ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม

ประเภทของวัฒนธรรม
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม
วัฒนธรรมในมุมมองของโลก
วัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์
วัฒนธรรมภายในสังคม

วัฒนธรรมในมุมมองของโลก

ในยุคโรแมนติก ผู้รอบรู้ในเยอรมัน โดยเฉพาะผู้ห่วงใยใน "ขบวนการรักชาติ" เช่น ขบวนการรักชาติที่พยายามก่อตั้งประเทศเยอรมันจากรัฐต่าง ๆ ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครอยู่แล้ว และกลุ่มผู้รักชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่พยายามต่อต้านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พวกเหล่านี้มีส่วนช่วยพัฒนาหัวเรื่องวัฒนธรรมมาสู่ "มุมมองของโลก" มากขึ้น ในกรอบแนวคิดลักษณะนี้ มุมมองโลกที่พุ่งไปสู่การจำแนกลักษณะของกลุ่มชาติพันธุ์ มีความชัดเจนขึ้นและไม่ให้ความสำคัญของขนาดกลุ่มชน แม้จะเป็นแนวคิดที่กว้างขึ้นแต่ก็ยังคงเห็นว่ายังการแบ่งความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม "อารยธรรม" และ วัฒนธรรม "ดั้งเดิม" หรือ วัฒนธรรม "ชนเผ่า" อยู่

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2420) นักมานุษยวิทยา ได้ยอมรับและปรับวัฒนธรรม ให้มีนิยามที่กว้างขึ้นให้ประยุกต์ได้กับสังคมต่าง ๆ ที่หลากหลายได้มากขึ้น เอาใจใส่ให้ความสนใจกับทฤษฎีของวิวัฒนาการมากขึ้น มีการอนุมานว่ามนุษย์ทั้งปวงวิวัฒนาการมาเท่าเทียมกัน และมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมจะต้องเป็นผลมาจากวิวัฒนาการอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการแสดงถึงความลังเลที่จะใช้วิวัฒนาการทางชีววิทยามาใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน ซึ่งเป็นแนวที่เป็นการแสดงรูปแบบหรือส่วนหนึ่งของสังคมเปรียบเทียบกับอีกสังคมโดยรวม และแสดงให้เห็นกระบวนการครอบงำ และกระบวนการต่อต้าน

ในช่วง พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2503 ได้เริ่มมีการยกเอา "กลุ่มวัฒนธรรมย่อย" ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมที่ใหญ่กว่ามาเป็นหัวข้อการศึกษาโดยนักสังคมวิทยา ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2543) ได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า "วัฒนธรรมบรรษัท" (corporate culture) ที่เด่นชัดเกี่ยวกับบริบทของการจ้างงานในองค์การหรือในที่ทำงานขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย