วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา  >>

ซากดึกดำบรรพ์

หลักการเบื้องต้นของการเรียงลำดับชั้นหิน
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
ยุคแคมเบรียน
ยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน
ยุคดีโวเนียน
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ยุคเพอร์เมียน
ยุคไทรแอสสิก
ยุคจูแรสซิก
ยุคครีเทเซียส
ยุคเทอเธียรี
ยุคนีโอจีน
ยุคควอเทอร์นารี

ตารางธรณีกาล

 (Geologic time scale)

จากร่องรอยและซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ที่ได้มีการค้นพบในชั้นหินของเปลือกโลก ในที่ต่าง ๆ เราสามารถนำมารวบรวมและอธิบายประวัติความเป็นมาของโลกได้ ทำให้ทราบถึงลำดับและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากชีวิตแรกเริ่มในบรมยุคโพรเทอโรโซอิกจนถึงยุคปัจจุบัน

หน่วยเวลาที่ใหญ่สุดตามมาตราธรณีกาลเรียกว่า บรมยุค (Eon) โลกของเราประกอบด้วย 3 บรมยุค ได้แก่ บรมยุคคริปโทโซอิก (Cryptozoic) หรือ อาร์ดีโอโซอิก (Archaeozoic) หรืออะโซอิก (Azoic) เป็นบรมยุคที่มีหินเก่าสุด บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) เป็นบรมยุคของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม และบรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นบรมยุคของสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นได้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีซากดึกดำบรรพ์แพร่หลาย

นักธรณีวิทยาได้จำแนกบรมยุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 3 มหายุค (Era) ได้แก่ มหายุคพาลี โอโซอิก (Paleozoic)เป็นช่วงของชีวิตเก่า มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) เป็นช่วงของชีวิตกลาง (หรือเรียกยุคของไดโนเสาร์) และมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นช่วงเวลาของชีวิตใหม่ ในแต่ละมหายุคจะถูกแบ่งออกเป็นยุค (Periods) ต่าง ๆ และแต่ละยุคจะแบ่งย่อยออกเป็น หน่วยเล็ก ๆ เรียกว่า สมัย (Epochs) เส้นแบ่งมหายุค ยุค และสมัยออกจากกันนั้นขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต เช่นการเปลี่ยนแปลงของชนิดหรือเผ่าพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ และการเกิดกระบวนการเกิดเทือกเขา ตัวอย่างเช่น การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ถูกใช้เป็นตัวแยกมหายุคมีโซโซอิกออกจากมหายุคซีโนโซอิก และยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period) จะถูกแบ่งออกเป็นช่วงต้นคือ สมัยไพลส์โตซีน (Pleistocene Epoch) และช่วงปลายคือสมัย โฮโลซีน (Holocene Epoch) ซึ่งก็คือยุคปัจจุบันที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้เอง การเริ่มต้นของสมัยไพลส์โตซีนจะเริ่มตั้งแต่การเกิดของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวลงมาจากขั้วโลกเหนือลงมาปกคลุมทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป ซึ่งจะกลายเป็นยุคน้ำแข็ง (Great Ice Age) ในช่วงสมัยไพลสโตซีน ส่วนสมัยโฮโลซีนจะเริ่มขึ้นเมื่อธารน้ำแข็งต่าง ๆ เหล่านี้ถดถอยไปจากทวีปอเมริกาและยุโรป ซึ่งเริ่มเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว

อายุที่วัดได้ของหินยุคต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในมาตราธรณีกาลได้มาจากการคำนวณโดยวิธี ต่าง ๆ กัน แร่บางชนิดในหินอัคนีมีธาตุกัมมันตรังสียูเรเนียมและธอเรียม ซึ่งจะแตกตัวตามธรรมชาติด้วยอัตราที่คงที่จนได้ตะกั่วในขั้นสุดท้าย ถ้าเราทราบอัตราการสลายตัวก็สามารถหาอายุของชั้นหินนี้ได้ โดยการหาอัตราส่วนของปริมาณยูเรเนียมและปริมาณตะกั่วที่มีอยู่ในหินนั้น

มหายุคพรีแคมเบรียม มหายุคพรีแคมเบรียน มีอายุตั้งแต่โลกเกิดจนถึงเมื่อ 545 ล้านปีมาแล้ว คลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ล้านปี หินที่มีอายุแก่สุดนี้มักอยู่ในสภาพที่โดนบีบอัดและเปลี่ยนแปรไปโดยความร้อนและความดันอย่างรุนแรงจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ส่วนใหญ่เป็นหินพวกหินไนส์ หินชนวน หินชิสต์ หินอ่อนและหิน ควอร์ตไซต์

สภาพภูมิประเทศในมหายุคพรีแคมเบรียน มีลักษณะโล่งเตียน เป็นภูเขา ทะเลทราย มีภูเขาไฟประทุรุนแรงเกิดธารลาวามากมาย ไอน้ำในบรรยากาศเริ่มกลั่นตัวเป็นน้ำฝน ทำให้เกิดแม่น้ำและทะเล ในตอนต้นยุคพรีแคมเบรียน บางแห่งมีแกรไฟต์ ซึ่งคงจะเกิดการแปรสภาพของหินดินดานเนื้อปนถ่าน (ถ่านคงเกิดจากสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มที่อาศัยอยู่ในน้ำ) หินปูนบางแห่งมีก้อนกลม ๆ เกิดจากการพอกตัวด้วยชั้นบาง ๆ ของสาหร่ายหรือแบคทีเรีย ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในยุคนี้มีน้อยเนื่องจากสัตว์ส่วนใหญ่ในทะเลยุคต้นนี้ไม่มีเปลือกหรือฝาหุ้ม


แบคทีเรียชนิด Cyanobacteria 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย