ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

กัมพูชา (Cambodia)

สงครามกัมพูชา (1979-1991)

สงครามกัมพูชาเกิดขึ้นหลังจากกัมพูชาได้เอกราชในปี 1975 และได้นำเอาการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาใช้ภายใต้การปกครองของกลุ่มบุคคลที่เรียกว่าเขมรแดง ต่อมาเวียดนามได้สงทหารจำนวนมากเข้ายึดครองกัมพูชาทำให้เกิดสงคราม

สาเหตุของสงครามกัมพูชา

สาเหตุของสงครามกัมพูชายังมีมีหลากหลายสาเหตุที่ผสมผสานกันเข้าจนทำให้เกิดสงครามกัมพูชา

  1. ปัญหาความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติระหว่างกัมพูชาและเวียดนามซึ่งมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  2. ความขัดแย้งในแนวชายแดนระหว่างกัมพูชาและเวียดนาม ในบริเวณที่เรียกว่าดินแดนจงอยปากนกแก้ว (Parrot‘s Beak) ซึ่งกัมพูชาอ้างเสมอว่าเวียดนามได้บุกรุกเข้ามาตลอดเวลา ความขัดแย้งนี้ทำให้เขมรแดงยิงปืนใหญ่เข้าไปในเขตเศรษฐกิจใหม่ของเวียดนาม จนกลายเป็นความขัดแย้งและตอบโต้กันด้วยความรุนแรง ทำให้เวียดนามต้องส่งทหารเข้ามาในกัมพูชา
  3. นโยบายรัฐบาลเขมรแดงที่ทำรุนแรงกับคนกัมพูชา (จนเกิดกรณีทุ่งสังหาร) ในปี 1977 ทำให้ผู้นำที่อยู่ในเขมรแดงด้วยกันไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเฮงสัมริน และฮุนเซน ทั้ง 2 คนจึงหนีออกนอกประเทศและไปเชิญให้เวียดนามเข้ามาบุกยึดกัมพูชา และทั้ง 2 คนก็กลายเป็นรัฐบาลหุ่นของเวียดนามในกัมพูชา
  4. การสนับสนุนเวียดนามของสหภาพโซเวียต

สงครามกัมพูชาเป็นความขัดแย้ง 3 ระดับ

  1. เป็นสงครามกลางเมืองที่คนในชาติเดียวกันจับอาวุธเข้าทำสงครามกัน แบ่งออกเป็น
    -ฝ่ายรัฐบาลฮุนเซนและเฮงสัมรินที่เวียดนามแต่งตั้งขึ้น
    -ฝ่ายต่อต้านฮุนเซ็น คือเขมร 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วยเขมรแดง ฝ่ายเจ้านโรดมสีหนุ (ฟุนซินเปก) และฝ่ายซอนซาน
  2. เป็นความขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่มรัฐที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน คือระหว่างกลุ่มรัฐในอินโดจีนและกลุ่มรัฐในอาเซียนในอาเซียนนั้นมีไทยเป็นผู้ประสานงานให้อาเซียนมีบทบาทในการแก้ปัญหากัมพูชา เนื่องจากไทยได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนี้มากที่สุด และอาเซียนเป็นผู้สนับสนุนเขมร 3 ฝ่ายและต่อต้านเวียดนามและฝ่ายเฮงสัมรินและฮุนเซน
  3. ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจของโลก 2 ประเทศคือจีนและสหภาพโซเวียต ทำให้สงครามกัมพูชาเป็นสงครามตัวแทนของจีนและโซเวียตด้วย โดยโซเวียตหนุนหลังเวียดนามและรัฐบาลฮุนเซน ส่วนจีนสนับสนุนเขมร 3 ฝ่าย

ทั้งนี้สหประชาชาติให้การยอมรับว่ารัฐบาลเขมรแดงและเขมร 3 ฝ่ายเป็นรัฐบาลที่ถูกต้อง ส่วนรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากเวทีนานาชาติ ยกเว้นสหภาพโซเวียต ทำให้การเมืองระดับโลกเข้ามีส่วนในการแก้ไขปัญหากัมพูชา

ต่อมาเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจดีขึ้นปี 1987 โซเวียตยุติการช่วยเหลือเวียดนาม ทำให้เวียดนามอยู่ในกัมพูชาต่อไปไม่ได้และต้องถอนกำลังทหารออกมาในปี 1989 และในวันที่ 23 ตุลาคม 1991 มีการลงนามในสัญญาสันติภาพปารีสยุติความขัดแย้งในกัมพูชาและกำหนดให้คนกัมพูชากำหนดชะตาวิถีชีวิตตนเองแบบประชาธิปไตย

ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
ข้อมูลทั่วไปประเทศกัมพูชา
พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
การไปประกอบธุรกิจของคนต่างชาติในกัมพูชา
ระบบภาษีของกัมพูชา
การส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
ความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา
การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรของกัมพูชา
The Brief History of Cambodia Monarchy
สงครามกัมพูชา (1979-1991)
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ทั้งรักทั้งชัง
การแต่งกายกัมพูชา
เสียมเรียบ นครวัด นครธม

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย