ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ภูมิปัญญาไทยกับทัศนศิลป์

สาขาวิชา สังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์
หลักที่จะให้คำวิจารณ์แก่ศิลปกรรม
ศิลปะและปรัชญา
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
ทฤษฎีศิลป์

ศิลปะและปรัชญา

ทฤษฎีที่อธิบายความงามของศิลปะ ซึ่งหมายถึง การหาคำอธิบายว่าความงามคืออะไร อีเอฟแคริท ได้อธิบายไว้

  1. ทฤษฎีเหมือนจริง ความงามคือการทำให้เหมือนจริง
  2. ทฤษฎีเชาว์ปัญญา ความงามเกิดจากการเรียบเรียงความคิดที่ซับซ้อนพิสดาร
  3. ทฤษฎีอารมณ์นิยม ความงามเกิดจากการที่ศิลปินรู้จักเลือกสรร
  4. ทฤษฎีการแสดงออก ความงามเกิดจากการแสดงความรู้สึกทำให้ผลงานมีชีวิตชีวา
  5. ทฤษฎีรูปทรง ความงามเกิดจากการที่ศิลปินรู้จักสร้างรูปทรงที่เหมาะสมจึงสามารถสื่อ ความรู้สึกหรือความหมายได้อย่างดี

ผู้สอนจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมว่าทฤษฎีความงามต่างจากกติกาความงามดังต่อไปนี้

  1. กติกาความงาม ซึ่งมีหลายชนิดแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆเพื่อตอบคำถามที่ว่าความงามมีกี่ประเภทกำหนดด้วยกติกาอย่างไร
  2. ทฤษฎีความงาม มุ่งที่จะหาคำตอบที่ว่าความงามคืออะไรรสนิยมและทฤษฎีรสนิยม กล่าวว่า รสนิยม ไม่ใช่ความงามแต่มีความใกล้ชิดกับความงามมาก มาทำความเข้าใจถึงมุมมองที่นักปราชญ์แต่ละคน

อิมานู เอลคานท์ 1724-1804
เป็นนักปราชญ์ชาวเยอรมันเขาได้เขียนบทความทางปรัชญาไว้หลายบทแต่ทีมีบทความทางสุนทรียศาสตร์ดังนี้รสนิยมต่างจากความพึงพอใจเพราะว่ารสนิยมเป็นสากลบุคคลใดๆ ไม่ว่าจะมาจากชาติใดถ้าได้รับการศึกษาอบรมให้เกิดท่าทีที่ถูกต้องก็จะเข้าถึงสิ่งที่เรียกได้ว่า รสนิยม



ฟรานซิส ฮัทชิสัน
กล่าวถึงสองสิ่งที่มีลักษณะตรงกันข้ามกันคือ ความเจ็บปวดกับความพึงพอใจ หลังจากนั้นผู้เขียนจึงค่อยๆโยงเข้าสู่เรื่องของความงาม ไม่งามและการรับรู้รสของความงามที่จะค่อยๆ ซึมซับเข้าสู่บุคคล ความเจ็บปวดไม่ใช่เกิดจากคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจเท่านั้นแต่เกิดจากความเข้มและช่วงเวลาด้วย

เดวิด ฮูม 1711-1776
ปรัชญาของฮูม กล่าวว่า ความงามไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งเดียวกับกับความดี เช่น งานจิตรกรรมของอิริค ฟิชเชลเราอาจเห็นเนื้อหาของงานศิลปะที่แสดงพฤติกรรมที่ผิดศิลธรรมของมนุษย์

นักปราชญ์ชาวอินเดีย (เก่าแก่กว่ายุโรป 500 ปี)
จากคัมภีร์โบราณของอินเดียตั้งแต่ยุคพระเวชคำว่า รส หมายถึง
- รสหวานจากน้ำผลไม้
- รสอร่อย คือความพึงพอใจที่ได้จากประสบการณ์
- ความชอบใจของมนุษย์ในการดูงานศิลปะเช่นประติมากรรมหรือการแสดงนักปราชญ์อินเดียมีคำอธิบายที่ต่างจากตะวันตก คือ รส เป็นสาระที่แท้จริงรสเกิดขึ้นภายในใจอย่างเฉียบพลันทันทีไม่จำเป็นต้องหา

คำอธิบายในศตวรรษที่ 10 นักปราชญ์ชื่อ สังกุกะอธิบายว่า รส ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริง แต่เป็นความรู้สึกเทียมเกิดจากความประทับใจของผู้ดูละครเขาดูการแสดง และรู้ว่านั้นไม่ใช่ความจริงความสนุกประทับใจและมีอารมณ์อ่อนไหวไปตามลีลาของเรื่องและบทบาท

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย