ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ราหูอมจันทร์

กรอบแนวคิดที่ใช้ในการตีความ
แนวคิดการตีความแบบโรแมนติคของชไลมาเคอร์
วิธีการตีความแบบบุคลาธิษฐาน (Allegorical Method)
เทพ กับอสูร ในคัมภีร์อเวสตะของอิหร่าน
เทวาสุรสงครามในคัมภีร์พระเวท
เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี
ทัศนะเกี่ยวกับเทวาสุรสงคราม
เนื้อหาของจันทิมสูตร และสุริยสูตร
จันทิมสูตร กับสุริยสูตร กับบริบททางสังคม
จันทิมสูตรและสุริยสูตร : ไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงทางอภิปรัชญา
ราหูอมจันทร์/อาทิตย์ : การแสดงธรรมแบบบุคลาธิษฐาน
สรุปและเสนอแนะ
อ้างอิง

เทวาสุรสงคราในวรรณคดีบาลี

ในวรรณคดีบาลี ซึ่งเป็นวรรณคดีที่เกิดหลังคัมภีร์พระเวทหลายร้อยปี ได้กล่าวถึงการทำสงครามระหว่างพระอินทร์ (ท้าวสักกะ) กับอสูรไว้เช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์พระเวทไม่มากก็น้อย เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยนั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นที่อยู่ของพวกอสูรมาก่อน เมื่อพวกอสูรเห็นเทพบุตรใหม่ ๆ เหล่าอสูรจึงจัดงานเลี้ยงต้อนรับเทวดาใหม่และยินดีแบ่งเทพนครให้ไปครองกึ่งหนึ่ง แต่พระอินทร์หรือท้าวสักกะต้องการครองเทพนครทั้งหมด จึงนัดแนะบริวารของตนว่าไม่ให้ดื่มน้ำคันธปานะ (น่าจะเป็นน้ำเมาที่มีกลิ่นหอม) แต่ให้ทำทีเหมือนหนึ่งว่าดื่มจริง ๆ เมื่อพวกอสูรดื่มน้ำคันธปานะจนมึนเมา พวกท้าวสักกะจึงช่วยกันจับเท้าอสูรเหวี่ยงลงไปที่เชิงเขาสิเนรุ แล้วภพของพวกอสูรก็เกิดขึ้นที่พื้นด้านล่างของเขาสิเนรุ หลังจากนั้นมา การเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างเทพสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์บนเขาสิเนรุ กับฝ่ายครองพื้นที่แถบเชิงเขาสิเนรุ จึงทำสงครามแย่งชิงเทพนครกันเรื่อยมา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย