วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

ธัญพืช
(Cereals)

ข้าว (Rice) Oryza sativa L.
ข้าวโพด (corn, maize) Zea mays L.
ข้าวฟ่าง (Sorghum) Sorghum bciolor (L.) Moench
ข้าวสาลี (Wheat) Tritcum aestivum Linn.
ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.
ข้าวไรน์ (Rye) Secale cereale L.
เอกสารอ้างอิง

ข้าวบาร์เลย์ (Barley) Hordeum vulgare L.

การจำแนกสายพันธุ์

การจำแนกสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์มีหลักในเกณฑ์ในการจำแนกหลายแบบดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะของช่อดอก ข้าวบาร์เลย์จำนวนหลายร้อยสายพันธุ์ถูกจำแนกออกเป็นกลุ่มสายพันธุ์ 3 กลุ่มดังนี้ (Ceccarelli and Grando, 1996)

  • กลุ่มสายพันธุ์ วุลกาเร (cv. group Vulgare) มีดอกย่อยเรียงกัน 6 แถว ในช่อดอก แกนกลางช่อดอกเหนียว
  • กลุ่มสายพันธุ์ ดิสทิชอน (cv. group Distichon) มีดอกย่อยเรียงกัน 2 แถว
  • กลุ่มสายพันธุ์ เออร์เรกูลาเร (cv. group Irregulare) มีช่อดอก ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่าง แบบที่มีดอกย่อยเรียงกัน 6 แถว และ 2 แถว ผสมกัน

2. จำแนกตามความต้องการสภาพอากาศเย็นที่กระตุ้นให้มีการออกดอก (Vernalization)
(กฤษฎา, 2537; Ceccarelli and Grando, 1996) โดยแบ่งเป็น

  • วินเตอร์บาร์เลย์ (winter barley) เป็นข้าวบาร์เลย์ที่ต้องการอากาศหนาวจัดต่ำกว่าจุด เยือกแข็งในระยะที่เป็นต้นกล้า เพื่อให้อุณหภูมิต่ำกระตุ้นการสร้างตาดอก
  • สปริงบาร์เลย์ (spring barley) เป็นข้าวบาร์เลย์ที่เจริญเติบโตในช่วงอากาศอบอุ่น ไม่ จำเป็นต้องมีอุณหภูมิต่ำมาช่วยกระตุ้นการออกดอก

3. จำแนกโดยอาศัยลักษณะของเปลือกหุ้มเมล็ด ดังนี้

  • ข้าวบาร์เลย์ชนิดเปลือกล่อน (naked barley) เมื่อนวดหรือกะเทาะเมล็ด ส่วนของเปลือก จะหลุดล่อนออกมา
  • ข้าวบาร์เลย์ชนิดเปลือกหุ้ม (hulled barley) เมื่อนวดหรือกะเทาะเมล็ด ส่วนของเปลือก บางส่วนหรือทั้งหมดยังคงติดอยู่กับเมล็ด

4. จำแนกตามการใช้ประโยชน์ (งามชื่น, 2528; ดิเรก, 2540) ดังนี้

  1. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ (barley) นิยมใช้ข้าวบาร์เลย์ที่มีดอกย่อยหรือเมล็ดเรียงกัน 2 แถว เมล็ดมีขนาดใหญ่
  2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ (feed barley) นิยมใช้ทุกส่วนของลำต้นเป็นอาหารจำพวกหญ้าสด
  3. ใช้ทำข้าวมอลท์ (malt barley) นิยมใช้ทั้งที่มีดอกย่อยหรือเมล็ดเรียงกัน 2 แถว หรือ 6 แถว ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศ

พันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่ปลูกในประเทศไทยคือ พันธุ์สะเมิง 1 และ สะเมิง 2 รวมทั้งพันธุ์ บรบ 1 และบรบ 2 ที่ถูกพัฒนาพันธุ์จากบริษัทบุญรอดบริวเวอรี จำกัด (บุญล้อม, 2546)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกสายพันธุ์
การใช้ประโยชน์
นิเวศวิทยา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย