริมพัฒนาการด้านการเมืองโดยยึดหลักการของ ประชาธิปไตย นิติธรรม ธรรมาภิบาล ความเคารพ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ มนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานภายใต้กฎบัตรอาเซียน โดยจะเป็นตัวเชื่อมต่อให้ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการติดต่อและมีความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสร้างบรรทัดฐาน กฎเกณฑ์และกลไกร่วมกันในการบรรลุเป้าหมายอาเซียนในด้านการเมืองและความ มั่นคง ซึ่งจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยทุกภาคส่วนของ สังคมมีส่วนร่วมและได้ผลประโยชน์จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคม โดยไม่มีคำนึงถึง เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา หรือพื้นเพทางสังคมและวัฒนธรรม ใน การปฏิบัติตามแผนงาน อาเซียนจะต้องพยายามส่งเสริมและสนับสนุน การให้ความ เท่าเทียมทางเพศ แนวทางหลักในนโยบายความอดกลั้น การเคารพความหลากหลาย ความเท่าเทียมกันและมีความเข้าใจที่ดีต่อกัน

8. ในเวลาเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการปกป้องและส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค เอพีเอสซีประสงค์จะส่งเสริมความร่วมมือที่แน่นแฟ้นและมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่าง อาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและมิตรประเทศเพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์กลางและ บทบาทแข็งขันของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม อีกทั้งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันก้าวไปข้างหน้า และไม่เลือก ปฏิบัติ

9. เอพีเอสซีสนับสนุนแนวทางด้านความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งมีความ เกี่ยวโยงต่อพัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิด ยึดหลักในการ ละเว้นการรุกรานหรือการขู่ใช้ใช้กำลัง และการกระทำใดๆที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ระหว่างประเทศและการพึ่งพาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ในการนี้ เอพีเอสซียึดมั่นตามความตกลงทางการเมืองของอาเซียน อาทิ ปฏิญญาว่าด้วยเขต สันติภาพ อิสรภาพ และการวางตัวเป็นกลาง หรือ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านมาตรการส่งเสริม ความไว้เนื้อเชื่อใจ การทูตในเชิงป้องกัน และแนวทางแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี อีกทั้ง แก้ไขประเด็นความมั่นคงในรูปแบบใหม่

10. จากหลักการข้างต้น ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประกอบ ด้วยสามคุณลักษณะ ได้แก่

ก) ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน (A rules-based community of shared values and norms)

ข) ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความ แข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุม ในทุกมิติ (A cohesive, peaceful, and resilient region with shared responsibility for comprehensive security)

ค) ประชาคมที่ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอก ที่มีการรวมตัวและลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น (A dynamic and outwardlooking region in an increasingly integrated and interdependent world)

11. คุณลักษณะเหล่านี้มีความเกี่ยวโยงกันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และ ควรดำเนินการอย่างสมดุลและสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน แผนงานเอพีเอสซีเป็นเอกสารที่มุ่งการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผล และตระหนักถึงศักยภาพและความสามารถของรัฐสมาชิกอาเซียน เพื่อดำเนินการตาม แผนงานนี้

ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน
ภูมิภาคที่มีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมี ความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ
ภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอก ในโลกที่มีการรวมตัวและ พึ่งพาอาศัยกันยิ่งขึ้น

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย