สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดความรู้ของมนุษย์

พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)
ยุคฟรานซิส เบคอน
ยุคปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

ยุคอริสโตเติล อริสโตเติล (Aristotle)

ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาตรรกศาสตร์ เป็นผู้ค้นคิดวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยอาศัยหลักของเหตุผล ซึ่งเรียกว่า Syllogistic Reasoning หรือวิธีอนุมาน (Deductive reasoning) ซึ่งเป็นการคิดหาเหตุผลโดยการนำเอาสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติมาอ้างองค์ ประกอบหรือขั้นตอนของการหาความรู้โดยวิธีนี้มี 3 ประการคือ

  1. เหตุใหญ่ (Major premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้น
  2. เหตุย่อย (Minor premise) เป็นเหตุเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง
  3. ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการลงสรุปจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริง ย่อย แบบของการหาเหตุผล (Syllogism) ของอริสโตเติลมี 4 แบบดังนี้

การหาเหตุผลเฉพาะกลุ่ม (Categoricle syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่สามารถลงสรุปในตัวเองได้
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย
เห็นย่อย : นายอาคมเกิดมาเป็นคน
ข้อสรุป : นายอาคมจะต้องตาย

การหาเหตุผลตามสมมติฐาน (Hypothetical syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ขึ้น มักจะมีคำว่า “ถ้า...(อย่างนั้น อย่างนี้)...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น...” (If…then…) การหาเหตุผลชนิดนี้ผลสรุปจะเป็นจริงหรือไม่แล้วแต่สภาพการณ์ เพียงแต่เป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์เท่านั้น
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ถ้าโรงเรียนถูกไฟไหม้นักเรียนจะเป็นอันตราย
เห็นย่อย : โรงเรียนถูกไฟไหม้
ข้อสรุป : นักเรียนเป็นอันตราย



การหาเหตุผลที่มีทางเลือกให้ (Alternative syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ที่เป็นทางเลือก ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง (Either…or) หรืออยู่ในรูปที่เป็น “อาจจะ” อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : ฉันอาจจะได้นาฬิกาหรือปากกาเป็นรางวัล
เห็นย่อย : ฉันไม่ได้นาฬิกาเป็นรางวัล
ข้อสรุป : ฉันได้ปากกาเป็นรางวัล

การหาเหตุผลที่ต่างออกไป (Disjunctive syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่อาศัยการเชื่อมโยงกัน โดยที่เหตุย่อยเป็นตัวบอกกรณีบางส่วนในเหตุใหญ่
ตัวอย่าง เหตุใหญ่ : การที่ฝนไม่ตกและตก ไม่เป็นกรณีที่จะงดขบวนแห่นอกห้องเรียน
เห็นย่อย : วันนี้ฝนตก
ข้อสรุป : วันนี้ไม่เป็นการดีที่จะจัดให้มีขบวนแห่นอกห้องเรียน

การหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติล ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ว่ามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องบางประการ เช่น

  1. การหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติล ไม่ช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ เพราะผลสรุปที่ได้นั้นจำกัดอยู่ในขอบเขตของเหตุใหญ่นั่นเอง
  2. การหาเหตุผลโดยวิธีของอริสโตเติลนั้น ข้อสรุปจะมีความเที่ยงตรงเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของข้อเท็จ จริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย ถ้าข้อเท็จจริงทั้งสองนี้ขาดความเที่ยงตรง ก็อาจทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรงได้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย