วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>

เทคนิคทางอณูชีววิทยา

เทคนิคพื้นฐานทางอณูชีววิทยา
Electrophoresis
Paper electrophoresis และ Gel electrophoresis
การเคลื่อนย้าย DNA จากแผ่นวุ้นลงไปบนกระดาษ (DNA Blotting)
DNA Probe และ Hybridization
Restriction Endonuclease
การเพิ่มจำนวน DNA โดยวิธี PCR (Polymerase chain reaction)
เทคนิค DNA cloning
การเชื่อมต่อชิ้นส่วน DNA กับ cloning vector เพื่อให้ได้ recombinant DNA
การนำ recombinant DNA เข้าสู่ host cell (transformation)
การคัดเลือก clone ที่มี gene ที่ต้องการ
เทคนิคในการตรวจสอบ DNA (DNA identification)
เทคนิคในการหา DNA sequence
เทคนิคทางอณูชีววิทยาที่ให้ผลผลิตที่ใช้ในทางการแพทย์
หนังสืออ้างอิง

เทคนิคทางอณูชีววิทยาที่ให้ผลผลิตที่ใช้ในทางการแพทย์

การสังเคราะห์วัคซีน

ก่อนที่ความรู้ในเรื่องของเทคนิคทางอณูชีววิทยาจะแพร่หลาย เราสามารถผลิตวัคซีนได้จากเชื้อโรค ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อที่ตายแล้วหรือมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แต่วัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้ยังคงมีอันตรายในแง่ของการที่ต้องใช้ตัวเชื้อเอง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคขึ้นมาได้ แทนที่จะป้องกันโรค เพราะเหตุที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคได้เพราะเกิดปฏิกิริยากับโปรตีนที่ผิวของเชื้อโรค จึงเป็นไปได้ที่จะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเหมือนกับโปรตีนเหล่านี้ขึ้นเพื่อใช้แทนโปรตีนที่ผิงของเชื้อโรคจริงๆ เทคนิคทางอณูชีววิทยาสามารถนำมาใช้ผลิตโปรตีนเหล่านี้ได้ วัคซีนตัวแรกที่สามารถผลิตได้ประสบผลสำเร็จเป็นชนิดแรกโดยใช้วิธีนี้คือ hepatitis B vaccine หรือวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี

การสังเคราะห์โปรตีนที่ใช้ในการรักษาโรค

เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ในการสังเคราะห์โปรตีนที่นำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อการรักษาโรคได้ ตัวอย่างเช่น การสร้างฮอร์โมนอินสุลิน หรือฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโต (growth hormone) ฮอร์โมนตัวแรกที่ผลิตขึ้นใช้ได้ด้วยวิธีนี้คือ อินสุลิน การสังเคราะห์สามารถทำได้ในแบคทีเรีย E. coli เนื่องจากกรดอะมิโนที่ประกอบกันเป็นฮอร์โมนตัวนี้ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายหลังการสังเคราะห์ที่ซับซ้อนยุ่งยากอีก ฮอร์โมนที่ผลิตโดยวิธีนี้สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดีโดยไม่เกิดมีปฏิกิริยาภูมิแพ้เกิดขึ้น เนื่องจากใช้วิธีตัดต่อนำยีนที่สร้างฮอร์โมนตัวนี้ในคนไปใส่ในแบคทีเรีย ดังนั้นฮอร์โมนที่ E.coli สร้างได้จึงเป็นโปรตีนของคนที่สร้างโดยแบคทีเรียนั่นเอง growth hormone ก็สามารถผลิตได้ด้วยวิธีนี้เช่นเดียวกัน และสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ขาดฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโตอย่างได้ผลดี

 

การสังเคราะห์โปรตีนที่ซับซ้อนกว่านี้จะทำในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่าในเซลล์แบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น การสังเคราะห์ Factor VIII ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่ในการแข็งตัวของเลือด ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรค hemophilia ในอดีตการรักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยการให้ F VIII ที่สกัดมาจากเลือดของผู้บริจาค ทำให้มีอัตราตายเนื่องจากติดเชื้อเอดส์ หรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจากการรักษาสูงมาก เพราะเลือดของผู้บริจาคเลือดอาจมีเชื้อเหล่านี้อยู่ นอกจากนี้แล้ว โปรตีนพวก tissue plasminogen activator (tPA) และ hemopoietic growth factor เช่น erythropoietin สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้ด้วยวิธีของ recombinant DNA technology ได้ เป็นต้น

นอกจากการสร้างโปรตีนที่นำมาใช้ในการรักษาโรคโดยวิธีนี้แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมกันคือ วิธีการผลิตโปรตีนเหล่านี้โดยใช้ transgenic animals ซึ่งมีหลักการคือ นำยีนที่สร้างโปรตีนปกติของมนุษย์ใส่เข้าไปใน germ cell ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยนำยีนนี้ไปต่อไว้ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของยีน b-lactoglobulin promoter ซึ่งจะทำงานเมื่ออยู่ใน mammary cell เท่านั้น ลูกของสัตว์ที่มียีนของมนุษย์อยู่ด้วย จะผลิตน้ำนมซึ่งมีโปรตีนชนิดที่ผลิตโดยยีนของมนุษย์นั้นอยู่ด้วย เราสามารถนำน้ำนมจากสัตว์เหล่านี้มาแยกและสกัดโปรตีนของมนุษย์ที่ต้องการออกมาและนำไปใช้ต่อไป ตัวอย่างการผลิตโปรตีนโดยวิธีนี้ที่ได้ผลดีคือ การผลิต F XIII ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดเช่นกัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย