ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ราหูอมจันทร์

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการตีความ
แนวคิดการตีความแบบโรแมนติคของชไลมาเคอร์
วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)
เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน
เทวาสุรสงครามในคัมภีร์พระเวท
เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี
ทัศนะเกี่ยวกับเทวาสุรสงคราม
เนื้อหาของจันทิมสูตร และสุริยสูตร
จันทิมสูตร กับสุริยสูตร กับบริบททางสังคม
จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา
ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ : การแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน
สรุปและเสนอแนะ
อ้างอิง

เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน

แนวคิดความเชื่อเรื่องเทวาสุรสงคราม หรือสงครามระหว่างเทพ กับอสูร ไม่ใช่เพิ่มมาปรากฏขึ้นในสมัยพุทธกาลเท่านั้น หากแต่สามารถสืบย้อนกลับไปตั้งแต่ชาวอารยันยังไม่ได้อพยพเข้ามาสู่อินเดียด้วยซ้ำไป นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พวกอารยันและอิหร่านเป็นพวกเดียวกันและอพยพมาพร้อมกัน โดยที่พวกหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย อีกพวกหนึ่งแยกไปทางอิหร่าน จะเห็นได้จากภาษาของทั้งสองพวกซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก เช่นคำว่า “อารยะ” หรือ “อารยัน” ที่พวกตั้งถิ่นฐานในอินเดียใช้เรียกตัวเอง กับคำว่า “อิหร่าน” ที่พวกเปอร์เซียโบราณเรียกตนเองก็เป็นคำมาจากรากศัพท์เดียวกัน วรรณคดีโบราณของอิหร่านคือคัมภีร์อเวสตะ (Avesta) กับคัมภีร์คฤเวทของอินเดียมีความเกี่ยวข้องกันใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาของทั้ง 2 คัมภีร์มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ภาษาในคัมภีร์อเวสตะรูปที่เก่าที่สุดกับภาษาในคัมภีร์ฤคเวททั้งในด้านรูปศัพท์และการสร้างประโยค ชี้ให้เห็นได้ชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ศัพท์จำนวนมากที่ใช้ในคัมภีร์ทั้งสองเป็นศัพท์ที่มาจากรากเดียวกัน แต่การนับถือเทพเจ้าของชน 2 พวกนี้เป็นไปคนละแนว คือชาวอารยันสายอิหร่าน จะนับถืออสุระ เป็นเทพเจ้าฝ่ายดี เทวะ เป็นเทพเจ้าฝ่ายชั่ว ส่วนพวกที่อพยพเข้ามาอินเดีย ถือว่า เทวะเป็นฝ่ายดี อสุระ หรืออหุระ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย