ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ภูมิปัญญาไทยกับทัศนศิลป์

สาขาวิชา สังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

สุโขทัย

     พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อันมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1800 และได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีก 5 พระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพญาเลอไทย พญาลิไทย พญาไสลือไทย จนถึงปี พ.ศ.1921 จากนั้นกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีอยุธยากษัตริย์ราชวงศ์ พระร่วงอีก 2 พระองค์ จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าเมืองขึ้น

• ช่วงอายุ – พุทธศตวรรษที่ 19-21
• สถานที่ – สุโขทัย
• ลักษณะ – เกี่ยวกับลัทธิหินยานนิกายลังกาวงศ์ ในสมัยนี้พระพุทธรูปจากลังกาเข้าได้รับอิทธิพลอยู่มาก

ได้รับการยอมรับว่างามที่สุด มี 4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน มีเทคนิคหล่อโละ ปูนปั้น และสลักหิน องค์ที่ว่างดงามมากคือปางเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ที่วัดตระพองหลาง เกิดจิตรกรรมไทยขึ้น เช่น ภาพสลักบางภาพสลักหินในถ้ำ เป็นต้น

อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึง นับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์ คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่นมั่น คงจนได้รูปแบบที่งดงามพระพุทธรูปสุโขทัย ถือว่า มีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง

ลักษณะ สำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงาม ได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่ง รับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไร พระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา

นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่ง คือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่อง ปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้น ดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่างๆ มีผิวเคลือบแตกราน สังคโลกเป็นสินค้าออก ที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขต จนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

อยุธยา
พระนครศรีอยุธยา เคยเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองรวม5 ราชวงศ์ นับจำนวนทั้งสิ้น 33 พระองค์ นับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระบรมราชาธิบดี แห่งราชวงศ์เชียงราย เป็นปฐมกษัตริย์ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1893 จนถึงพระเจ้าเอกทัศน์หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์กษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า สิ้นสุดการเป็นราชธานีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2310

ช่วงอายุ – พ.ศ. 1893-2310 สถานที่ – อยุธยา ภาคกลาง ลักษณะ – บ้านเมืองมีทั้งสงคราม สงบสุข เสื่อมโทรม สลับไปมาเป็นเวลานาน ทำให้ศิลป์ทุกแขนงมีแบบแผนและสืบต่อไปถึงสมัยต่อ ๆ ไป เช่น จิตรกรรม สถาปัตยกรรม (มักทำด้วยอิฐและไม้) ประติมากรรมตกแต่ง และประณีตศิลป์ โดดเด่นในการสลักไม้เพราะสลักให้สวยได้ง่าย มีการปิดทอง ประดับกระจกสี ถือว่าจิตรกรรมการตกแต่งวิวัฒนาการสูงสุด เช่นตู้เก็บพระไตรปิฎก สร้างด้วยจิตรกรรมลายน้ำจัดว่าวิจิตรสุดในประเทศ



รัตนโกสินทร์
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
งานสร้างสรรค์เพื่อฟื้นฟูและการสร้างแปลงบ้านเมือง
ช่วงอายุ – พ.ศ. 2325-2352
สถานที่ – กรุงเทพ
ลักษณะ – ส่วนมากเป็นการสร้างทดแทนของเก่าที่ถูกทำลายไปในสมัยอยุธยา ตั้งแต่พระราชวัง ตลอดจนเรือพระราชพิธีจะคล้ายๆของเดิม เพียงแต่ว่าพวกลวดลายที่ตกแต่งตามบานประตู คันทวย หน้าบัน จะมีลักษณะใหญ่โตและเข้มแข็ง เพื่อนแสดงถึงความมั่นคงของบ้านเมือง

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระอัจฉริยภาพและงานสลักไม้ชั้นเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงอายุ – พ.ศ. 2352-2367
สถานที่ – กรุงเทพ
ลักษณะ – ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้อยู่ มีวรรณะของสีที่หนักแน่นมีลีลาที่สวยงามดูมั่นคงพระองค์ เองยังปั้นพระพักตร์ของพระพุทธจุฬาลักษณ์ ประธานวัดราชสิทธาราม และพระพุทธธรรมศราช โลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวราราม และพระองค์ก็ยังสลักบานประตูไม้ที่สวยสุดยอดในรัตนโกสินทร์ คือ ที่พระวิหารวัดสุทัศน์ เพราะซับซ้อนมาก

สมัยพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยุคทองของจิตรกรรมไทยแบบประเพณีและความรุ่งเรืองของทัศนศิลป์แบบจีน
ช่วงอายุ – พ.ศ. 2367-2394
สถานที่ – กรุงเทพ
ลักษณะ – จิตรกรรมที่เกิดใหม่นี้เรียกว่า “จิตรกรรมแบบพระราชนิยม ร.3” จะออกแนวจีน เพราะได้รับอิทธิพลจากการค้ามาตั้งแต่สมัย ร.2 แต่แบบไทยเดิมก็มิได้ถูกทอดทิ้งโดยจะมีการ พัฒนาต่อ เช่น มีการปิดทองในภาพ และการเน้นฉากหลังซึ่งเป็นธรรมชาติให้สมจริงมากขึ้น

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทัศนศิลป์ไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากทัศนศิลป์ตะวันตก
ช่วงอายุ – พ.ศ. 2394-2411
สถานที่ – กรุงเทพ
ลักษณะ – เมื่อทรงทำสัญญาพระราชไมตรีกับประเทศตะวันตก เริ่มทดลองกิจการทหารแบบยุโรป การแต่งกายทหารจึงเป็นตะวันตกไปด้วย ณ ตู้เก็บพระไตรปิฎกวัดสุทัศน์ได้เขียนลายตึกยุโรป เรือ โดยสารคล้ายของอเมริกา ประมาณว่าวาดโดยไม่เคยเห็นของจริงมาก่อน และภาพประเภทนี้ก็มีอยู่ตามผนังวัดด้วย นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องบรรณาการเป็นพระบรมรูปสูง 1 ศอกแต่ทรงไปเหมือนฝรั่ง จึงให้คนไทยสร้างใหม่

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความก้าวหน้าในการพัฒนาทัศนศิลป์ไทยสู่แบบแผนตะวันตก
ช่วงอายุ – พ.ศ. 2411-2453
สถานที่ – กรุงเทพ
ลักษณะ – มีการสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ เป็นแบบตะวันตก ที่แรกให้ฝรั่งมาออกแบบพระที่นั่งจักรีมหาประสาท คนก็คัดค้านกัน จึงเปลี่ยนหลังคาให้เป็นแบบไทย บางคนเรียนกว่า “ฝรั่งสวมมอบ” ส่วนเครื่องให้ส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวกับราชการยังเป็นแบบไทยอยู่ และที่พระองค์เสด็จเยือนยุโรป 2 ครั้ง จึงนำช่างฝีมือชาวตะวันตกเข้ามา และพอจะสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม จึงเป็นการนำช่างคนไทยไปทำงานกับช่างฝรั่ง จึงเป็นการพัฒนาแบบแผนของไทยไปด้วย

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์
หลักที่จะให้คำวิจารณ์แก่ศิลปกรรม
ศิลปะและปรัชญา
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
ทฤษฎีศิลป์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย