สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ลัทธิเศรษฐกิจ

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

        การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอังกฤษ แล้วจึงขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยที่เงื่อนไขและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศแตกต่างกันไป ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คือ การเพิ่มขึ้นของการใช้ถ่านหินและเหล็ก บทบาทของรัฐและเอกชน การสร้างทางรถไฟ การสะสมทุน และการเพิ่มขึ้นของประชากร

การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลกระทบที่สำคัญคือ การเพิ่มของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง การเกิดชนชั้นกระฎุมพีอุตสาหกรรมและชนชั้นกรรมาชีพ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและในยุโรปตะวันตก

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในอังกฤษแห่งแรกในโลก โดยแบ่งระยะเวลาออกเป็น 2 ช่วงคือ ประมาณทศวรรษ 1780 จนถึง ค.ศ. 1830 และจาก ค.ศ. 1830 จนถึงประมาณ 5.ศ. 1910 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรมและจากชนบทสู่เมือง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ คือ การเพิ่มขึ้นของการใช้ถ่านหินและเหล็ก การที่รัฐสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่สนับสนุนให้เอกชนประกอบวิสาหกิจโดยใช้ระบบตลาด ในขณะที่การล่าอาณานิคมสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศของอังกฤษ การสร้างทางรถไปเชื่อมโยงส่วนต่างๆ ของประเทศสนับสนุนการพัฒนา อุตสาหกรรมเพราะต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยต่ำลง เพราะขนได้ทีละมากๆ อังกฤษมีระดับการสะสมทุนอยู่ในระดับสูงเพราะการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ และ การเพิ่มขึ้นของประชากรมีผลให้จำนวนอุปทานแรงงานเพิ่มขึ้นและตลาดใหญ่ขึ้น

ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและขยายเข้าไปในยุโรปและส่วนอื่นๆของโลก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมนีคือ ความต้องการใช้ถ่านหินและเหล็กกล้า การพัฒนาคมนาคมภายในประเทศ รวมทั้งบทบาทของทุนและผู้ประกอบการ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเริ่มขึ้นประมาณ ศตวรรษที่ 1780 โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1780-1830 และ ในช่วงที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1830-1910 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษมีผลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรมและจากชนบทสู่เมือง ซึ่งมีผลอย่างชัดเจนหลัง ค.ศ. 1850

ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษคือ

  1. การขยายตัวของการใช้ถ่านหินและเหล็ก
  2. รัฐมีบทบาทน้อยในกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่มีบทบาทมากในกิจการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการค้าระหว่างประเทศ การล่าอาณานิคมและการเดินเรือ
  3. การพัฒนาการขนส่งในประเทศโดยสร้างทางรถไฟเชื่อมเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่าต่าง ๆ
  4. การสะสมทุนเนื่องจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
  5. การเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศซึ่งมีผลต่อตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และการเพิ่มขึ้นของอุปทานและแรงงาน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเยอรมันนีเกิดจากสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้

  1. มีการผลิตถ่านหินและเหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
  2. มีการสร้างเครือข่ายรถไฟทั่วประเทศ มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในแง่ที่กระตุ้นให้ตลาดภายในประเทศขยายตัวตลอดจนการเชื่อมโยงการขนส่งกับท่าเรือ ซึ่งสนับสนุนการขยายตัวการส่งออกและนำเข้าทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าทุน
  3. บทบาทของทุนของผู้ประกอบการ กล่าวคือ มีการระดมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการตั้งธนาคารหลายแหล่งตลอดจนบทบาทของผู้ประกอบการที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม
  4. บทบาทของการศึกษาที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป

การปฏิวัติอุตสาหกรรมมีผลกระทบสำคัญทางเศรษฐกิจคือ มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมากขึ้น เพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้อัตราการตายลดลงและอัตราเกิดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม จากชนบทสู่ความเป็นเมืองมากยิ่งขึ้นเพราะการย้ายถิ่น ทำให้เกิดเมืองใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งบางเมืองกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และแออัด

การปฏิวัติอุตสาหกรรม มีผลก่อให้เกิดชนชั้นกระฎุมพี ชนชั้นกระฎุมพีมีอยู่หลายกลุ่มอาทิเช่น นักธุรกิจ กระฎุมพีอุตสาหกรรม กระฎุมพีพ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านทั่วไป ชนชั้นกระฎุมพีแต่ละกลุ่มมีบทบาทในการพัฒนาทางเศรษฐกิจแตกต่างกันไป

ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ กำเนิดชนชั้นกรรมาชีพในระยะแรกขแงการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีฐานะความเป็นอยู่ยากลำบาก ค่าจ้างต่ำ มีการใช้แรงงานเด็กและสตรี ชั่วโมงการทำงานมาก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สภาพการดำรงชีวิตของประชาชนและมาตรการความเป็นอยู่ดีขึ้น ชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานมากขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบดังนี้คือ มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม จากชนบทมาสู่ความเป็นเมืองขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเมืองใหม่ขึ้นมา ซึ่งบางเมืองกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และแออัด

การเกิดชนชั้นกระฎุมพี
ชนชั้นกระฎุมพีพอจะจำแนกได้หลายกลุ่ม อาทิเช่น พวกกระฎุมพีนักธุรกิจ กระฎุมพีอุตสาหกรรม กระฎุมพีพ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านค้าทั่วไป ชนชั้นกระฎุมพีแต่ละกลุ่มมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแตกต่างกันไป

การก่อตัวของชนชั้นกรรมาชีพ
ในระยะแรก ๆ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมสถานภาพความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพไม่ถูกสุขลักษณะ คุณภาพชีวิตเสื่อมโทรม ค่าจ้างและรายได้ต่ำ ชั่วโมงการทำงานมากมีการใช้แรงงานเด็กและสตรีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีมาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้น สุขภาพพลานามัยความสะดวกสบายจากการปรับปรุงด้านคมนาคม และอัตราการตายลดลง ชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานมากขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และชนชั้นกรรมาชีพกลายเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ

» การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ

» การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ

» ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์

» การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง

» การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม

» ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา

» การปฏิวัติอุตสาหกรรม

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

» สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

» วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960

» วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970

» ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว

» การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย

» แนวคิดก่อนคลาสสิก

» สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชนิยม

» แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม

» แนวคิดธรรมชาตินิยม

» แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ

» แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส

» แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด

» แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์

» แนวคิดสังคมนิยม

» แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก

» แนวคิดนีโอคลาสสิก

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน

» เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต

» แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน

» ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม

» แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน

» แนวคิดสำนักพึ่งพา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย