ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ชีวิต

คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต

ความหมายของคุณค่าของชีวิต

คุณค่า หมายถึง ราคาหรือค่าเชิงปริมาณ (Worth) ในอดีตเป็นเรื่องความดี(Good) ความถูกต้อง (Right) การตัดสินจริยธรรม (Moral Judgment)ความงาม (Beauty) การตัดสินความสุนทรีย์ (Aesthetic judgment ความจริง (Truth) หรือความสมเหตุสมผล (Validity) รวมทั้งสิ่งที่ควรจะเป็น (What It ought to be) ซึ่งแตกต่างจาก ข้อเท็จจริง (Fact) หมายถึงสิ่งที่กำลังเป็น (What It is Be) สิ่งที่เคยเป็น (What It was Be) หรือสิ่งที่จะต้องเป็น (What It will Be)

ประเภทของคุณค่า

1. มิติของกลุ่มผู้มีค่านิยม (Subscribership)
2. มิติของสารัตถะ(Essence)
3. มิติของผลได้ (Benefit)
4. มิติของเป้าหมาย (Purpose)
5. มิติผสม (Mix)
6. มิติสัมพัทธ์ (Relative)

กระบวนการพิจารณาทางคุณค่า 5 ประเภทคือ

1. คุณค่าในฐานะสิ่งมีประโยชน์ (Usefulness)
2. คุณค่าในฐานะเป็นเครื่องมือหรือทางผ่าน (Instrumental Value)
3. คุณค่าในฐานะเป็นคุณสมบัติประจำโดยธรรมชาติ (Inherent Value)
4. คุณค่าในตนเอง (Intrinsic Value)
5. คุณค่าในฐานเป็นส่วนส่งเสริมให้เกิดคุณค่าอื่น (Contributory Value)

ประเภทของคุณค่า ของแรดเดอร์ 3 กลุ่ม

1. คุณค่าทั่วไป กับคุณค่าเฉพาะ (Generic Value)
2. คุณค่าที่แสดงออก (Actual Value)
3. คุณค่าในตัวเอง (Intrinsic Value) กับคุณค่าในฐานะเครื่องมือ (Instrumental Value)

ประเภทของคุณค่าตามความต้องการของมนุษย์

1. คุณค่าทางวัตถุ
2. คุณค่าทางจิตใจ

การตัดสินคุณค่า

คือการเปรียบเทียบเพื่อเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งจากสองอย่าง (หรือมากกว่า) แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

อัตวิสัยนิยม (Subjectivism) ได้แก่แนวคิดของพวกโซฟิสต์ (Sophist) ที่เห็นว่ามนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง พวกประสบการณ์นิยม (Empiricism) เห็นว่าการตัดสินคุณค่าเป็นเรื่องของรสนิยม (Taste) เป็นผลจากการสะสมประสบการณ์ของแต่ละคน

ปรวิสัยนิยม (Objectivism) คือ การตัดสินคุณค่าต้องมีกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนอันแน่นอนตายตัว เช่น (Immanuel Kant) คานท์ เห็นว่าแบบแผนคือความสำนึกในหน้าที่ (Sense of Duty) อันเป็นคุณสมบัติธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน มิลล์ (J.S.Mill)เห็นว่าหลักเกณฑ์ที่จะตัดสินคุณค่าคือผลประโยชน์ของคนส่วนมาก ส่วนเพลโต (Plato) เห็นว่าแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าวคือ แบบซึ่งอยู่ในโลกของอุดมคติ เป็นต้น

สัมพัทธนิยม
เป็นนักปรัชญาอีกกลุ่มที่พยายาทมวิเคราะห์ข้อโต้แย้งของปรัชญาทั้งสองฝ่าย แล้วสังเคราะห์ความสัมพันธ์จนสรุปสาระสำคัญ 3 ประการคือ

1) รสนิยมและความรู้ความสามารถของผู้ตัดสิน
2) วัตถุหรืออารมณ์ของการตัดสิน
3) สถานการณ์ซึ่งมีการตัดสินเกิดขึ้น

องค์ประกอบของการตัดสินคุณค่า

1. ภาวะจำเป็น (Necessary) คือสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย ฯ
2. พันธะ (Obligation) คือ สิ่งที่ควรจะมี เช่น คอมฯ
3. มูลฐานแห่งการตัดสินหรือรสนิยม (Taste)

คุณค่าของชีวิตและความเป็นมนุษย์

1. มนุษย์เป็นภาวะที่สูงส่งที่สุดในโลก เช่น Miss Universe
2. มนุษย์มีคุณค่าในตนเอง เช่น Human Right
3. มนุษย์อยู่กึ่งกลางและอยู่ในความพอดี

คุณค่าทางจิตใจ

1. คุณค่าทางความคิด เหตุผล หรือคุณค่าทางสติปัญญา (Thinking) เช่น การหาคำอธิบาย ที่สมเหตุสมผล ฯ
2. คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึก (Felling) การตอบสนอง ฯ
3. คุณค่าทางความดีงาม หรือเจตนารมณ์อันดี (Willing)

คือการตอบสนองความสำนึกเกี่ยวกับความดีงามหรือจิตใจ

วิชาจริยศาสตร์ : ปรัชญาว่าด้วยคุณค่าและเป้าหมายของชีวิต

  • ความหมายของ “จริยศาสตร์” และ กับจริยธรรม
  • คำที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม ได้แก่

    1) มนุษยธรรม (Human Kind) คือคุณธรรมพื้นฐาน
    2) ศีลธรรม (Precept) คือ เกณฑ์ทางศาสนา (ศีล 5)
    3) คุณธรรม (Virtue) คือเกณฑ์ความดีเหมือนศีลธรรม แต่ไม่มีบทลงโทษทางศาสนา มุ่งความเหมาะสม
    4) มโนธรรม (Conscience) คือ ความระลึกรู้ถึงความถูกต้อง

ขอบเขตของจริยศาสตร์

1) จริยศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ (Descriptive Ethics) การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ มุ่งศึกษาสาเหตุและข้อเท็จจริง ฯ
2) จริยศาสตร์ปทัสถาน (Normative Ethics) คือการศึกษาการกระทำของมนุษย์ เช่น ความดี-ชั่ว ฯ

เนื้อหาของจริยศาสตร์

1) กล่าวถึงการตัดสินคุณค่าของการกระทำ
2) กล่าวถึงสิ่งสูงสุด หรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
3) กล่าวถึงความหมายต่าง ๆ ทางจริยศาสตร์ ความเป็นจริยศาสตร์ประยุกต์ หรือจริยศาสตร์วิเคราะห์

จริยธรรมมีจริงหรือไม่

1) ความเห็นแก่ตัว (Selfishness)
2) อัตนิยม (Egoism)

การสร้างเสริมความดีงามในจิตใจ

1) ศีลธรรมเป็นข้อกำหนดให้กระทำความดี
2) คุณธรรมเป็นการสร้างกรอบของความดี



เป้าหมายของชีวิตในทรรศนะปรัชญา

ข้อคล้ายคลึงระหว่างปรัชญากับศาสนา
1) เนื้อหาบางเรื่องเกี่ยวข้องคล้ายกัน เช่น ความดีงามฯ
2) ธรรมชาติบางประการคล้ายกัน เช่น แนวคิดที่ใช้เป็นแนวทางหรือหลักการดำเนินชีวิต

ข้อแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา

ปรัชญา
1. กำเนิดจากความสงสัย
2. พื้นฐานบนหลักของเหตุผล
3. เน้นความรู้เชิงทฤษฎี
4. ไม่มีองค์กรที่แน่นอน
5. ผู้สอนมิใช่ผู้นำในการปฏิบัติ
6. เน้นเหตุผลเป็นที่มาความรู้

ศาสนา
1. กำเนิดจากความกลัว
2. พื้นฐานบนความศรัทธา
3. เน้นความรู้ที่นำมาปฏิบัติ
4. มีองค์กรที่แน่นอนเป็นสถาบัน
5. ผู้สอนต้องปฏิบัติตนตามที่สอน
6. เน้นประสบการณ์หรือการหยั่งรู้

เป้าหมายของชีวิตคือความสุข : สุขนิยม

1) ความสุข คือ สิ่งดีที่สุด เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต (Pleasure as Ultimate Goal)
2) ความสุขคือเป้าหมายสุดท้าย (Pleasure as Intrinsic Value)
3) ความสุขคือสิ่งที่มนุษย์พึงแสวงหา (Pleasure should to be Sought)
4) การกระทำที่มีคุณค่าคือความสุข (Ethical Value of Human Action Determined by Pleasure)

หลักปรัชญาและศาสนาของอินเดีย

ความสุข เรียกว่า ปโยชนํ ควบคู่กับขั้นตอนของชีวิต 4 ขั้นตอน ซึ่งเรียกว่า “อาศรม 4” ดังนี้

1. อรรถะ คือประโยชน์ทั่วไป
2. กามะ คือความสุขของผู้ครองเรือน
3. ธรรมะ คือความสุขสงบทางจิตใจ
4. โมกษะ คือการหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างถาวร

  • โลกียสุข คือความสุขที่อยู่ในโลก
  • โลกุตรสุข คือความสุขเหนือโลก หรือสุขจากการหลุดพ้น

ปรัชญาเกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิต 4 กลุ่ม ได้แก่

1. สุขนิยม คือ เป้าหมายชีวิตมีความสุข เน้นทางร่างกาย,วัตถุ
2. วิมุตินิยม คือความสุขจากการเอาชนะใจตนเองและขั้นสูงสุด
3. ปัญญานิยม คือความรู้ การตอบสนองทางสติปัญญา
4. มนุษยนิยม คือแสวงหาสิ่งตอบสนองทุก ๆ ด้าน

 เป้าหมายของชีวิตในทรรศนะศาสนา

เป้าหมายของชีวิตในศาสนาพุทธ

  • เป้าหมายสูงสุดทางปรัชญาคือนิพพาน
  • เป้าหมายของชีวิตสำหรับประชาชนทั่วไป เรียกว่า คิหิสุข คือ ความสุขของผู้ครองเรือน ได้แก่

    1. อัตถิสุข คือความสุขจากการมีทรัพย์
    2. โภคสุข คือความสุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
    3. อนณสุข คือความสุขจากการไม่เป็นหนี้
    4. อนวัชชสุข คือความสุขจากการประกอบอาชีพปราศจากโทษต่าง ๆ

การใช้จ่ายทรัพย์ เรียกว่า โภคอาทิตยะ มีดังนี้

1. เลี้ยงบิดา-มารดา บุตรภรรยาและคนในปกครอง
2. บำรุงเลี้ยงดูมิตรสหายและเพื่อนร่วมงาน
3. ปกป้องสวัสดิภาพ จากอันตรายต่าง ๆ
4. รู้จักสละทรัพย์ เช่น การสงเคราะห์ รับแขก ทำบุญ ฯ
5. อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ และบรรพชิตต่าง ๆ

* เป้าหมายสูงสุดของชีวิต

ศาสนาพุทธ คือ นิพพาน
ศาสนาฮินดู คือ พรหมมัน
ศาสนาคริสต์และอิสลาม คือ พระเจ้า

» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของศาสนา

» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์

» สาระของชีวิตตามแนวพุทธธรรม

» พุทธธรรมเป็นปรัชญาชีวิต

» ชีวิตควรอยู่เพื่ออะไร

» การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม

» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์

» สาระความรู้ทางแนวชีวิตตามศาสนาคริสต์

» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม

» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาเต๋าและขงจื้อ

» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต

» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต

» การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนธรรม

» การดำเนินชีวิตตามหลักศาสนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย