วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.

วงศ์ GRAMINAE, POACEAE

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลางมานานกว่า 7,000 ปี ก่อนคริสตศักราช โดยเคยเป็นธัญพืชที่มีปริมาณมากและมีราคาถูกที่สุดในยุคโบราณของแถบนั้น ข้าวบาร์เลย์มีการแพร่กระจายในเขตโลกเก่าระหว่าง 5,000-2,000 ปี ก่อนคริสตศักราช แพร่มายังประเทศอินเดียเมื่อ 3,000 ปี ก่อนคริสตศักราช และมายังประเทศจีนเมื่อ 2,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ในยุคล่าอาณานิคมมีการนำข้าวบาร์เลย์มาปลูกในโลกใหม่โดยโคลัมบัส ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่สามารถปลูกได้แพร่หลายในสภาพแวดล้อมต่างๆ กัน ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 70 องศาเหนือ ในประเทศนอร์เวย์ จนถึงเส้นรุ้งที่ 44 องศาใต้ในประเทศนิวซีแลนด์

ในประเทศทิเบต เอธิโอเปีย และแถบเทือกเขาแอนดีสมีการปลูกข้าวบาร์เลย์บนพื้นที่ลาดชันของภูเขา ในหลายพื้นที่ของทวีปแอฟริกาตอนเหนือ อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อีริเทรีย และเยเมน มีการปลูกข้าวบาร์เลย์เฉพาะในช่วงฤดูฝน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการปลูกข้าวบาร์เลย์ในบริเวณตอนกลางของประเทศพม่า อินโดนีเซีย และไทย ในพื้นที่ซึ่งเป็นภูเขาหรือพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลมาก (Ceccarelli and Grando, 1996)

ในประเทศไทยมีการปลูกข้าวบาร์เลย์โดยการสนับสนุนของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี จำกัด เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเบียร์ในเขตพื้นที่ของจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน ลำพูนและพะเยา (อัจฉรา และคณะ, 2540; บุญล้อม, 2546)


ภาพแปลงปลูกข้าวบาร์เลย์
ทางภาคเหนือของประเทศไทย (สุรชัย, 2535)


ภาพรวงข้าวบาร์เลย์
 (สุรชัย, 2535)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์
นิเวศวิทยา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย