วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา  >>

สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

(จีเอ็มโอ)

แพทย์หญิงสายพิณ โชติวิเชียร กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีโภชนาการ

การดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงพันธุกรรมพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ จะทำให้ได้พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organism) หรือเรียกย่อเป็น GMO หรือจีเอ็มโอ

ความเป็นมาของคำว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
(จีเอ็มโอ) อาจย้อนไปถึงในช่วงต้นของทศวรรษ 1800s ได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า r-DNA เทคโนโลยีหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้ในการพัฒนาสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆกัน ทั้งในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลินทรีย์ การผลิตยารักษาโรคและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ ในช่วงนั้นสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะเป็นจุลินทรีย์(microorganism) ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ได้มีการถูกดัดแปลงโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม มีการเรียกว่าเป็น genetically engineered microorganism หรือ GEM ซึ่งอาจเรียกในภาษาไทยเป็น “จุลินทรีย์ที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม” แต่การดัดแปลงทางพันธุกรรม (genetic modification) ได้ครอบคลุมไปถึงพืช สัตว์ ด้วย ดังนั้นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอาจเป็น “พืชดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified plant หรือ transgenic plant) หรือ “สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม” (genetic modified animal หรือ transgenic animal) หรือถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต (organism) ทั้งพืชและสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้สามารถเรียกรวมๆกันเป็น “สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified organism) หรือ GMO

จีเอ็มโอ หรือ GMOs – Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม หรือ เทคนิคการตัดต่อยีน ในพืช สัตว์ หรือ จุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะที่สุกงอมช้ากว่าปกติ การดัดแปรพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น



สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์

จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกำจัดคราบน้ำมันได้ดี

พืช GMO เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ เรานิยมทำ GMO ในพืชเพราะว่าทำได้ง่ายกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช GMO ได้หลายๆ ชั่วอายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสั้นกว่าสัตว์ ซึ่งอายุของสัตว์แต่ละ Generation นั้นกินเวลานานหลายปี

สัตว์ GMO เช่น ปลาแซลมอน ซึ่ง Modified หมายความว่า ปลานี้ได้รับการปรุงแต่ง หรือดัดแปลงโดยมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะมนุษย์ล้นโลกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นวิธีพัฒนาการทางด้านอาหารสำหรับบริโภคของมนุษย์

วิธีการทำ GMO
หลักสำคัญของการถ่ายยีน
ข้อดีของพืช GMO
การพัฒนาพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย