วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ปลาช่อนทะเล
(Species Profile Cobia)

การแพร่พันธุ์ในธรรมชาติ
เทคนิคการเพาะเลี้ยง
การเกิดโรค
การตลาดและเศรษฐกิจ

เทคนิคการเพาะเลี้ยง

      ในช่วงเดือนที่มีอากาศอบอุ่นของปี ปลาช่อนทะเลจะถูกจับและขนย้ายไปยังถังหรือบ่อ เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์จุดประสงค์เพื่อให้ปลาผสมพันธุ์วางไข่ (ภาพที่ 1) ในที่กักขังปลาช่อนทะเลทุกขนาดปรับตัวให้เข้ากันได้อย่างรวดเร็ว เมื่อให้อาหารจะกินเหมือนไม่รู้จักอิ่มและมีการเติบโตที่รวดเร็ว ในรายงานการเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลของไต้หวันโดย Liao et al. 2004 รายงานการผลิตไข่ปลาช่อนทะเลจากปลาขนาด 10 กก.โดยเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในกระชังใกล้ชายฝั่งและในบ่อขนาด 400-600 ตร.ม ตัวอย่างของรูปแบบบ่อลึก 1.5 เมตร ใช้ระบบน้ำไหลผ่านตลอดเวลาใส่ปลา 100 ตัว ใช้อัตราส่วนเพศอัตรา 1:1 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการวางไข่ 23-27 องศาเซลเซียส ช่วงที่ปลามีไข่สูงสุดช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิ และฤดูฝน การรวบรวมไข่ที่ได้รับการผสมเก็บบริเวณผิวหน้าน้ำในบ่อ

ลูกปลาวัยอ่อนปลาช่อนทะเล (ภาพที่ 2) ขนย้ายไปยังบ่ออนุบาลโดยใช้น้ำเขียวเลี้ยงโดยใช้ นอเพลียสของโคพีพอด และโรติเฟอร์ จนกระทั่งอายุ 20 วัน (อัตรารอด 5-10%) โดยแบ่งการอนุบาลเป็น 3 ระยะ ในระยะแรก, 20 วัน – 45 วัน ให้ลูกปลากินอาหารเม็ดลอยน้ำ คัดขนาดทุก 4-7 วัน เพื่อลดอัตราการกินกันเอง และเมื่อมีขนาด 2-5 กรัม เป็นระยะที่ 2 (อายุ 45-75 วัน) ใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (มากกว่า 300 ตร.ม) ให้กินอาหารวันละ 5-6 ครั้ง เลี้ยงไปจนได้น้ำหนัก 30 กรัม ในการอนุบาลขั้นสุดท้าย (อายุ 75 วัน ถึง 150-180 วัน) ปลาช่อนทะเลโตมีน้ำหนัก 600-1,000 กรัม ทั้งในบ่อขนาดใหญ่ และในกระชังที่เลี้ยงแยกกัน ในช่วงสุดท้ายเลี้ยงในกระชังใช้เวลาเลี้ยง 6-8 เดือน ได้น้ำหนัก 6-10 กก. ความหนาแน่นตอนเก็บผลผลิต 14 กก/ลบ.ม อัตราการแลกเนื้อที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ด (โปรตีน 42-45%) ที่เลี้ยงในไต้หวัน ประมาณ 1.5:1 ในขณะที่เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน ในประเทศเปอร์เตอริโก้มีอัตราการแลกเนื้อประมาณ 1:1 งานวิจัยในสหรัฐเน้นการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติให้วางไข่ และการเลี้ยงปลาเต็มวัย

 

นักวิทยาศาสตร์ในหลายรัฐสามารถผลิตไข่ที่ได้รับการผสมในหลายระดับ ปลาช่อนทะเลตัวเต็มวัยสามารถสลบ และขนย้ายได้ง่ายโดยใช้น้ำมันกานพลูที่ความเข้มข้น 10-20 พีพีเอ็ม เมื่อปลาสลบใช้ท่อยางขนาด 1.0 มม. เพื่อตรวจสอบผลการพัฒนาของรังไข่ การให้ปลาวางไข่โดยการใช้ช่วงการให้แสงและอุณหภูมิของน้ำ ปลาช่อนทะเลวางไข่ได้ในหลายรูปแบบ ในที่มีหลังคาคลุม,ในถังกลม,ในถังไฟเบอร์กลาสขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.1 ม. และลึก 1.5 ม. ระบบในถังเลี้ยงควรมีการกรองด้วยระบบชีวภาพ กรองทรายและปั้มทำความร้อนที่ใหญ่เพียงพอที่จะควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้ตลอดทั้งปี

ปลาช่อนทะเลที่เลี้ยงในที่กักขังสามารถวางไข่ได้เป็นที่น่าพอใจเมื่อใส่ปลาไว้ตลอดทั้งปีโดยปลามีระยะการวางไข่เป็นปกติแม้เป็นนอกฤดูกาลวางไข่ ช่วงของการได้รับแสง 10 ชม. ในฤดูหนาวถึง 14 ชม.ในฤดูร้อน และช่วงอุณภูมิ 20-26 องศาเซลเซียส

การวางไข่ในบ่อโดยทั่วไปเริ่มเมื่อมีแสงวันละ 13-14 ชม.ต่อวันที่อุณหภูมิ 25.5-27 องศาเซลเซียส ปลาเริ่มวางไข่ในเวลาไม่กี่เดือนถ้ามีการควบคุมสภาพแวดล้อม วิธีการนี้นำปลาเข้ามาใหม่เพื่อให้วางไข่ตามธรรมชาติโดยขยายเวลาออกไปได้นานขึ้นโดยวางไข่ได้ 9 เดือนใน 1 ปี

งานวิจัยในสหรัฐฯ มีการใช้ฮอร์โมนในปลาช่อนทะเลที่จับได้จากธรรมชาติระหว่างฤดูวางไข่เพื่อผลิตไข่ใช้ HCG 275 IU / กก. ฉีดเข้าไปในอาหารเม็ดอย่างช้า ๆ และนำไปใส่ในปลาแซลมอน ส่วนGnRHa ฝังเข้าไปในตัวปลาทำให้ปลาวางไข่ได้ ทั้ง 2 วิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แต่ผลที่ได้เหมือนกันและสม่ำเสมอ ผลผลิตไข่และลูกปลาที่ได้มีคุณภาพสูงสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงและงานวิจัย

ไข่ปลาช่อนทะเลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 - 1.4 มม. มีเม็ดสีจำนวนมากและฟักออกเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 27 – 29 องศาเซลเซียส ไข่ที่ได้รับผสมจะลอยน้ำและสามารถรวบรวมได้ง่ายในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้ถุงผ้าขนาดตา 800 ไมครอน หลังจากรวบรวมนับจำนวนไข่ (ประมาณ 420 ฟอง/มล.) โดยปริมาตรใช้กระบอกตวงแยกไข่ดีและไข่เสียโดยดูจากการลอยน้ำและจมน้ำของไข่ นำไข่ใส่ในถังเลี้ยงโดยใช้ความหนาแน่น 5 -10 ฟองต่อลิตร แม้ว่าการวิจัยในส่วนนี้เพิ่งเริ่มต้นแต่จุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อบ่อสูงที่สุด

งานวิจัยในสหรัฐ ฯ และไต้หวัน ยังมีความยุ่งยากอยู่ในการเลี้ยงลูกปลาช่อนทะเลวัยอ่อนในความหนาแน่นสูงและมีผลผลิตจากบ่อที่เป็นตัวอย่างใส่ลูกปลาความหนาแน่น 1 ตัวต่อลิตร (2.75 นิ้ว, 7 ซม., 1 กรัม) ที่อายุ 40 วันหลังการฟักเป็นตัว อาหารของลูกปลาในบ่อใช้โรติเฟอร์ที่เสริมน้ำมันความหนาแน่น 3-5 ตัวต่อ มล. โดยเริ่มให้ในวันที่ 3 หลังการฟักเป็นตัวและให้ในปริมาณที่คงที่อย่างน้อยที่สุด 4 วันและเตรียมอาร์ทีเมียที่เสริมน้ำมันเพื่อเป็นอาหารจากจุดนี้จนกระทั่งเลิกใช้อาร์ทีเมีย (โดยทั่วไป 25-30 วัน) หลังจากนั้นให้กินอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปลอยน้ำลูกปลาวัยรุ่นบางตัวที่เลี้ยงในระบบหมุนเวียนน้ำแบบเป็นร่องน้ำมีขนาดถึง 4 กก.ในเวลา 1.5 ปี

ระดับของปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำควรรักษาไว้ให้คงที่ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ปลาช่อนทะเลแสดงอาการเครียดเมื่อออกซิเจนต่ำกว่า 5 มก.ต่อลิตร ปลาช่อนทะเลต้องการน้ำอุ่นสำหรับการเติบโตที่เหมาะสมที่อุณหภูมิ 26 องศาเซนเซียส อุณหภูมิของน้ำภายนอกเป็นตัวตัดสินใจในการเลือกสถานที่ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือกระชัง มีรายงานที่แตกต่างกันของไต้หวันเกี่ยวกับความต้องการโปรตีนและไขมัน ความหนาแน่นในการเลี้ยง ความทนทานของลูกปลาวัยรุ่นต่อความเค็ม ทั้งหมดนี้เพิ่งเริ่มทำในสหรัฐฯ หวังว่าการผลิตปลาช่อนทะเลให้ได้ปริมาณมากจะเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต

มีอีกอย่างหนึ่งของวิกฤตที่มีผลต่อปลาช่อนคือ การขนส่งลูกปลาวัยรุ่น ระดับของปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความหนาแน่นในการขนส่งทางเรือ และความเครียดจากการจับด้วยมือ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรควบคุมทั้งผู้ขนส่งและผู้รับ การผลิตลูกปลาช่อนทะเลเพื่อการค้าในสหรัฐรายงานการบรรจุปลาที่ความหนาแน่น 10 กรัมของน้ำหนักปลาต่อน้ำ 1 ลิตรสำหรับรถขนส่งปลาที่มีชีวิต (น้อยกว่า 24 ชม.) และ 4-5 กรัมของน้ำหนักปลาต่อน้ำ 1 ลิตรเมื่อขนส่งทางอากาศไปต่างประเทศ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย