ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์

ความหมายของมนุษย์

         คน หรือ มนุษย์ สามารถนิยามได้ทั้งในทางชีววิทยา, ทางสังคม และทางเจตภาพ (spirituality) ในทางชีววิทยานั้น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิด Homo sapiens (ภาษาละติน: "มนุษย์ผู้รู้") ซึ่งจัดเป็นไพรเมตยืนสองขาชนิดหนึ่งในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ร่วมกับลิงไม่มีหางหรือวานรอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลิงชิมแปนซี, ลิงกอริลลา, ลิงอุรังอุตัง และชะนี

มนุษย์มีลำตัวตั้งตรงซึ่งทำให้รยางค์คู่บนว่างลงและใช้จัดการวัตถุสิ่งของต่างๆ ได้ มนุษย์ยังมีสมองซึ่งพัฒนาอย่างมากและมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงนามธรรม, การพูด, การใช้ภาษา และการใคร่ครวญ

ในด้านพฤติกรรม ความเป็นมนุษย์นิยามด้วยการใช้ภาษา; การจัดโครงสร้างสังคมอันซับซ้อนในรูปของกลุ่ม, ชาติ, รัฐ และสถาบัน; และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ความแตกต่างทางพฤติกรรมเหล่านี้ของมนุษย์ก่อให้เกิดวัฒนธรรมนับหมื่นนับพันวัฒนธรรม ซึ่งยึดถือความเชื่อ, ตำนาน, พิธีกรรม, คุณค่า และปทัสฐานทางสังคมต่างๆ กันไป

ความตระหนักถึงตนเอง, ความใคร่รู้ และการใคร่ครวญของมนุษย์ ตลอดจนความโดดเด่นกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ก่อให้เกิดความพยายามที่จะอธิบายธรรมชาติและพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ทั้งในทางวัตถุธรรมและในทางนามธรรม คำอธิบายในทางนามธรรมนั้นจะเน้นมิติทางเจตภาพของชีวิต และอาจรวมถึงความเชื่อในพระเป็นเจ้า, เทพเจ้า หรือสิ่งเหนือธรรมชาติอื่น ๆ ตลอดจนแนวคิดเรื่องวิญญาณ ความพยายามที่จะสะท้อนภาพตัวเองของมนุษย์นั้นเป็นพื้นฐานของความคิดทางด้านปรัชญา และมีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ

เผ่าพันธุ์มนุษย์

ปัจจุบัน มนุษย์ถูกจัดอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน คือ Homo sapiens sapiens นักมานุษยวิทยาแบ่งมนุษย์ออกเป็น 5 เผ่าพันธุ์ คือ

  1. ออสเตรลอยด์ (australoids) ศีรษะยาว จมูกแบน ผมเป็นลอน ขนตามตัวมาก ผิวดำ ได้แก่คนพื้นเมืองของออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย
  2. คอเคซอยด์ (caucasoids) จมูกโด่ง ผมเป็นลอน หนวดเคราดก ผมยาว ผิวสีอ่อน ดำรงชีวิตอยูในเขตอบอุ่น คือยุโรป เมดิเตอเรียเนียน (mediteraneans) ยุโรปเหนือ (nordics) และพวกยุโรปกลางต่อไปยังรัสเซีย (alpines)
  3. มองโกลอยด์ (mongoloids) ศีรษะกว้าง จมูกแก้มเป็นโหนก ผมแข็งเหยียดตรง จมูกไม่โด่งมาก ผิวเหลืองหรือแดง หนวดเคราและขนตามร่างกายมีน้อย mongoloids อาศัยอยู่ตามเอเชียตะวันออก เอสกิโม (eskimo) คนไทย และอินเดียนในอเมริกา (american indians)
  4. นิกรอยด์ (negroids) ศีรษะยาวจมูกกว้าง ริมฝีปากหนา ผิวดำ ผมหยิก ไอคิวเฉลี่ยสมัยนี้ก้าวหน้าดีกว่าเผ่าพันธุ์อื่น อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนคองโก (african negroes) คนป่าซูลู (zulu) เผ่าแคฟเฟอร์ (kaffir) คนผิวดำตามมหาสมุทรแปซิฟิกของนิวกินี (oceanic negroes new guinea)
  5. ปิกมี่ (pygmies) เป็นคนแคระสูงไม่ถึง 145 ซม ศีรษะกว้าง จมูกกว้าง อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนของคองโก (congo) และชามอด (chamod)

วิวัฒนาการของอารยธรรมมนุษย์

มนุษย์มีวิถีชีวิตโดยการล่า และเก็บหาอาหาร จนกระทั่งเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่แล้วมนุษย์เริ่มรวมกันอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่เกิดจากการพัฒนาความรู้ในการทำการเกษตร และการเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตอาหารให้พอเพียงต่อการดำรงชีวิต เมื่อปริมาณอาหารมากพอสำหรับทุกคนที่มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมถึงการมีอาหารส่วนเกินซึ่งสามารถสำรองไว้เพื่อรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตใน ครั้งต่อ ๆ ไป ทำให้มนุษย์สามารถมีเวลาสำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานแบบถาวร และไม่จำเป็นต้องต้องมีชีวิตโดยการเร่ร่อนล่าสัตว์และเก็บหาอาหารอีกต่อไป การเกษตรจึงเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง อารยธรรม ของมนุษย์ และเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมมือกัน, การค้าขาย และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว มนุษย์ได้พัฒนารัฐแห่งแรกขึ้นซึ่งทำให้เกิดอารยธรรมในดินแดนที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำซาฮารา/ไนล์ และอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ รัฐเหล่านี้มีการจัดรูปแบบการบริหารการปกครองโดยรัฐบาล และจัดกำลังทางการทหารเพื่อการป้องกัน มีการร่วมมือกันและแข่งขันกันระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อได้ทรัพยากร ซึ่งในบางกรณีก็ถึงขั้นทำสงครามระหว่างกัน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีที่แล้ว บางรัฐเช่น เปอร์เซีย, อินเดีย, จีน, โรม, และกรีซ เป็นรัฐแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จจากการขยายดินแดนและพัฒนาตัวเองจากรัฐจนกลายเป็นอาณาจักร

ในช่วงเวลาตอนปลายของยุคกลางได้ เกิดการปฏิวัติทางความคิดและเทคโนโลยี สังคมเมืองที่ก้าวหน้าในประเทศจีนได้เป็นปัจจัยที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมและ ความรู้ใหม่ ๆ เช่นการหว่านเมล็ดพืชและการพิมพ์ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้สร้างยุคทองหรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการของอิสลามให้กับอาณาจักรมุสลิม การกลับมาค้นพบความรู้ในยุคคลาสสิคของยุโรปและการประดิษฐ์แท่นพิมพ์นำไปสู่ การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในศตวรรษที่ 14 และในระยะเวลา 500 ปีต่อมาเป็นยุคแห่งการเดินทางสำรวจและสร้างอาณานิคม จนกระทั่งดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา, เอเซีย, และแอฟริกาอยู่ภายใต้การควบคุมและครอบครองโดยชาวยุโรป และนำไปสู่การดิ้นรนเพื่ออิสรภาพ การปฏติวัติทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18-19 ก่อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางการขนส่ง ครั้งใหญ่ เช่นทางรถไฟ, ถนน, และรถยนต์ ทำให้มนุษย์สามารถเดินทางได้ในระยะเวลาที่เร็วขึ้นมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถรวมกลุ่มกันได้ง่ายขึ้น และเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพครั้งใหญ่จากการทำการเกษตรกรรมไปสู่การทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนเกิดขึ้นของอาชีพบริการเพื่อรองรับระบบสังคมเมืองและจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทางพลังงาน เช่นไฟฟ้าและถ่านหิน และมีการพัฒนารูปแบบการปกครองเช่น ประชาธิปไตยและสังคมนิยม

จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาทางเทคโนโลยีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นการเริ่มต้นของยุคข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ มนุษย์สมัยใหม่มีชีวิตในโลกที่ทุกสถานที่สามารถรับรู้ข่าวสารความเคลื่อนไหว ของทั่วทุกที่ในโลกไปพร้อมๆ กัน และทุกที่เชื่อมต่อถึงกันโดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยหลัก มีการประมาณไว้ว่าในปี 2008 มีมนุษย์มากกว่า 1,400 ล้านคนเชื่อมต่อถึงกันโดยผ่านอินเตอร์เนท และ 3,300 ล้านคนใช้บริการจากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

ถึงแม้ว่าการเชื่อมต่อถึงกันระหว่างมนุษย์ช่วยให้เกิดการเติบโตทางวิทยา ศาสตร์ ศิลปะ การสนทนา และเทคโนโลยี แต่ก็เกิดการปะทะกันของวัฒนธรรม เกิดการพัฒนาและการใช้อาวุธสำหรับการทำลายกลุ่มคนจำนวนมาก และเกิดการเพิ่มขึ้นของมลพิษและการทำลายสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงเป็นปัญหาต่อมนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลกด้วย

มนุษย์จากคัมภีร์ไบเบิ้ล

เชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างมาจากดิน โดยพระเจ้าในวันที่ 6 มนุษย์ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากการทรงสร้างของพระเจ้า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง วัตถุประสงค์ในการสร้างมนุษย์ของพระเจ้า เพื่อพระเจ้าจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเรา เปรียบเสมือนพ่อที่มีลูก ย่อมอยากรู้จักและสัมพันธ์กับลูก แต่พ่อที่เป็นมนุษย์ไม่สามารถปั้นลูกด้วยตนเองได้ แต่พ่อที่เป็นพระเจ้าสามารถทำได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำกัด (limit) เช่นเดียวกันกับมนุษย์ เช่นพระองค์อยู่ในหลายที่ได้พร้อมกัน แต่มนุษย์ต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งเท่านั้น หรือมนุษย์สามารถรับรู้แต่สิ่งที่จับต้องได้ ตามองเห็น แต่พระเจ้าไม่จำเป็น ในความเป็นมนุษย์บางครั้งเรายังรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นมีจริง เช่น วิญญาณ เรารู้ว่ามนุษย์มีวิญญาณภายใน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเกิดมาจากไหน และตายแล้วไปไหน พระคัมภีร์ไบเบิลบอกว่า พระเจ้าสร้างมนุษย์ตามพระฉาย คือเหมือนการส่องกระจก แต่ "เหมือน" ในที่นี้ ไม่ใช่ในรูปลักษณ์ภายนอก แต่เหมือนในการตัดสินใจ ผิดชอบชั่วดี ( นี้คำอ้างจากคัมภีร์ไบเบิลที่มนุษย์สร้างเองขึ้นมาไม่ใช้คัมภีร์ไบเบิลจริง ที่มาจากพระเยซู )

มนุษย์เคยใกล้ชิดพระเจ้าทุกวัน แต่เนื่องจากทำบาป จึงทำให้ไม่สามารถอยู่กับพระเจ้าได้ เพราะพระเจ้าบริสุทธิ์ มนุษย์จึงต้องแยกจากพระเจ้า เพราะแม้พระเจ้าจะบริสุทธิ์ แต่พระองค์ก็ยุติธรรม และเป็นความรักด้วย ในข้อท้ายนี้ ที่สำคัญ ความยุติธรรมของพระเจ้าทำให้พระเจ้าต้องลงโทษมนุษย์ และต้องแยกจากมนุษย์ แต่เพราะความรักที่มีมากของพระเจ้า พระองค์จึงทรงหาทางช่วยเหลือ โดยการส่งตัวของพระองค์เองลงมา เพื่อช่วยให้มนุษย์รอดจากการถูกลงโทษ คนๆนั้นก็คือ Jesus หรือพระเยซู ที่เกิดในค.ศ. 1 ประเทศอิสราเอล และฟื้นขึ้นมาในวันที่ 3

มนุษย์ (ในมุมมองของคริสเตียน) เป็นคนบาปโดยกำเนิดอยู่แล้ว ไม่ใช่เราทำบาปเลยบาป แต่เพราะเราเป็นคนบาปเลยทำบาป เราอาจดูได้จากตัวอย่างในใจที่อิจฉาริษยาของเรา ที่บางครั้งเราก็ไม่อยากให้มี แต่เราก็ทำไม่ได้ มนุษย์อ่อนแอและจำกัด แต่พระเจ้าทรงรู้ถึงข้อนี้ จึงส่งพระเยซูลงมาตายบนไม้กางเขนเพื่อมาช่วยเรา พระเยซูคงเป็นมนุษย์ธรรมดา หากไม่ฟื้นขึ้นมาในวันที่ 3 และในทุกวันนี้ คนทั่วโลกพยายามหาหลุมศพของพระเยซู แต่ก็ไม่เจอ และถ้าเราเปิดใจต้อนรับพระเยซูโดยการอธิษฐาน ในฐานะมนุษย์ เราก็สามารถกลับคืนดีกับพระเจ้าได้เช่นกัน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย