ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

สรุปปรัชญาพุทธศาสนา ภาคอภิปรัชญาพุทธศาสนา

         ในภาคอภิปรัชญา ความจริงนี้ คือสิ่งที่มีอยู่จริง พุทธปรัชญามีทัศนะว่า สิงที่มีอยู่จริง เรียกว่า ปรมัตถธรรม มี 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และ จิต เจตสิก และรูป 3 สิ่งนี้ มีลักษณะ 3 ประการคือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ส่งวนพระนิพพาน นั้น มีลักษณะเป็นนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา

พุทธศาสนากับอภิปรัชญา

ข้อแตกต่างระหว่าง อภิปรัชญาตะวันตกกับอภิปรัชญาเชิงพุทธปรัชญา

อภิปรัชญาตะวันตกโดยมากมักจะศึกษาปัญหาปฐมเหตุของโลกและจักวาล และโลกและจักรวาลมีพัฒนาการมาจากปฐมเหตุนั้นอย่างไร ปฐมเหตุหรือปฐมธาตุนั้นเรียกว่าสิ่งที่แท้จริง หรือสิ่งที่มีอยู่จริง (reality) หรือ เรียกง่ายๆว่า ความจริงทางอภิปรัชญา ซึ่งในทางตะวันตกก็ถกเถียงกันและได้คำตอบที่ไม่ลงรอยกัน หลักๆ อยู่ 2 ฝ่ายคือฝ่ายที่ยืนยันว่า จิต คือสิ่งที่มีอยู่จริง(จิตนิยม) และอีกฝ่ายยืนยันว่า สสาร (สสารนิยม) และบางฝ่ายก็ยืนยันว่าทั้งจิตและสสาร (ธรรมชาตินิยม)

ส่วนพุทธปรัชญา หากมองในแง่ที่ว่า อะไรคือปฐมธาตุของโลกและจักรวาลเช่นนี้ ทางพุทธปรัชญาจะไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาแบบนี้ เพราะมันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการสิ้นทุกข์ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของพุทธปรัชญา แต่พุทธปรัชญาก็มีทัศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริง คือ สิ่งที่มีอยู่จริงคืออะไร และมีอยู่อย่างไร ซึ่งนั่นก็คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ที่มีอยู่จริงในทัศนะพุทธปรัชญา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปฐมเหตุของโลกและจักรวาล แต่มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ไม่มีผู้สร้าง สิ่งทั้งหลายนี้รวมกันเข้าแล้วปรากฏเป็นสิ่งทั้งหลาย เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้แล้ว จะได้วางท่าทีและปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีจุดหมายคือการพ้นทุกข์ หลักการของพระพุทธเจ้าในการจะถกปัญหาทางอภิปรัชญาหรือไม่นั้น มาจากหลักที่พระองค์ยึดถือ คือว่า เรื่องนั้น ต้องจริง มีประโยชน์ และเหมาะสมแก่เวลาและสภาพแวดล้อม (ดูอภัยราชกุมารสูตร) ในจูฬมาลุงโกยวาทสูตร ได้พูดถึงหลักการที่สอนและไม่สอน ดังนี้ ไม่สอนเรื่องโลกเทียง หรือไม่เที่ยง มีที่สุดและไม่มีที่สุด เรื่องอัตตา เรื่องตายแล้วเกิดหรือสูญ ปัญหาเหล่านี้ เรียกว่า อพยากตปัญหา คือเรื่องที่ไม่ทรงตอบ และไม่สอน เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็ฯไปเพื่อสิ้นทุกข์ และไม่เป็ฯไปเพื่อทำลายความโลภ โกรธ หลง ให้สิ้นไปได้



ชีวิตในพุทธปรัชญา

  • ความหมายและกำเนิดชีวิต (ชีวิตคืออะไร) ดูหลักคำสอน เรื่องขันธ์ 5 การเกิดของมนุษย์
  • ชีวิตมีลักษณะอย่างไร ดูหลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องไตรลักษณ์
  • ชีวิตเป็นไปอย่างไร ดูหลักธรรมเรื่อง วิญญาณ 6 จิตรับรู้โลก 17 ขณะ ปฏิจจสมุปบาท กรรม

ธรรมชาติของชีวิต ในที่นี่หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนมีความต้องการ พื้นฐาน 4 ประการ คือ ชีวิตุกามะ คืออยากมีชีวิตอยู่ อมริตุกามะ อยากไม่ตายหรือไม่อยากตาย สุขกามะ คือ อยากมีความสุขไม่อยากมีทุกข์ และ ทุกขปฏิกกูละ คือ รังเกียจความทุกข์ หรือไม่ต้องการทุกข์

ปรากฏการณ์ของชีวิต ปรากฏการณ์ของชีวิตมนุษย์ คือ สุข ทุกข์ สุข หมายถึงความสบายกาย-ใจ ทุกข์ หมายถึง คสวามไม่สบายกาย-ใจ มีเหตุเกิดมาจากหลายอย่าง พุทธปรัชญา ตอบว่า เกิดจาก โรคภัยไข้เจ็บ ธรรมชาติแวดล้อม การดูแลสุขภาพ การกระทำของผู้อื่น และผลกรรมของตน

ชีวิตที่ดี ชีวิตกับความตาย ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่พอเพียงด้วยวัตถุและคุณธรรมจริยธรรม ชีวิตที่ประเสริฐ คือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา (ดู สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (เล่ม 15 หน้า 203 ข้อ 58)

ท่าทีของพุทธปรัชญาต่อความตาย ความตาย คือ การแยกจากกันของสิ่งที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนคือร่างกายนี้ อันได้แก่ ธาตุ 6 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาส และวิญญาณธาตุ การตายและการเกิดของมนุษย์ จึงเป็นเพียงกระบวนการแยกกัน และรวมกันของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงความตายไว้ว่า คนที่จวนจะตายร่างกายจะซูบซีดลง อินทรีย์ทั้งหลายคือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา จะดับไปตามลำดับ ความสามารถด้านต่างๆจะลดน้อยลงเหลือแค่พอรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานเท่านั้น วิญญาณจะนึกถึงครุกรรมคือกรรมหนักบ้าง กรรมที่ทำในช่วงใกล้ๆมานี้บ้าง กรรมที่ทำไว้ก่อนบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วกรรมที่นึกถึงได้นั้น ก็จะปรากฏขึ้นต่อจากนั้น

สังขารคือบุญ-บาป และตัณหาก็จะนำวิญญาณนั้น (จุติวิญาณ) ไปสู่ภพใหม่ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ตามแต่กรรมที่ทำไว้จะพาไป การตาย-เกิด นี้จะดำเนินต่อไป ตราบเท่าที่ปัจจัยต่างๆ คือ สังขาร คือ บุญ-บาป และกิเลสคือตัณหา ยังดำมีอยู่ เมื่อพัฒนาชีวิตให้เกิดวิชชา กิเลสก็ดับ สังขารคือบุญ-บาปดับ การเกิด-ตายก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ พระพุทธปรัชญา สอนให้วางท่าทีว่าไม่ให้กลัวตาย เพราะเป็นธรรมชาติ มีเกิดก็ต้องมีตาย สอนให้ระลึกถึงความตายแล้วนำมาเตือนใจตนเองรีบทำความดี พัฒนาชีวิต ให้พ้นจากตายและเกิด จะได้หมดทุกข์อย่างสิ้นเชิง (นิพพาน)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย