สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

       วิชาเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์

จากความเป็นมา “economics” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “oikonomia” แปลว่า การบริหารจัดการของครัวเรือน ( skilled in the management household) เศรษฐศาสตร์หมายถึง เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด

โดยธรรมชาติมนุษย์มีความต้องการตลอดเวลา และไม่มีที่สิ้นสุด แต่จำนวนสินค้าและบริการมีจำกัด ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างสินค้า บริการและความต้องการ จึงเกิดการเลือกที่จะต้องตอบสนองความต้องการ ในการเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้หมดโอกาสที่จะทำสิ่งอื่นไปโดยปริยาย เราเรียกว่าสูญเสียโอกาส จึงกล่าวว่าเมื่อตัดสินใจเลือกจะเกิดต้นทุนเกิดขึ้นพร้อมกันเราเรียกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส ดังนั้นการที่จะเลือกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีต้นทุนต่ำสุด

สรุปได้ว่า
1. ความต้องการมีไม่จำกัด (unlimited wants)
2. ทรัพยากรมีจำกัด (scarcity resources) ทำให้เกิดความขาดแคลน
3. จึงเกิดการเลือก (choice) 4. เมื่อเกิดการเลือกสิ่งที่ตามมาคืออะไร

  • สินค้าและบริการ(goods and services) เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์(utility)คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจโดยไม่คำนึงว่าผิดกฏหมายหรือผิดศีลธรรม
  • สินค้าไร้ราคาหรือทรัพย์เสรี(free goods) มีตามธรรมชาติ เกินความต้องการของมนุษย์ ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด
  • สินค้าทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐทรัพย์(economic goods) สินค้าที่มีต้นทุนการผลิต มีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ ต้องซื้อหรือจ่ายค่าตอบแทน

 

การศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆต้องเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย ในลักษณะที่เป็นส่วนย่อยและส่วนรวมของระบบเศรษฐกิจเพื่อเข้าใจการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ดียิ่งขึ้น

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 2 สาขา

เศรษฐศาสตร์จุลภาค microeconomics เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อย ครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใด หน่วยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคา การจำหน่ายจ่ายแจก เน้นไปทางการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล หรือกลุ่มของบุคคลเนื้อหาส่วนใหญ่ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีราคา(price theory)

เศรษฐศาสตร์มหภาค macroeconomics เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนร่วม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคมเช่นรายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ

นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ
ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์
ทรัพยากรการผลิต (productive resources)
สินค้าและบริการ (goods and services)

แหล่งข้อมูล : วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย