ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

        ก่อน พ.ศ. 500 เข้ามาสู่ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ หรือแหลมอินโดจีน(อินเดีย+จีน) ประเทศไทยมีเนื้อที่อยู่กลางของแหลมสุวรรณภูมิพอดี เมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าเนื้อที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยปัจจุบันจมอยู่ในทะเล มีหลักฐานที่เราพิสูจน์ได้ คือ มีการขุดพบหอยทะเลต่าง ๆ บนเทือกเขาภูพาน ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางผิวโลก ทำให้แผ่นดินส่วนนี้ผุดขึ้นจากทะเล เท่าที่นักสำรวจได้ตรวจพบตามถ้ำต่าง ๆ แถวจังหวัดกาญจนบุรี คือมนุษย์สมัยหิน ซึ่งสันนิษฐานว่า จะมีชีวิตในราว 2 หมื่นปีมานี้ แต่มนุษย์พวกนี้ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อไรไม่ทราบได้ ทราบแต่ว่าเมื่อราว 2 พันกว่าปีมานี้ ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มนุษย์เผ่าละว้าได้ตั้งบ้านเรือนแบบง่าย ๆ ขึ้น ต่อมาชาวอินเดียเดินทางมาสอนอารยธรรมแก่พวกละว้า ชาวอินเดียบางเหล่าก็ได้เดินทางมาปกครองชนเหล่านั้น

สำหรับชนชาติไทยปัจจุบัน ซึ่งอพยพลงมาทางตอนใต้ของจีนแต่แรกเกิดขึ้นนี้เชื่อกันว่า คงเริ่มนับถือพระพุทธศาสนามาแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 6 แล้ว คือแต่ครั้งที่อยู่อาณาจักรอ้ายลาว มีขุนหลวงเมา(ลิวเมา) เป็นกษัตริย์ครองอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า พระจักรพรรดิมั่งตี่ของจีนโปรดให้แต่งทูตไปสืบศาสนาถึงในประเทศอินเดีย และคณะทูตชุดนี้ได้กลับมาสู่ราชสำนักจีน เมื่อ พ. ศ. 608 ซึ่งได้นำพระพุทธรูป พระธรรม และพระสงฆ์มา ถวายพระเจ้ากรุงจีนองค์นี้ด้วย พระเจ้ามั่งตี่ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ปฏิญาณพระองค์เป็นพุทธมามกะในโอกาสนั้นเอง

ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนาได้ย่างเข้าไปประดิษฐานในประเทศจีนแล้ว รัฐประศาสโนบายของจีน ซึ่งเคยมีจุดมุ่งหมายไปในทางแสนยานุภาพก็ได้เปลี่ยนมาเป็นธรรมานุภาพทันทีและในโอกาสนี้เอง ขุนหลวงเมา ประมุขแห่งราชอาณาจักรอ้ายลาว ได้ทรงเห็นว่า พระพุทธศาสนานี้เหมาะอย่างยิ่งกับนิสัยใจคอของคนไทย จึงได้ยอมรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เมื่อปี 612 ปรากฏว่ามีคนไทยซึ่งได้ถวายตัวเป็นพุทธมามกะในโอกาสนั้น นอกจากองค์ประมุขแล้ว ก็มีหัวหน้า 77 คน กับพลเมืองอีก 51,890 ครัวเรือน นับรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนพลเมือง 553,711 คน

ต่อมาเมื่อขงเบ้งตีอาณาจักรอ้ายลาวแตก คนไทยก็เริ่มอพยพหนีลงมาทางสุวรรณภูมิ แต่มิใช่ทั้งหมดที่อยู่ยังมีจำนวนมากจึงได้ตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้น มีเมืองหนองแสเป็นราชธานีในยูนาน เรียกว่า “อาณาจักร หมงไทย” หรือเมืองไทย แต่จีนเรียกว่าน่านเจ้า อาณาจักรนี้ดำรงอยู่เรื่อยมา เคยทำการขับเคี่ยวรบพุ่งกับจีนมาเป็นระยะ ๆ จนถูกจักรพรรดิกุบไลข่านแห่งมองโกลตีแตกในพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรในยูนานจึงอวสานลง คลื่นแห่งการอพยพครั้งใหญ่ของไทยจากจีนมายังเมืองไทยปัจจุบันจึงมีขึ้นอีกละลอกหนึ่ง แต่ที่ยังตกค้างอยู่ที่เมืองจีนก็มีมาก เมื่อครั้งที่หมอด๊อดลงไปสำรวจคนไทยในเมืองจีนได้พบว่า ขณะนั้น มีคนไทยตกค้างอยู่ไม่น้อยกว่า 1,000,000 คน และคนไทยส่วนใหญ่ยังคงนับถือพระพุทธศาสนา ผสมผสานไปกับการนับถือผีสางเทวดาและไสยศาสตร์ และสำหรับคลื่นของคนไทยที่อพยพลงมาเป็นละลอก ๆ นับแต่พุทธศตวรรษที่ 8–18 ยังดินแดนไทยปัจจุบัน ย่อมจะได้พระพุทธศาสนาเข้ามานับถือได้อย่างสนิทใจ เพราะเป็นศาสนาประจำใจมาแต่สมัยอยู่ประเทศจีนแล้ว

ตามทัศนะของประเทศไทย สุวรรณภูมิ คือ นครปฐม, ราชบุรี, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี พระโสณะ และ พระอุตตระเป็นผู้นำเข้า แดนสุวรรณภูมิในสมัยนั้นเป็นถิ่นที่อยู่ของ มอญ กับละว้า

หลักฐานที่แสดงว่าประเทศไทยคือสุวรรณภูมิ

1. องค์พระปฐมเจดีย์
2. รูปธรรมจักรทำด้วยศิลา
3. พระประโทนเจดีย์
4. วัดพระเมรุ

ชนชาติดั้งเดิมของสุวรรณภูมิ เดิมเป็นที่อยู่ของพวกมอญ และพวกละว้า(ลั่ว) หลังจากนั้นก็มีชาวพม่า มลายู และ ขอมอพยพเข้ามาอยู่

ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 6–7)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 11–16)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 12–18)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 15–18)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310–2325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย