สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สิทธิมนุษยชน

บทที่ 1 ปฐมบท
บทที่ 2 นโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
บทที่ 3 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้าน
บทที่ 4 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย
บทที่ 5 การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญา และแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ
บทที่ 6 การส่งเสริมการดำเนินงานสิทธิมนุษยชน
บทที่ 7 กลไกการบริหารการจัดการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

บทที่ 4 แผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนตามกลุ่มเป้าหมาย

แผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของเกษตรกร

สภาพปัญหา

การพัฒนาประเทศในช่วงสามสิบปีกว่าที่ผ่านมา รัฐบาลได้รวมอำนาจการกำหนด แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยอาศัยเกษตรกร และทรัพยากร ธรรมชาติในชนบทเป็นฐานในการขยายการเติบโตและสร้างความมั่งคั่ง ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาที่เสียสมดุลเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดการลิดรอนสิทธิ เกษตรกรที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

1. สิทธิในการพัฒนา เกษตรกรไม่สามารถกำหนดและได้รับประโยชน์จากการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพราะรัฐส่วนกลางเป็นผู้รวมศูนย์อำนาจไว้ และ ได้ดำเนินนโยบาย ส่งเสริมปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อการส่งออก โดยภาครัฐและบริษัท เอกชนได้เข้ามาครอบงำเกษตรกร ในการเลือกหรือการพัฒนาระบบเกษตรกรรม โดย การสร้างจูงใจด้วยด้วยการสนับสนุนปัจจัยต่างๆ เช่นการแจกเมล็ดพันธ์ ปุ๋ยเคมี สาร กำจัดศัตรูพืช และระบบตลาด ทำให้เกษตรต้องสูญเสีย สิทธิที่เลือกระบบเกษตรที่ สอดคล้องกับภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของเกษตรกร
2. สิทธิในทรัพยากรที่ดิน นโยบายการสนับสนุนระบบเกษตรเพื่อการส่งออก ทำให้มีการขยายพื้นที่การผลิต ขณะเดียวกันทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาปัจจัยการผลิต จากภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ หรือราคาผลผลิตต้องขึ้นอยู่กับตลาด โลกมาโดยตลอด ทำให้เกษตรกรต้องมีหนี้สินจำต้องขายที่ดินทำกิน นอกจากนี้กลุ่มคน ที่มีเงินทุนมากก็สามารถเข้าไปถือครองที่ดินอย่างได้ไม่จำกัด ทำให้ทรัพยากรที่ดิน กระจุกตัวอยู่ในการถือครองของกลุ่มทุนขนาดใหญ่และขนาดกลาง เกษตรกรส่วนใหญ่ กลับถือครองที่ดินจำนวนน้อยไร่ต่อ ครอบครัวต้องเช่าที่ดินทำกิน หรือเป็นเกษตรกร รับจ้างในภาคเกษตร
3. สิทธิในทรัพยากรทางสังคม การที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายให้ความสำคัญกับ ภาคอุตสาหกรรม จึงทำให้รัฐบาลส่งเสริมการทุนของภาคธุรกิจเอกชนด้วยการอำนวย อภิสิทธิ์และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในทางภาษีและเครื่องจูงใจต่างๆ ทั้งทางตรงและทาง อ้อม เช่น งบประมาณ สินเชื่อ หรือความรู้ เป็นต้น ทรัพยากรทางสังคมส่วนใหญ่จึง ตกอยู่กับภาค อุตสาหกรรม ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางสังคมได้

การที่เกษตรต้องสูญเสียสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเองในด้านเศรษฐกิจสังคม และต้องสูญเสียสิทธิในการควบคุมทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางสังคม เช่นที่ ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ ความรู้ สินเชื่อ หรืองบประมาณ ทำให้เกษตรกรจึงต้องประสบกับ ปัญหากับความยากจนและความล่มสลายของครอบครัวและชุมชน

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้เกษตรกรมีสิทธิเข้าถึงทรัพยากรทั้งทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรทางสังคม มีสิทธิกำหนดการพัฒนาตนเอง และการเสริมสร้างศักยภาพ โดยการรวมตัวเป็นองค์กรเพื่อการมีส่วนร่วมในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่สมคุณค่าความเป็นคนโดยสมบูรณ์

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

มาตรการเร่งด่วน

1. การให้เกษตรกรมีสิทธิเข้าถึงทรัพยากรที่ดิน

1.1 ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิในที่ดิน เพื่อกระจายสิทธิให้แก่เกษตรกร

  • พระราชบัญญัติการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณะ สมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2428
  • พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่… 4 ฉบับ คือ ประกาศทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2480 ,พ.ศ. 2483 และ พ.ศ. 2488
  • ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497
  • พระราชบัญญัติจัดที่ดินทำกินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
  • พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดิน พ.ศ. 2517
  • พระราชบัญญัติที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
  • พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518
  • พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518
  • พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
  • พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2536

1.2 เร่งดำเนินการปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินทั้งนี้ต้อง ให้องค์กรเกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินการปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจัง
1.3 เร่งดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดิน เพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดิน ทำกินทั่วประเทศโดยเร็วรวมทั้งต้องมีการจำแนกที่ดินทำกิน และที่ดินในเขตป่าออกจาก กันอย่างชัดเจนตลอดจนการจำแนกที่ดินในเขตความมั่นคงที่ใช้ในราชการทหารกับที่ดิน ทำกินของประชาชน ทั้งนี้ต้องให้เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ด้วย
1.4 กระจายการถือครองที่ดินโดยใช้มาตรการทางกฎหมายในการ กำหนดขนาดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม ที่ดินเพื่อพาณิชย์กรรม และที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งการใช้ระบบภาษีมาใช้ในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
1.5 เร่งดำเนินการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดินให้ แก่เกษตรกรมีแนวนโยบายและการปฏิบัติที่เป็นเอกภาพ
1.6 จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสิทธิในที่ดินโดยต้องมีส่วนร่วมของ องค์กรเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถาบันการศึกษา รวมทั้งการอาศัย หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนหรือจารีตประเพณีของชุมชน

ระยะเวลาดำเนินการ : 1-5 ปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง สำนักนายกรัฐมนตรี

2. การให้เกษตรกรมีสิทธิเข้าถึงทรัพยากรทางสังคม เช่น สินเชื่อ และงบ ประมาณ

2.1 เร่งเผยแพร่และดำเนินการให้เป็นตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟู และพัฒนาเกษตรกรให้แก่เกษตรกรให้ทั่งถึงอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม
2.2 เสริมสร้างและสนับสนุนเครือข่ายกองทุนโดยให้มีหน่วยงานกลาง คอยดูแลโดยให้องค์กรเกษตรเข้ามามีส่วนร่วม
2.3 กระจายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรโดยการปรับบทบาทธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้เป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อให้สินเชื่อแก่เกษตรกร รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งในและนอกระบบ
2.4 สนับสนุนให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาโดยผ่านองค์กร เกษตรกร

ระยะเวลาดำเนินการ : 1-5 ปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

3. การสร้างกลไกตรวจสอบ และแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกษตรกร

3.1 สนับสนุนให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรใช้สิทธิเข้าชื่อเพื่อเสนอ กฎหมายสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิในประชาพิจารณ์เพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกร
3.2 สนับสนุนให้เกษตรกรจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ในการ ประเมินสถานการณ์การละเมิดสิทธิเกษตรกร และติดตามสอดส่องการละเมิดสิทธิเกษตร อย่างต่อเนื่อง

3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรใช้สิทธิตามกล ไกในรัฐธรรมนูญ อันประกอบด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่น ดินของรัฐสภา ศาลปกครอง ศาลธรรมนูญ หรือคณะกรรมการป้องกัน และปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร

ระยะเวลาดำเนินการ : 1-5 ปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานเอกชน
มาตรการระยะยาว

1.การให้เกษตรกรมีสิทธิในการมีส่วนร่วมกำหนดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม

1.1 สนับสนุนให้เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรสามารถเลือกพัฒนาระบบ เกษตรกรรมทางเลือก เช่นระบบเกษตรกรรมพื้นบ้านดั้งเดิม ระบบเกษตรกรรมผสม ผสาน ระบบเกษตรกรรมอินทรีย์ ระบบวนเกษตร เป็นต้น โดยการให้การสนับสนุนด้วย มาตรการทางบริหาร งบประมาณ และการฝึกอบรมด้านเทคนิควิทยาและการบริหาร ทั้งนี้จะต้องให้เกษตรกรมีการดำเนินการด้วยตนเอง
1.2 ส่งเสริมการศึกษา วิจัย การพัฒนา เกษตรกรรมทางเลือกโดยอยู่บน พื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 ดำเนินการให้องค์กรเกษตรกรมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดแผน และโครงการพัฒนาของรัฐทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยรัฐจะต้องให้ข้อมูล ข้อเท็จ จริง และเหตุผล ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรก่อนตัดสินใจอนุมัติ แผนงานและโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ : 1-5 ปี
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หน่วยงานเอกชน

2. การเสริมสร้างการรวมตัวเป็นองค์กรเกษตรกร

2.1 เร่งออกกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกร
2.2 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ให้เอื้อประโยชน์ต่อ การรวมตัวของเกษตรกร
2.3 กระตุ้น และสนับสนุนการก่อตั้งและการพัฒนาองค์กรเกษตรกร
2.4 สนับสนุนการเงิน วิชาการ การบริหาร อื่นๆ แก่องค์กรเกษตรกร
2.5 เสริมสร้างเครือข่าย และการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ระหว่างองค์กร เกษตรกรให้เข้มแข็งขึ้นในการพิทักษ์สิทธิของเกษตรกร
2.6 สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา สื่อ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กร ทางสังคมอื่นเข้ามีบทบาทในการเอื้อประโยชน์ ให้องค์กรเกษตรในด้านข้อมูลข่าวสาร และการเรียนรู้
2.7 ส่งเสริมการช่วยเหลือให้องค์กรเกษตรกรเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายและแผนงานของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งการร่วมงานกับหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชน
2.8 ดำเนินการให้องค์กรเกษตรกร เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการโดย เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของเกษตรกรดำเนินการให้ความคุ้มครองแก่การรวมตัว เป็นองค์กรเกษตรกร

ระยะเวลาดำเนินการ : ตลอดระยะเวลาของแผน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานเอกชน

3. การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกษตรกร

3.1 รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกษตรกร เพื่อให้ ประชาชนและเกษตรกรตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง
3.2 ดำเนินการให้มีหลักสูตรว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเกษตรในสถาบันการ ศึกษาของรัฐ
3.3 ดำเนินการให้องค์กรเกษตรกรใช้ทรัพยากร สื่อสารมวลชนสาธารณะ (วิทยุและโทรทัศน์)เพื่อเผยแพร่ความรู้ และการสื่อสารกับสาธารณชน
3.4 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกษตรกรเพื่อใช้เป็นแนว ทางในการพัฒนาสิทธิ เสรีภาพของเกษตรกร

ระยะเวลาดำเนินการ : ตลอดระยะเวลาของแผน
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย หน่วยงานเอกชน

4.1 สิทธิมนุษยชนของเด็ก
4.2 สิทธิมนุษยชนของสตรี
4.3 สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ
4.4 สิทธิมนุษยชนของคนพิการ
4.5 สิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย
4.6 สิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์
4.7 สิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย
4.8 สิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าว
4.9 สิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัย
4.10 สิทธิมนุษยชนของคนไร้สัญชาติ
4.11 สิทธิมนุษยชนคนจน
4.12 สิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน
4.13 สิทธิมนุษยชนของเกษตรกร
4.14 สิทธิมนุษยชนของผู้บริโภค
4.15 สิทธิมนุษยชนของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
4.16 สิทธิมนุษยชนของผู้ต้องคุมขัง
4.17 สิทธิมนุษยชนของผู้พ้นโทษ
4.18 สิทธิมนุษยชนของผู้เสียหาย (เหยื่ออาชญากรรม)
4.19 สิทธิมนุษยชนของชุมชน
4.20 สิทธิมนุษยชนของผู้รับบริการสงเคราะห์จากรัฐ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย