วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.

วงศ์ GRAMINAE, POACEAE

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ข้าวสาลีมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลางเมื่อประมาณ 7,500-6,500 ปีก่อนคริสตศักราช ข้าวสาลีเป็นพืชปลูกของกรีกโบราณ เปอร์เชีย อียิปต์ และทั่วทั้งทวีปยุโรป ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานว่าข้าวสาลีได้มีการปลูกอย่างแพร่หลายในที่ราบบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันตก และยุโรปตะวันตก ตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตศักราช และมีการบันทึกว่าข้าวสาลีเป็นพืชที่มีความสำคัญในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งได้มีการแพร่หลายไปยังประเทศจีนเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตศักราช ในปี ค.ศ. 1529 ชาวสเปนได้นำพันธุ์ข้าวสาลีไปปลูกในดินแดนที่ค้นพบใหม่ และในปี ค.ศ. 1664 ได้มีการนำข้าวสาลีไปปลูกในประเทศฟิลิปปินส์

ข้าวสาลีเป็นธัญพืชที่มีการปรับตัวได้ดีที่สุด สามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่พื้นที่ราบระดับน้ำทะเล จนถึงระดับความสูง 4,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่บริเวณภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตรจนกระทั่งถึงบริเวณเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล(The Arctic Circle) ข้าวสาลีเป็นธัญพืชที่มีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีการปลูกเพื่อบริโภคอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาเป็นเวลานาน (van Ginkel and Villarel, 1996 ; Wickens, 2001)

ประเทศที่มีพื้นที่ปลูกข้าวสาลีมากที่สุดในโลกคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน รองลงมาคือ อินเดียและสหรัฐอเมริกา ส่วนเนเธอร์แลนด์สามารถผลิตข้าวสาลีให้ผลผลิตสูงสุด คือ 1,200-1,400 กิโลกรัมต่อไร่

 

ประเทศที่มีความต้องการข้าวสาลีมากคือ อดีตประเทศสหภาพโซเวียต กลุ่มประเทศยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน ในประเทศไทยมีการปลูกข้าวสาลีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ และมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีความต้องการข้าวสาลีในปริมาณที่มากกว่าที่ผลิตได้ จึงมีการนำเข้าข้าวสาลี ทั้งในรูปของข้าวสาลี แป้งข้าวสาลี และข้าวสาลีบด (อัจฉรา และคณะ, 2540) ในประเทศไทยพบหลักฐานว่ามีการนำแป้งข้าวสาลีมาจากประเทศอินเดียตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และมีการนำมาปลูกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2477 ที่โรงเรียนกสิกรรม จังหวัดแพร่ ในช่วงฤดูหนาวจำนวน 4 สายพันธุ์ และต่อมามีการทดลองปลูกในเขตอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง รวมทั้งในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา (คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา, 2542)


ภาพที่ 4.47 ข้าวสาลีสามารถปลูกได้ทางภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (สุรชัย, 2535)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกข้าวสาลี
การใช้ประโยชน์
คุณค่าทางอาหาร
การขยายพันธุ์
นิเวศวิทยา
การเก็บเกี่ยว-การส่งออก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย