ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ทัศนศิลป์

จิตรกรรม
ศิลปะตะวันตก
ศิลปะตะวันออก

ศิลปะตะวันออก

ศิลปะอินเดีย

        ศิลปะอินเดียมีความสำคัญมากเพราะเป็นแม่บทของศิลปะตะวันออกทั้งหมดการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ตะวันออกจำเป็นต้องเริ่มจากความเข้าใจในลักษณะวัฒนธรรม ความคิดตามแบบของอินเดียก่อน สิ่งต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่สุดที่ผู้ศึกษาต้องทำความเข้าใจคือ

  1. ศิลปะอินเดีย มีรากฐานที่ไม่ใช่มาจากศาสนาเดียว แต่ประมาณ 3-4 ศาสนา คือ ฮินดูพุทธ เชน และอิสลาม ศิลปะที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาถ้าจะถือเป็นแบบแผนศิลปะคนละอันก็ได้ แต่ส่วนที่คล้ายกันก็มี
  2. การแบ่งวิชาการต่างๆออกเป็นศาสนาศิลปะและปรัชญานั้น Dietze Suzuki ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาวัฒนธรรมตะวันออก กล่าวว่า การมองแบบนี้เป็นวิธีการมองแบบตะวันตกถ้าจะศึกษาให้มองแบบตะวันออกคือ
    -คำว่าศาสนา เป็นคำที่มาจากแนวคิดตะวันตกส่วนตะวันออกจะถือว่า ลัทธิ ประกอบไปด้วยศาสดา คำสอน สาวก และนอกจากนั้นลัทธิต่างๆเช่นฮินดู หรือ พุทธจะประกอบไปด้วย
    -แบบแผนและวิธีการสร้างรูปเคารพและออกแบบอาคารตะวัน ออก (ส่วนนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ศิลปะ) เพื่อเสริมสร้างศรัทธา ก่อให้เกิดความน่าเลื่อมใส
    -วิธีเขียนอธิบายขยายความให้คำสอนน่าอ่านพิสดารน่าศรัทธา(ส่วนนี้ชาวตะวันตกเรียกว่า ปรัชญา)
    -พิธีกรรม การปฏิบัติ การจัดให้มีเทศกาล การเฉลิมฉลองเพื่อ ให้คนเข้ามารับรู้เลื่อมใสในลัทธิ ข้อปฏิบัติตรงนี้ตรงกับคำว่า พิธี กรรมจากมุมมองนี้แม้เราจะยังใช้3ษาที่มาจากมุมมองของชาว ตะวันตกจะเห็นได้ว่าศิลปะอินเดีย ตามแบบแผนของแต่ละศาสนาจะมีข้อกำหนดต่างๆตามแนวทางของศาสนาจะมีข้อกำหนดต่างๆตามแนวทางของศาสนานั้นๆ

ศิลปะจีน

ภาพวาดตามที่ฝังศพตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษพุทธศาสนานิกายมหาญาณนั้น เริ่มต้นมาจากอินเดียก็จริงแต่มางอกงามในจีน อิทธิพลสำคัญของพุทธศิลปะจากอินเดียที่ส่งผลต่อศิลปะจีน ปรากฏในรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้

  1. ศิลปะจากถ้ำอจันตะ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมพุทธประวัติ ตัวอย่างศิลปะถ้ำของจีนเช่น ถ้ำตันฮวง
  2. จีนก็เริ่มสร้างเอกลักษณ์ในศิลปของตนไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่องนิทานปรัมปราแบบมหาญาณที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า 84000 พระองค์ในสากลจักรวาล พระโพธิสัตว์ที่อยู่ในวัฎสงสาร ลักษณะเค้าหน้าของภาพพระพุทธเจ้า เทพต่างๆรวมทั้งเครื่องแต่งกายแบบจีนได้เกิดขึ้น
  3. สถาปัตยกรรมจีนที่ใช้หลังคาซ้อน (Double roof) ซึ่งหมายถึง หลังคาที่แยกส่วนที่เป็นหลังคาแท้มีหน้าจั่วแยกจากส่วนที่เป็นปีกกันสาด มณฑลยูนาน มีการสร้างสถูปที่ใกล้เคียงกับต้นแบบจากอินเดียเป็นที่น่าสังเกตว่าศาสนาพราหมณ์ ฮินดูมิได้เข้ามาในจีน แต่อิทธิพลทางอ้อมมีปรากฏอยู่ในรูปของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ต่างๆ เช่น ท่าทรงตัว การมีหลายพระกรคล้ายพระนารายณ์

ภาพเขียนทิวทัศน์และลัทธิเต๋า

ลัทธิเต๋าก็กำเนิดในดินแดนจีนแท้ เป็นการคิด พัฒนา เป็นต้นตอภูมิปัญญาของจีน เล่าจื้อ เม่งจื้อและขงจื้อได้ถ่ายทอดแนวคิด ปรัชญา ข้อปฏิบัติทางสังคมของลัทธินี้สู่ชาวจีน เนื่องจากข้อความส่วนหนึ่งในคัมภีร์ เต๋า เต้ชิง กล่าวว่าเต่าที่แท้จริงไม่อาจอธิบายเป็นคำพูดหรือมองเห็นเป็นตัวตนได้ จึงเขียนภาพทิวทัศน์ที่มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ภาพทิวทัศน์ของจีนไม่มีการกำหนดระดับตาและมุมมองที่แน่นอน
  2. การใช้ช่องว่างเป็นแบบเปิด สายหมอกที่เชื่อมต่อกัน ระหว่างยอดเขาและพุ่มไม้เป็นวิธีการที่จิตรกรจีนจะสื่อความคิดเรื่องเต๋าอำนาจที่แทรกอยู่ในสรรพสิ่งต่างๆ
  3. ห้ามเขียนภาพแสดงความดุร้ายของธรรมชาติ เช่นท้องฟ้ามีพายุหรือพื้นน้ำมีคลื่นศิลปะอื่นๆ เช่นการจัดสวน ภาพประกอบวรรณคดีกิจกรรมที่ถือเป็นสิ่งที่ผู้ทรงภูมิปัญญา เป็นนักปราชญ์ ทำกันมีสี่อย่างคือ จิตรกรรม การเขียนปรัชญาและบทกวี ภาพเขียนมีภาพเหตุการณ์ชีวิตประจำวัน จากประวัติศาสตร์ ภาพฮ่องเต้และขุนนาง หรือทำภาพพิมพ์บล็อกไม้เป็นภาพประกอบเรื่องในวรรณคดีก็มี ศิลปะในการออกแบบสวน ทำสระน้ำ คลองปลูกต้นไม้และทำเขาหินเทียม สร้างทุกสิ่งให้กลมกลืนกันราวกับว่า สวนนั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มิได้มีมนุษย์ออกแบบ สุนทรียในสวนจีน คือ การกำหนดทางเดินและจุดที่ผู้ชมจะมองผ่านหน้าต่างหรือและเห็นส่วนที่สวยงามของสวน จากจุดและมุมมองที่ผู้ออกแบบกำหนดไว้ หลักสุนทรียศาสตร์ของจีนโบราณคือการนำก้อนหินที่มีรูปร่างแปลกประหลาดจากการถูกน้ำเซาะ หรือจากสาเหตุอื่นมาตั้งไว้บนแท่นให้คนชมกิจกรรมนี้คล้ายกับการตั้งแสดงประติมากรรมนามธรรม แต่จีนเริ่มกิจกรรมนี้ก่อนตะวันตกหลายศตวรรษ

ศิลปะญี่ปุ่น

วัฒนธรรมญี่ป่นจัดอยู่ในประเภทของวัฒนธรรมที่รับสิ่งต่างๆมาจากวัฒนธรรมอื่นวัฒนธรรมแบบนี้เรียกว่า วัฒนธรรมแสงจันทร์ (Moon Shine culture) เพราะดวงจันทร์ไม่ได้มีแสงของตัวเองจริง เอกลักษณะญี่ปุ่น คือ คนญี่ปุ่นรุ่นเก่า สอนลูกหลานว่า “ ชาวจีนเป็นครูของเรา” แต่ศิลปะญี่ปุ่นยุคต่อมาเริ่มสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่นแนวคิดในเรื่องความกลมกลืนกับธรรมชาติและความเรียบง่าย ตัวอย่างในงานศิลปะ คือ

  1. พระโพธิสัตว์หน้าดุ สงครามกลางเมือง ทำให้ค่านิยมของการนิยมผู้เข้มแข็ง ภาพพจน์ของพระโพธิสัตว์ ในลักษณะที่มัดทะแมง แข็งกร้าวจึงเกิดขึ้น
  2. ทิวทัศน์ ภาพที่เขียนบนกระดาษฟางหรือผ้าไหมเป็นภูเขาในสายหมอกนับเป็นมรดกมาจากจีนแต่ข้อห้ามบางประการเช่นภาพความดุร้ายของธรรมชาติ พายุฝนและทะเลที่มีคลื่นเป็นประสบการณ์ที่ชาวญี่ปุ่นนำมาแสดงออกเพราะเป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับชีวิตของเขา แต่คนจีนไม่กล้าทำเพราะเคารพกฎเกณฑ์โบราณจากลัทธิเต๋า
  3. ภาพพิมพ์ มีชื่อเสียงมากสามารถสร้างอิทธิพลทางศิลปะแก่ศิลปินตะวันตก โดยชาวตะวันตกถือเป็นสิ่งที่แปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  4. ศิลปะเซน ลัทธิเซนนี้มาจากจีนแต่ไปงอกงามในญี่ปุ่น สุนทรียแบบเซนอยู่ที่จิตอันแน่วแน่ของศิลปินที่จะจดแปรงแล้วเขียนอย่างเฉียบพลันทันที ตัวอย่างเช่นภาพท้อหกผล ของหลวงจีนมองกี่(มูชิ) เอกลักษณ์ขององค์ประกอบศิลปะในศิลปะเซ็นต่างจากของตะวันตกมาก เพราะเป็นสมดุลที่สร้างจากมวลกลุ่มเดียวที่วางไว้ไม่อยู่กลางภาพแต่สวนหินนับเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นคือสวนแบบนี้ประกอบด้วยหินหรือกรวดเม็ดเล็กๆ โรยแล้วเกลี่ยจนเป็นรูปแนวคลื่นแล้วมีหินก้อนใหญ่กว่าซึ่ง หมายถึงเกาะ โผลึ้นมาระหว่างพื้นน้ำเป็นแห่งๆ รูปแบบศิลปะนี้จะดูเป็นประติมากรรมที่มีเนื้อหาเป็นภาพทิวทัศน์ก็ได้ หรือจะดูเป็นการจัดสวนก็ได้
  5. คาบูกิและโนะ เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของญี่ปุ่น สำหรับอย่างหลัง โนะ มีลักษณะคล้ายโขนไทย ญี่ปุ่นรับอิทธิพลทางศิลปะหลายอย่างจากจีน แต่อิทธิพลทางอ้อมหลายอย่างมาจากอินเดียเจดีย์ไม้ของญี่ปุ่นต่างจากสถูปของอินเดียมากแต่ซุ้มประตู ทอรายก็คือ โทรานะของอินเดียนั่นเอง

ศิลปะขอม

สถาปัตยกรรมขอมเป็นการรับเอาแบบของเทวาลัยของฮินดู ได้นำมาแปรรูปอย่างมากมายเช่นการมีปรางหลายองค์ ปรางแบบนครวัดมีพระพักตร์ขององค์เทพ กลายเป็นเอกลักษณ์ในศิลปะขอม นางอัปสรที่มีใบหน้ากว้าง ขากรรไกรสะท้อนลักษณะคนพื้นเมือง นักสุนทรียศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่า “ปราสาทหินในอารยะธรรมขอมมีความงามบนความแข็งกระด้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย