สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

พัฒนาการสังคมไทย
ดุจฤดี คงสุวรรณ์

สังคมไทยในภาคเหนือ

  1. สภาพทางภูมิศาสตร์ ภาคเหนือประกอบด้วย พื้นที่ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ภาคเหนือมีพื้นที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 18.25 ของพื้นที่ทั้งประเทศ เป็นภาคที่มีภูเขา และเทือกเขาสูง แต่อยู่นอกเขตภูเขาไฟ มีที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขา มีที่ราบเป็นแอ่ง เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน อย่างไรก็ดี ในด้านการจัดแบ่งเขตการปกครอง ถือว่าภาคเหนือรวมถึงจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และตาก โดยนับตั้งแต่เหนือนครสวรรค์ขึ้นไป แต่กลุ่มที่เป็นภาคเหนือตอนล่างนี้ จะมีลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างจากภาคเหนือตอนบน

    ลักษณะทางวัฒนธรรมที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่อยู่ตามหุบเขา ในที่ราบต่ำ ต้องมาร่วมมือกันในการจัดการกับแหล่งน้ำที่ต้องอาศัยในการเพาะปลูกร่วมกัน ระบบปันน้ำ ระบบการร่วมแรงร่วมใจกันทำเหมืองฝายจึงเกิดขึ้นเพื่อให้แจกจ่ายน้ำทั่วถึงกัน การทำเหมืองฝาย หมายถึง ทุกคนต้องให้ความร่วมมือทำงานก่อสร้างเหมืองฝาย หากไม่ร่วมมือก็จะไม่ได้การปันน้ำ หรือหากมีการขโมยน้ำจะถูกลงโทษปรับไหม ส่วนระบบปันน้ำทำให้เกิดการมอบหมายให้ผู้ดูการแจกจ่ายน้ำเป็น “แก่น้ำ” ซึ่งได้รับการยอมรับนับถือว่ามีความยุติธรรม นอกจากนี้ยังมีประเพณีสืบชะตาบ้านเมือง การบวชให้ต้นน้ำลำธาร ป่าไม้เพื่อให้มีอายุยืนยาว
  2. วิถีชีวิตของชุมชนในภาคเหนือ หนังสือภูมิทัศน์ไทย ของสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปวิถีชีวิตของสังคมไทยในภาคเหนือ ในด้านต่างๆ ให้เป็นภาครวมทั้งภูมิภาคดังนี้

    จำนวนประชากรใน 8 จังหวัด ของภาคเหนือในปี พ.ศ. 2536 มีรวมทั้งสิ้นประมาณ 6 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายกลุ่มด้วยกัน แต่กลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนมากที่สุด ได้แก่ ประชากรที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ คือ

    กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มไทยวน หรือโยนก กลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่และนาน พูดภาษาคล้ายคลึงกัน และใช้อักษรล้านนาไทย
    กลุ่มที่สอง ได้แก่ ไทเขิน อาศัยอยู่ทางเชียงใหม่ และเชียงราย
    กลุ่มที่สาม ได้แก่ ไทยใหญ่ หรือไทเหนือ อยู่ทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และลุ่มน้ำโขงทางเชียงราย
    กลุ่มที่สี่ ได้แก่ ชาวไทยลื้อ ซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และเมืองยองในรัฐฉาน ประเทศพม่า กลุ่มไทลื้อส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดน่าน เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ และลำพูน

ในพื้นที่ระดับสูงขึ้นไปจะพบชนกลุ่มน้อย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มคนถิ่นเดิม ได้แก่ กะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนไทย – พม่า บางกลุ่มอพยพเข้ามาทางตอนกลางของภาค ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน นอกจากนี้พวกละว้า หรือลวะ ฉิ่น และขมุ หากพิจารณาในด้านชาติพันธุ์ ชนกลุ่มนี้เป็นพวกตระกูลออสโตรนีเซีย เช่นเดียวกับชนชาติมอญและเขมร อีกกลุ่มหนึ่ง คือ ชาวม้ง ซึ่งอพยพมาจากประเทศจีน

ในพื้นที่ภูเขาสูงปานกลาง จะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมูเซอ และลีซอ ซึ่งมีเชื้อสายทิเบต-พม่า และนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำ ส่วนบนพื้นที่ภูเขาระดับสูงกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป จะเป็นที่ตั้งของชาวอีก้อ ชาวเขา เหล่านี้อาศัยกระจัดกระจายอยู่บนพื้นที่สูงเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ สำหรับชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบของภาคเหนือ ประกอบด้วยชาวจีน ชาวอินเดียว และชาวยุโรป กลุ่มชนชาวจีนเองปัจจุบันมาถึงรุ่นลูกหลายได้โอนสัญชาติมาเป็นคนไทยเกือบหมดแล้ว ชนกลุ่มน้อยทั้งสามเชื้อชาตินี้ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจการค้าและบริการ หรืองานด้านอุตสาหกรรม

ชาวไทยในภาคเหนือส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในกรอบของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ปัจจุบันเรียกว่า วัฒนธรรม “คนเมือง “ หรือ “คนล้านนา” ตามชื่อของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐที่ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย และมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ถึงแม้ว่าอาณาจักรนี้ยังประกอบด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่แยกย่อยออกไป องค์ประกอบที่สำคัญก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการดำรงชีวิตแบบเกษตรกร การานับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่เรียกว่า “ผี” ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แบบเถรวาท และการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือ

» วิวัฒนาการทางสังคมไทย

» สมัยทวารวดี

» สมัยศรีวิชัย

» สมัยลพบุรี

» สมัยหริภุญไชย

» สมัยล้านนา

» สมัยสุโขทัย

» สมัยกรุงศรีอยุธยา

» สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

» สังคมไทยสมัยใหม่

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

» สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์

» สังคมไทยในภาคเหนือ

» สังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» สังคมไทยในภาคกลาง

» สังคมไทยในภาคใต้

» สังคมเมือง

» การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคใต้

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมชนบทในภาคกลาง

» ปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไข

» ลักษณะของปัญหาสังคม

» สาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม

» แนวทางในการศึกษาปัญหาสังคม

» ปัญหายาเสพติด

» ปัญหาคอร์รัปชั่น

» ปัญหาความยากจน

» ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์

» ด้านการศึกษาและสังคม

» ปัญหาเด็กและเยาวชน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย