ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

ปรัชญาสาขาคุณวิทยา

ความหมายของค่านิยม
ความเกี่ยวข้องกันระหว่างคุณวิทยากับค่านิยมและลักษณะต่าง ๆ ของค่านิยม
ค่านิยมของลัทธิปรัชญากลุ่มลัทธิจิตนิยมกับการศึกษา
ค่านิยมของปรัชญากลุ่มลัทธิสัจนิยมกับการศึกษา
ค่านิยมของปรัชญากลุ่มลัทธิปฏิบัตินิยมกับการศึกษา
จริยศาสตร์กับการศึกษา

ความหมายของค่านิยม

 (the meaning of value)

       นักการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้กำหนดความหมายของคำว่า “ค่านิยม” (value) ไว้ต่าง ๆ กัน Rokeach ได้ให้ความหมายไว้ว่า ค่านิยมคือรูปแบบของความเชื่อ (belief) ที่แต่ละคนยึดถือว่าแต่ละคนควรจะปฏิบัติตนอย่างไรหรือสิ่งใดที่มีคุณค่า ไม่มีคุณค่า ค่านิยมจะสัมพันธ์กับทุกสิ่งโดยทั่วไปและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ค่านิยมเป็นมาตรฐานในการตัดสินในว่าสิ่งใดเลวหรือดี และใช้ในการคัดสินพฤติกรรมของแต่ละบุคคลด้วย

ความหมายของค่านิยมในหนังสือเล่มนี้ ถ้าใช้เป็นคำนามให้ความหมายเป็น “ค่านิยม” และถ้าเป็นคำกริยาจะให้ความหมายเป็น “คุณค่า” ถ้าเป็นคำนาม บางครั้งก็เป็นนามธรรม (abstract) และบางครั้งก็เป็นนามธรรม (concrete) ถ้าเป็นนามธรรมจะเป็นลักษณะค่านิยมหรือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในความหมายลักษระนี้จะให้ความหมายที่หมายถึง มีราคา (worth) หรือความดี (goodness) และในกรณีที่เป็นความเลวก็จะหมายถึง ความไม่มีคุณค่า ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นค่านิยมทางลบ (negative value) แต่ถ้าเป็นค่านิยมในทางความดีก็เรียกได้ว่าเป็นค่านิยมทางบวก (positive value) ส่วนค่านิยมที่เป็นรูปธรรม เป็นได้ทั้งคุณค่าเดียวหรือหลายคุณค่า ซึ่งหมายถึงการที่จิตหรือเจตคติของมนุษย์ตีคุณค่าหรือให้คุณค่าต่อสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น ค่านิยมเกี่ยวข้องกับทั้งคุณลักษณะของค่านิยมและกับกระบวนการของการตีคุณค่าหรือให้คุณค่า

Good ได้ให้ความหมายของค่านิยมตามแนวของสังคมว่า “ค่านิยมเป็นเรื่องของความสนใจ เช่น ค่านิยมในศิลปะก็เป็นความสนใจของผู้ซึ่งได้กลั่นกรองรสนิยมและพัฒนาอำนาจในตัวของเขาต่องานศิลปะต่าง ๆ ถ้าผู้ที่สนใจเกี่ยวกับช่างไม้ก็กำหนดคุณค่าในด้านการใช้ประโยชน์ในการให้ความหมายเกี่ยวกับการศึกษาจะหมายถึงบรรทัดฐาน (norm) หรือมาตรฐาน (standard) ของความปรารถนาภายในแต่ละวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคลที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย