สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

มนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ในยุครามาพิเธคัส
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคออสตราโลพิเธคัส (Australopithecus)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม แฮบิลิส (Homo Habilis)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม อีเรคตัส (Homo Erectus)
พัฒนาการของมนุษย์ในยุคโฮโม เซเปียนส์ (Homo Sapiens)
เผ่าพันธุ์ของมนุษย์

พัฒนาการของมนุษย์ในยุครามาพิเธคัส

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่าลิงมีหางสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษไพรเมตที่ชื่อว่าโปรซิเมี่ยน (Prosimian) โดยตรง ในขณะที่เอพล์ (Apes) ไม่มีหาง แถวเอเชียตะวันออก รวมถึงชะนี และอุรังอุตัง มาจากสายพันธุ์ที่แยกมาทีหลัง ที่เรียกว่า ไพลโอพิเธคัส (Pliopithecus) ในขณะที่ซิมแปนซี และกอริล่าเชื่อว่ามาจากไพรเมตที่ชื่อว่าไดรโอพิเธคัส (Dryopithecus) ส่วนมนุษย์นั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าต้นตระกูลที่แท้จริงคือ รามาพิเธคัส (Ramapithecus) ซึ่งอาจจะแตกสายพันธุ์ออกก่อนหน้านั้นเช่นจากโปรคอนซูล (Proconsul) ไพรเมตรุ่นแรกๆ หน้าสั้นที่มีกรามสำหรับเคี้ยว

ส่วนฟอสซิลของรามาพิเธคัสเองแม้ว่าจะพบหลายชิ้นจากที่ต่างๆ กัน แต่ล้วนมีอายุประมาณ 10-15 ล้านปีเท่านั้น และลักษณะของกระดูกโดยเฉพาะขากรรไกรของฟอสซิลเหล่านั้น ถึงจะมีความคล้ายกันบ้าง แต่ก็มีลักษณะเฉพาะหลายประการที่แตกต่างกันอย่างแน่ชัด รามาพิเธคัสฟอสซิลที่พบชิ้นแรกเป็นส่วนของกระดูกขากรรไกรมีฟันติดอยู่ด้วย ได้ถูกขุดพบที่เนินเขาศิวาลีทางเหนือของประเทศอินเดีย มีอายุประมาณ 12 ล้านปี โดยลูวิส ในปี ค.ศ. 1934 ตั้งชื่อว่า พระราม ต่อมาก็ได้พบฟอสซิลที่อินเดียอีกจากเขาลูกเดียวกันพร้อมๆ กับพบฟอสซิลที่เคนยาหลายตัวและตั้งชื่อว่า คิเนียพิเธคัส (Kenyapithecus) ต่อมาก็พบที่จีนและอื่นๆ เช่น ฮังการี เมื่อปี ค.ศ. 1975 ตัวนี้มีอายุประมาณ 8 ล้านปีเท่านั้น

 

รามาพิเธคัสถือว่าเป็นต้นตระกูลสายตรงที่ห่างไกลที่สุดของมนุษย์มีชีวิตอยู่ที่เหนือเทือกเขาหิมาลัยในส่วนของอินเดียรวมตะวันตกของจีน อีกแห่งหนึ่งคืออัฟริกา เมื่อ 10 ถึง 15 ล้านปีมาแล้ว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย