ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สรุปจิตวิทยา

      จิตวิทยา เป็นองค์ความรู้ที่มีแนวร่วมระหว่างศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ คือ เพื่ออธิบายหรือเข้าใจ ทำนาย และควบคุมพฤติกรรมของบุคคลและสังคม

1. แนวคิดจิตวิทยาในปัจจุบัน

• แนวคิดจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Approach) : ฟรอยด์
โดยพฤติกรรมเกิดจากสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ในอดีต และจิตใต้สำนึก (Uconscious mind)

• แนวคิดพฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach) : B.F.Skinner
โดยพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า S-R Approach (Stimulus-response) บุคคลจะเรียนรู้ใหม่ เมื่อได้รับการเสริมแรง (Reinforcement) ทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดีเมื่อมีการเสริมแรงทันที (Immediate reinforcement) นอกจากนี้การเสริมแรงที่เป็นแบบให้ๆ หยุดๆ (Intermittent reinforcement) จะทำให้พฤติกรรมนั้นๆ ยืดเยื้อออกไป
- การดัดพฤติกรรม (Shaping Behavior) คือการให้แรงเสริมเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้กลายเป็นที่พึงปรารถนา

• แนวคิดมนุษยนิยม (Humanistic Approach) : Abraham Maslow
-โดยเฉพาะปรัชญาของกลุ่ม Existentialism มองมนุษย์ในแง่ดีงาม มีธรรมชาติใฝ่ดี เป็นฐานแนวคิดของจิตบำบัด จิตวิทยาให้คำปรึกษา จิตวิทยาองค์การ จิตวิทยาคลินิก
-ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ 5 ขั้น

1) ความต้องการทางสรีรวิทยา (Physiological need)
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety need)
3) ความต้องการมีส่วนร่วมและความรัก (Belongingness and love)
4) ความต้องการมีศักดิ์ศรี (Esteem)
5) ความดี และสติปัญญา (Self-actualization)

• แนวคิดเชิงรู้คิด (Cognitive Approach) มีความคิดเห็นขัดแย้งกับนักคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม เนื่องจากกระบวนการทางจิตมีความซับซ้อนมากกว่า โดยการรู้คิด เป็นกระบวนการทางจิตด้านความรู้ ความจำ การประมวลข้อมูลข่าวสาร การแก้ไขปัญหา และการวางแผน

• แนวคิดด้านการประมวลข้อมูลข่าวสาร (Information Processing Model) หลักการประมวลข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลจะผ่านมาจากสิ่งแวดล้อมไปยังประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรับรู้ภายในสมอง ข้อมูลข่าวสารจะผ่านเข้าสู่หน่วยความจำระยะสั้น (Short term memory) ต่อมาข้อมูลจะถูกแปรรหัสจัดภาพ และทวนซ้ำไปมา กระบวนการดังกล่าวจะกระตุ้นและถูกนำเข้าสู่หน่วยความจำระยะยาว (Long term memory)



• แนวคิดเชิงประสาทและชีวภาพ (Neurobiological Approach) หลักการกระบวนการทางจิตทุกประเภทของมนุษย์มีศูนย์บัญชาการอยู่ที่สมอง และระบบประสาท

2. แนวคิดจิตวิทยาในอดีต

• ส่วนประกอบต่างๆ ของจิต (Structuralism) : Wilhelm Wundt : บิดาแห่งจิตวิทยา

วิธีการศึกษา ใช้วิธีการเพ่งพินิจภายใน (Introspection) คือการมองภายในตัวตน เฝ้าดู และสังเกตการณ์ทำงานของจิต และรายงานว่าจิตทำงานอย่างไร ต่อมาได้พัฒนามาเป็นแนวคิดเชิงรู้คิด (Cognitive Approach)

• การทำงานตามหน้าที่ของจิต (Functionalism) : William James : บิดากลุ่มชีวจิตวิทยาและเชิงรู้คิด สนใจศึกษาการทำงานตามหน้าที่ของจิต โดยการทำงานของจิตเป็นภาวะที่ไม่หยุดอยู่กับที่ และมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากระบวนทางจิตไม่สามารถแยกออกจากการทำงานของสมอง

• การรับรู้ของจิต (Gestalt Approach) : Max Wertheimer, Wolfgang Kohler, Kurt Koffka
- แนวคิดนี้สนใจว่ามนุษย์รับรู้อะไรมากกว่าความเป็นจริงของสิ่งที่เขารับรู้คืออะไร
- ภาวะที่เหมือนไฟฟ้าเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า Phi phenomenon

• พฤติกรรมนิยม (Behavioral Approach) : John B. Watson
- เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน
- วิธีการศึกษา Objective Study ขยายแนวคิดจนเป็น Behavioral Approach สมัยใหม่

พื้นฐานทางชีววิทยากับพฤติกรรม
การเรียนรู้
การรับรู้
แรงจูงใจ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย