สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

มุมมองทางประชากร

ตัวแปรเหล่านี้ แม้ว่าเพียงบางส่วนของวิธีการอธิบายการปรับเปลี่ยนของกลุ่มเท่านั้น ขณะที่การแสดงเชิงคุณภาพ (และหลักการเชิงปริมาณ) โครงสร้างของการถือครองตำแหน่งโดยกลุ่ม อย่างหนึ่งไม่สามารถเพิกเฉยปัญหาของจำนวนและความสมดุลในการปรับเปลี่ยนของมัน ทุกครั้งเมื่อประชากรที่เป็นผู้พึ่งพาอาศัยในการหาประโยชน์ของมันจากตำแหน่งในธรรมชาติ ความจำเป็นนี้สูงไปกว่าขีดจำกัดในขนาด (size) ซึ่งมันอาจบรรลุถึงไปพร้อมกับความสามารถที่ติดไปในตำแหน่งนั้น; และการปรับเปลี่ยนที่แน่นอนสม่ำเสมอใดก็ตาม นำไปสู่การควบคุมอยู่บนขนาดของประชากร ทว่าในอีกด้านหนึ่ง ประชากรสองกลุ่มได้พึ่งพาอาศัยกันทางนิเวศวิทยา ดังนั้นกลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มในสัมพันธภาพที่ดำรงอยู่ด้วยกัน วิธีการนี้ที่ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงใดก็ตาม ขนาดของกลุ่มหนึ่งต้องมีผลกระทบสำคัญกับอีกกลุ่มหนึ่ง

ในการวิเคราะห์ระบบพหุ-ชาติพันธุ์ต่อสิ่งที่เรายืนยันทุกระดับช่วงเวลา เราต้องสามารถอธิบายกระบวนการที่ขนาดของกลุ่มชาติพันธุ์พึ่งพาอาศัยกันได้อย่างมีสมดุลย์ ความสมดุลย์ทางประชากรดังกล่าวค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่มในธรรมชาติได้รับผลกระทบโดยขนาดที่ แท้จริง ของมัน ขณะที่การปรับเปลี่ยนต่อการจัดวางตำแหน่งโดยกลุ่มชาติพันธุ์อีกกลุ่ม ได้รับผลกระทบโดยขนาดที่ เปรียบเทียบ ของมัน

ปัญหาทางประชากรในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ในท้องถิ่นหนึ่งนั้น จุดหลักสำคัญอยู่บนรูปแบบ (forms) ของการรับสมาชิกเข้ากลุ่มชาติพันธุ์ และปัญหาของวิธีใด ทว่าไม่ว่าสถานการณ์ใด สัดส่วนของพวกเขาอ่อนไหวต่อแรงกดดันบนตำแหน่งที่แตกต่าง ซึ่งกลุ่มอื่นๆใช้หาประโยชน์ ปัจจัยเหล่านี้เป็นที่วิพากษ์กันอย่างสูงต่อความมีเสถียรภาพของระบบพหุ-ชาติพันธุ์ และมันอาจดูเหมือนกับว่าการเปลี่ยนแปลงประชากร จะกลายเป็นสิ่งที่ได้ทำลาย (เสถียรภาพ) นั้นไป สิ่งนี้ไม่ได้ดูมีความสำคัญนักต่อสิ่งที่จะกล่าวต่อไป ดังข้อมูลตัวอย่าง ในบทความโดย Siverts หน้า 101) แต่ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ระบบพหุ-ชาติพันธุ์ที่เราทำการสำรวจนำไปสู่กระบวนการที่ซับซ้อนของการเคลื่อนไหวประชากรและการปรับสภาพกันทั้งสิ้น มันกลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าปัจจัยอื่นๆ ส่วนหนึ่งที่กระทบความสมดุลย์ของจำนวนคน มากกว่าการเจริญพันธุ์และอัตราการตายของมนุษย์

จากจุดการมองของบริเวณใดก็ตาม ซึ่งมีปัจจัยการเคลื่อนไหวของปัจเจกและกลุ่ม: การอพยพที่กดดันการมีชีวิตใหม่ ซึ่งผู้อพยพได้ยืนยันรักษากลุ่มผู้อาศัยร่วมกันหนึ่งหรือหลายกลุ่ม ดังเช่น การตั้งถิ่นฐานห่างไกลจากประชากรมากกว่าที่อื่นๆ การอพยพและการยึดครองได้แสดงบทบาทที่ไม่ต่อเนื่องในการแบ่งกระจายประชากรใหม่ และการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของพวกเขา แต่ความสนใจส่วนใหญ่และบทบาทที่วิจารณ์กันบ่อยๆ ถูกแสดงโดยการวางกระบวนการอีกอย่างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของปัจเจกและกลุ่ม จากทั้งหมดนั้นรูปธรรมที่มนุษย์ได้ถูกจัดระเบียบในกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และแม้ว่ากลไลทางสังคมที่เสนอมาถึงตอนนี้มีแนวโน้มที่จะดำรงรักษาขั้วตรงข้ามและพรมแดน แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้อง “คงที่” สำหรับมนุษย์ รูปธรรมที่พวกเขาจัดระเบียบ: พรมแดนอาจจะยืนยันแม้กระทั่งสิ่งที่อาจจะถูกเรียกอย่างอุปมาอุปไมยว่า “การแทรกซึม” ของตัวบุคคลทะลุผ่านพวกเขา

มุมมองนี้นำไปสู่การทำให้แจ่มชัดของสภาวะสำหรับระบบพหุ-ชาติพันธุ์ที่ซับซ้อน แม้ว่าการปรากฎขึ้นและการยืนยันของระบบนั้น จะดูเหมือนอาศัยอยู่บนความสัมพันธ์ที่มั่นคงสม่ำเสมอสูงในคุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ – เช่น ระดับเข้มข้นสูงหรือไม่ยืนหยุ่นในพรมแดนการปฏิสัมพันธ์ – แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องเหมือนกับรูปแบบ (patterns) ของการเลือกรับสมาชิกใหม่หรือการให้เหตุผลที่ไม่ยืนหยุ่นต่อกลุ่มชาติพันธุ์: ในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ที่เราสำรวจอย่างถี่ถ้วน นำมาซึ่งความแตกต่างหลากหลายของกระบวนการซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอัตลักษณ์ปัจเจกและกลุ่ม และดัดแปลงปัจจัยทางประชากรอื่นๆที่ได้รับภายในสถานะตำแหน่ง (situation) ตัวอย่างของความมั่นคงแน่นอนและการยืนยันพรมแดนชาติพันธุ์ที่ถูกตัดผ่านโดยกระแสของผู้คนที่อยู่ห่างไกลอย่างชัดเจน ยิ่งกว่าที่งานเขียนชาติพันธุ์วรรณาปกติสามัญจะนำเราให้เชื่อตาม กระบวนการที่แตกต่างของการตัดข้ามดังกล่าว ถูกอธิบายในบทความเหล่านี้ และสภาพเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดพวกเขาถูกแสดงไว้อย่างแตกต่างหลากหลาย เราอาจดูบางส่วนของพวกเขาอย่างสรุปสั้นๆ

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย