ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

ปรัชญาสาขาคุณวิทยา

ความหมายของค่านิยม
ความเกี่ยวข้องกันระหว่างคุณวิทยากับค่านิยมและลักษณะต่าง ๆ ของค่านิยม
ค่านิยมของลัทธิปรัชญากลุ่มลัทธิจิตนิยมกับการศึกษา
ค่านิยมของปรัชญากลุ่มลัทธิสัจนิยมกับการศึกษา
ค่านิยมของปรัชญากลุ่มลัทธิปฏิบัตินิยมกับการศึกษา
จริยศาสตร์กับการศึกษา

ค่านิยมของปรัชญากลุ่มลัทธิปฏิบัตินิยม (pragmatism) กับการศึกษา

Butler ได้แนะแนวทางให้เห็นว่าปรัชญาฝ่ายลัทธิปฏิบัตินิยมจะรรับเอาหลักการของค่านิยม 2 ทางด้วยกันคือ

  1. ทางที่แสดงสถานการณ์ ปัจจุบันของการเลือกค่านิยม
  2. ทางที่แสดงการเลือกค่านิยมในสถานการณ์ปัจจุบันที่จะนำไปสู่สถานการณ์อนาคต

        ทางที่แสดงสถานการณ์ของการเลือกค่านิยมเกี่ยวข้องกับชนิกของการทำให้สมประสงค์ในความปราถนาแต่ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีความเห็นแก่ตัว เป็นสถานการณ์ที่อยู่ในขอบข่ายของความชอบมากกว่าของความคิดและการกระทำของมนุษย์ โดยถือว่าชีวิตมนุษย์อยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหา ความต้องการของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับชนิดของการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสถานการณ์เหล่านี้ให้หลุดพ้น หรือผ่านคลายลง ดังนั้น ค่านิยมของฝ่ายนี้จึงมุ่งเรื่องของความจำเป็นเพื่อความปรารถนาให้ชีวิตได้รับความจำเป็นเพื่อความปรารถนาให้ชีวิตได้รับความพอใจแต่ก็ถือว่า สถานการณ์ต่าง ๆ มิได้มีอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองตามลำพัง แต่จะมุ่งที่ค่านิยมที่ก่อให้เกิดความพอใจในผลที่ติดตามมาซึ่งไม่ใช่พอใจที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นแก่ตัว ค่านิยมในแนวนี้จึงเป็นค่านิยมที่เป็นความพอใจ (Satisfactory) ต่อสถานการณ์มากกว่าความพอใจต่อบุคคล หรือบุคคลทั่วไป ที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้น ๆ

สำหรับทางที่สองคือทางที่แสดงการเลือกค่านิยมในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อนำไปสู่ค่านิยมในสถานการณ์อนาคตนั้น เนื่องจากการค้นหาการแก้ปัญหาของสถานการณ์ปัจจุบันที่จะทำให้พอใจต่อความต้องการทั้งหมดในสถานการณ์นี้ บุคคลจะต้องค้นหาวิธีการแก้ปัญหาของการกระทำ ซึ่งไม่ใช่เป็นหลักประกันของสถานการณ์ในอนาคต นั่นคือการแก้ปัญหาของสถานการณ์ปัจจุบันจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าการแก้ปัญหานั้นจะนำไปสู่การแก้สถานการณ์ต่าง ๆในอนาคต เพื่อให้มีการควบคุมความพอใจและควบคุมทิศทางของสถานการณ์นั้นด้วย

สำหรับทางที่สองคือทางที่แสดงการเลือกค่านิยมในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่ค่านิยมในสถานการณ์อนาคตนั้น เนื่องจากจากค้นหาการแก้ปัญหาของสถานการณ์ปัจจุบันที่จะทำให้พอใจต่อความต้องการทั้งหมดในสถานการณ์ในอนาคต นั่นคือการแก้ปัญหาของสถานการณ์ปัจจุบันจะยังไม่สมบูรณ์จนกว่าการแก้ปัญหานั้นจะนำไปสู่การแก้สถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต เพื่อให้มีการควบคุมความพอใจและควบคุมทิศทางของสถานการณ์นั้นด้วย

ด้วยลักษณะของค่านิยมของปรัชญาฝ่ายนี้ดังได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่า ค่านิยมต่าง ๆ จะเกี่ยวข้องกัน จริยศาสตร์และศีลธรรมเป็นสิ่งไม่มั่นคง แต่จะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมและสังคม แต่มิได้หมายความว่า ค่านิยมทางศีลธรรมจะขึ้น ๆ ลง ๆ หรือแกว่งไกว จากเดือนหนึ่งเปลี่ยนไปอีกเดือนหนึ่งก็เปลี่ยนไปอีก ยกตัวอย่างเช่น การที่สังคมมีค่านิยมว่า “มนุษย์พึงต้องไม่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน” อันนี้ก็มิได้เป็นหลักที่ตายตัว ในบางโอกาสก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องฆ่ามนุษย์ด้วยกัน เช่น ในกรณีป้องกันตัว หรือในยามศึกสงคราม หรือในการป้องกันชีวิตให้ผู้อื่น เป็นต้น

การสอนของครูในเรื่องค่านิยมของปรัชญาฝ่ายนี้จึงมุ่งให้นักเรียนรู้วิธีการตัดสินใจต่อสภาพหรือสถานการณ์ของการกระทำ เพื่อจะทำให้เกิดผลดีที่สุดสำหรับชีวิตมนุษย์ นักเรียนจะต้องรู้จักพิจารณาปัญหา การกระทำของมนุษย์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และรู้จักเลือกค่านิยมที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ เพราะยิ่งสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นเพียงใด การสอนนักเรียนในลักษณะนี้ก็ยิ่งมีความจำเป็นและสำคัญขึ้นเพียงนั้น แต่จะต้องไม่เป็นการสอนให้มีความลำเอียงหรือความเห็นแก่ตัว ซึ่งปรัชญาฝ่ายนี้คัดค้านการกระทำและความคิดเช่นนี้

William James ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณค่าของปรัชญาฝ่ายลัทธิปฏิบัตินิยมไว้ โดยเปรียบเทียบคุณค่าของปรัชญานี้ว่าเหมือนกับความอุ่นและความเป็นกันเองเยี่ยงมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งในงานเขียนของท่าน ท่านใช้สรรพนามแทน pragmatism ว่า “หล่อน” หรือ “เธอ” (she) แต่มียกมากล่าวนี้มุ่งในเนื้อหาเป็นสำคัญ จึงมิได้สรรพนามเช่นนั้น James ได้กล่าวว่า

“ลัทธิปฏิบัตินิยม จะไม่มีความลำเอียงไม่ว่าในเรื่องใดก็ตาม ไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่ไม่มีข้อพิสูจน์หรือไม่มีเหตุผล ไม่ใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่พิสูจน์ไม่ได้ ค่านิยมจะทำให้มีความพอใจ ร่าเริง และสบายใจ…มันจะช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของชีวิตสมบูรณ์และดีที่สุด เพราะส่วนต่าง ๆ ของชีวิตนั้นได้ผูกพันอยู่กับความต้องการของประสบการณ์ของการร่วมอยู่ด้วยกัน… เห็นไหมว่าลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นประชาธิปไตยแค่ไหน…ท่าทีของลัทธิปฏิบัตินิยมก็มีหลายแบบและยืดหยุ่นได้ มีแหล่งทรัพยากรต่าง ๆ ที่มั่งคั่งและไม่สิ้นสุด และสรุปได้ว่าลัทธิปฏิบัตินิยม เป็นมิตรและเป็นกันเองเหมือนกับธรรมชาติของมารดาทีเดียว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย