ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist theory)

ความหมายของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
รูปแบบของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (types of constructivism)
กลไกการพัฒนาทางปัญญา (Mechanism of Cognitive development)
การออกแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการสอนใน CLEs
การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิด (open-ended Environment)
ฐานการช่วยเหลือสำหรับการกล่าวออกมาและการสะท้อนผล
เครื่องมือกระบวนการ (Processing Tool)

เครื่องมือกระบวนการ (Processing Tool)

ได้แก่

  1. เครื่องมือการค้นหา (seeking Tool) ช่วยสนับสนุนการสืบเสาะ และ การเลือกสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
  2. เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวม (collecting Tool) ให้ผู้เรียนรวบรวมแหล่งหรือส่วนของแหล่งต่าง ๆ ตามเป้าประสงค์ของตนเอง เครื่องมือประเภทนี้จะสนับสนุน โดยช่วยเหลือในด้านการเก็บสะสม รวบรวมสารสนเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งสามารถช่วยเหลือให้เข้าถึงได้ง่าย
  3. เครื่องมือการจัดหมวดหมู่ (Organization Tool) ช่วยผู้เรียนในการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดต่าง ๆ
  4. เครื่องมือการบูรณาการ (Integrating Tool) ช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยง ข้อมูลใหม่ กับความรู้ที่มีมาก่อน
  5. เครื่องมือการสร้าง (Generation Tool) กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างบางสิ่งบางอย่าง ขึ้นมา เช่น LOGO ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ง่ายเพื่อพัฒนาการออกแบบ

เครื่องมือที่ใช้จัดกระทำ (Manipulation Tool)
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทดสอบความตรง (Validity) หรือสำรวจพลังของการอธิบายเกี่ยวกับความเชื่อ เพื่อที่จะส่งเสริมการปรับโครงสร้างของรูปแบบที่ใช้ทำความเข้าใจ

เครื่องมือสื่อสาร (Communication Tool)
เป็นเครื่องมือสื่อสารที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความพยายามในการคิดริเริ่มหรือ แลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน ครู และ ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญของอินเทอร์เน็ต

 

ฐานการช่วยเหลือ (Scaffolding)

เป็นกระบวนการซึ่งความพยายามในการเรียนรู้จะได้รับการสนับสนุนในขณะที่เข้าสู่ OLEs ฐานความช่วยเหลือสามารถที่จะแยกความแตกต่างโดยกลไกการทำงาน และระบบการทำงานทางด้านกลไก จะเน้นวิธีการหรือหลักการ ซึ่งฐานความช่วยเหลือนำเสนอในขณะที่ระบบการทำงานจะเน้นวัตถุประสงค์ รูปแบบของฐานความช่วยเหลือ มีดังนี้

ฐานความช่วยเหลือการสร้างความคิดรวบยอด (Conceptual Scaffolding)
จะถูกจัดเตรียมมาให้ผู้เรียน เมื่อปัญหาที่กำลังศึกษาได้ถูกกำหนดขึ้น นั่นก็คือ Externally Impose หรือการนำเข้าสู่บริบท เมื่อปัญหาและขอบข่ายถูกกำหนดขึ้นนั้น อาจเป็นไปได้ที่ต้องใช้หลักการที่ต้องเรียนรู้มาก่อนเป็นสิ่งจำเป็นในขอบข่ายเนื้อหาที่ต้องการศึกษา การเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในหลักการทางวิทยาศาสตร์ conceptual scaffolding จะแนะแนวผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณา นั่นคือ สิ่งที่จะต้องจำแนกความรู้ที่เป็นความคิดรวบยอดทีสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือ การสร้างโครงสร้างที่จะทำโดยจำแนกไปสู่การจัดหมวดหมู่ของความคิดรวบยอด

ฐานความช่วยเหลือเกี่ยวกับการคิด (Metacognitive Scaffolding)
เป็นฐานการ ช่วยเหลือที่สนับสนุนเกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ของแต่ละคน ฐานนี้จะจัดการแนะแนวเกี่ยวกับวิธีการคิดในระหว่างการเรียนรู้ metacognitive scaffolding อาจเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสะท้อนเป้าหมาย หรือเชื่อมโยงไปสู่แหล่งทรัพยากรที่มีเครื่องมือช่วยเมื่อได้ทราบบริบท จัดกระทำกับปัญหา หรือ ความจำเป็นในการปฏิบัติของปัญหา

ฐานความช่วยเหลือกระบวนการ (Procedural Scaffolding)
เป็นวิธีการใช้แหล่งทรัพยากรที่มี และ เครื่องมือ จะเกี่ยวข้องกับลักษณะของระบบและการทำงาน นอกจากนี้ยังช่วยแนะนำผู้เรียนในขณะเรียนรู้

ฐานความช่วยเหลือด้านกลยุทธ์ (Strategic Scaffolding)
เป็นวิธีการทีเน้นเกี่ยวกับวิธีการที่อาจจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ Strategic Scaffolding จะสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การตัดสินใจระหว่างการเรียนรู้แบบเปิด จะเน้นเกี่ยวกับวิธีการสำหรับระบุและเลือกสารสนเทศที่ต้องการประเมินแหล่งทรัพยากรที่จัดหาได้ และเชื่อมความเกี่ยวพันระหว่างความรู้ที่มีมาก่อน

อ้างอิง

  • Peter dean.(1999) Learning in Open-ended Environments: Tools and Technologies f or the Next Millennium. Retrieved march 27,2007. from http://it.coe.uga.edu/itforum/paper34/paper34.html
  • Hannafin, M.J., Hall, C., Land, S., & Hill, J. (1994). Learning in open environments: Assumptions, methods, and implications. Educational Technology, 34(8), 48-55.
  • Yu-chang. ID Knowledge Base. Retrieved march 27,200. from 7http://edtechpro.com/idk/oletheo.html
  • Hannafin, M., Land, S., & Oliver,K. (1999). Open learning environments: Foundations, methods, and models. In C. M. Reigeluth (Ed.), Instructional-design theories and models, Volume II: A new paradigm of instructional theory (pp. 115-140). Mahwah, NJ
  • Learning styles and CAE. Retrieved march 26,2007. from http://hagar.up.ac.za/catts/learner/lindavr/home.htm
  • Jonassen, D. (1999). Learning with Technology: A Constructivist Perspective. Toronto: Prentice-Hall.
  • Spiro, R.J., Feltovich, P. J., Jacobson, M.I., & Coulson, R. L. (1991). Random access instruction for advanced knowledge acquisition in ill-structured domains. Retrieved February 2,2002, from http://www.ilt.columbia.edu/ilt/papers/Spiro.html
  • Jonassen, D. (1998). Designing case-based constructivist learning environments. In C. M. Reigeluth (Ed.). Instructional Design Theories and Models, 2. Mahwah, NJ: Lawrence Ealbaum Associates.
  • Suchman, L. (1987). Plans and Situated Actions. New York: Cambridge University Press
  • Strommen, E., & Lincoln, B. (1992). Constructivism, technology, and the future of classroom learning. Retrieved February 22, 2002, from http://www.ilt.columbia.edu/k12/livetext/docs/construct.html

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย