ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

กฎหมายอิสลาม

อาจารย์ณรงค์ ดูดิง รองประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม

กฎหมายอิสลามมาจาก

  1. อัลกุรอาน เพราะอัลกุรอานเป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ที่ศาสดาได้รับจากพระองค์ อัลลอฮ์ ทรงประทานให้แก่มนุษยชาติ พูดถึงกฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัต แนวทางที่มนุษยชาติจะต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม
  2. อัซซุนนะฮ. ฮัซซุนนะฮ. หรือ อัลหะดีษ เป็นคำอรรถาธิบายโดยศาสดา หรือ นาบี โดยใช้คำสอนจาก คำพูด การกระทำ และการปฏิบัติของท่านศาสดามูฮำมัด (ศ์อลฯ)
  3. อิจมะอ. อุลามะอ. คือ คำวินิจฉัยของนักปราชญ์หรือผู้รู้ทางศาสนา ในกรณีที่ไม่มีการบัญญัตอย่างชัดแจ้งในคัมภีร์ อัลกุรอาน และอัซซุนนะฮ.

อิสลาม มาจากคำว่า อัสละมะ ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า ซะลิมะ แปลว่าสันติ การนอบน้อม การยอมจำนน อิสลามเป็นศาสนาที่จัดอยู่ในประเภทเทวนิยม คือ ศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว พระเจ้าในศาสนาอิสลาม เรียกว่า อัลลอฮ.

อัลลอฮ คือ พระเจ้าในศาสนาอิสลาม บุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่า “มุสลิม” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้นอบน้อมถ่อมตน ผู้รักสันติ ผู้จำนนต่อพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียว

องค์ประกอบของศาสนามีดังนี้
1. ต้องมีศาสดา
2. ต้องมีคำสอน
3. ต้องมีสาวกหรือผู้สืบทอด
4. ต้องมีสถานที่หรือศาสนสถาน
5. ต้องมีพิธีกรรม

โครงสร้างของอิสลาม

โครงสร้างของอิสลามแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ
1. หลักศรัทธา (รุกุ่มอีหม่าม)
2. หลักปฏิบัติ (รุกุ่มอิสลาม)

อิสลามเข้ามาในประเทศไทยได้โดยชาวต่างประเทศ ชาวเปอร์เซีย ชาวอิหร่าน และโดยทางพ่อค้าชาวอาหรับ เข้ามาโดยชาวอิหร่านนั้นปรากฏในปลายรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีชาวอิหร่านเข้ามาทางปัตตานี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา เนื่องจากปัตตานีเป็นเมืองชายฝั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าที่พ่อค้าวาณิชมาจากทั่วทุกมุมโลก จึงทำให้ชาวปัตตานีในอดีตได้มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติมาตลอด ฉะนั้น ได้มีการถ่ายทอดทางศาสนา

วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ของแต่ละชาติมาเผยแผ่ด้วย ก็มีชาวฮินดู และพุทธเข้ามาเผยแพร่ด้วย แนวความคิดของศาสนาพุทธศักดิ์สิทธิ์และน่านับถือขึ้น พอถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีพ่อค้าชาวอาหรับนำอิสลามเข้ามาในปัตตานีและปาหังก่อน

ปรากฏตามประวัติศาสตร์ชาติไทย มุสลิมเข้ามามีบทบาทในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยมีตำแหน่งขุนนางชั้นสูงของทางราชการ ซึ่งเกี่ยวกับการบริหารฝ่ายศาสนาอิสลาม ต่อมาในปลายปีของสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีชาวอิหร่านสองคนพี่น้อง เข้ามาตั้งรกรากทำการค้าข้ายที่กรุงศรีอยุธยา

ครั้งแรกที่ปรากฏในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นการโปรดเกล้าแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เอง ซึ่งไม่ทราบว่าจะมีกฎหมายออกมาหรือไม่ เข้าใจว่าจะยังไม่เสนอเป็นกฎหมาย แต่จะปรากฏเป็นการแต่งตั้งจากกระทรวงนั้น ๆ เช่น เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2460 กระทรวงยุติธรรมได้มีสารตราตั้งตำแหน่งดะโต๊ะยุติธรรม จังหวัดสตูล (เป็นครั้งแรก) ที่ 30/4353 ลงนามโดยเจ้าพระยาอภัยราชาฯ เมื่อ พ.ศ. 2472 กระทรวงยุติธรรมต้องการให้แปลกฎหมายอิสลามเป็นภาษาไทย ใช้เวลาแปล 11 ปี ปรากฏว่าเสร็จเรียบร้อย เมื่อปี พ.ศ. 2483

ประเทศไทยเริ่มใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมายอิสลามมีดังนี้

  1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ซึ่งมีทั้งหมด 10 มาตรา
  2. พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มีทั้งหมด 13 มาตรา
  3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2491 มี 3 มาตรา
  4. พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ฉบับที่ใช้ปัจจุบัน

กฎหมายที่ให้ใช้กฎหมายอิสลามมี 1 ฉบับ คือ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มีทั้งหมด 7 มาตรา นอกจากนี้ยังมีกฎกระทรวงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเทียบเท่ากฎหมายได้อีกหลายฉบับ

ผลจากการมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม
ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 จึงได้มีกฎหมายอิสลามว่าด้วย ครอบครัวและมรดกขึ้น ซึ่งได้มาจากการแปลกฎหมายอิสลามเป็นภาษาไทย ซึ่งได้มีคนใช้อยู่ทุกวันนี้ โดยดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ใช้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ชมรมนักกฎหมายมุสลิมได้รวมนักนิติศาสตร์อิสลามระดับชาติมาร่วมกันประชุมแลัวร่วมกันร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการฟังประชาพิจารณ์ของประชาชน เราเรียกว่า ร่างประมวลกฎหมายอิสลามว่าด้วย ครอบครัวและมรดก (ฉบับแก้ไข) มาตรา 1 – 189 ซึ่งเราคาดว่าต่อไปจะมีกฎหมายอิสลามฉบับสมบูรณ์มาใช้บังคับเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของผู้ประกาศใช้ในอดีตและประชาชนในปัจจุบัน

หลักการทำพินัยกรรม

1. คำสั่งตามพินัยกรรมจะต้องมีความชัดเจน เช่น ระบุทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรม
2. ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรม
3. ผู้รับพินัยกรรม

  1. จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าให้กับใคร
  2. ผู้รับพินัยกรรมนั้นจะต้องมีชีวิตอยู่
  3. ผู้รับพินัยกรรมจะต้องไม่ใช่ฆาตกร ผู้จ้างวาน ฆ่าเจ้าพินัยกรรม
  4. ทรัพย์มรดกสามารถมอบให้ได้ พินัยกรรมที่ทำนั้นต้องไม่เกิน 1 ใน 3 ส่วนของทรัพย์สินที่ทำพินัยกรรม

วัฒนธรรมอิสลาม
วัฒนธรรมอิสลาม หมายถึง วิธีการดำเนินชีวิตหรือรูปแบบของพฤติกรรมตลอดจนสิ่งสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่นำมาจากหรืออยู่ในขอบข่ายของคัมภีร์อัลกุรอานและซุนนะฮ (จริยวัตรของท่านศาสดามูฮำหมัด (ชล์)

ที่มาของวัฒนธรรมอิสลาม

1. คัมภีร์อัลกุรอาน
2. ซุนนะห์ของท่านศาสดามูฮำหมัด (ศ์อล)

ฉะนั้นจึงเป็นวัฒนธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา หรือสังคมสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของวัฒนธรรม

  1. องค์วัตถุ
    -- องค์วัตถุที่จับต้องได้ เช่น เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมา เครื่องใช้ของแต่ละท้องที่ที่ไม่เหมือนกัน
    -- สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ภาษา ภาษาของอิสลาม คือ ภาษาอาหรับ ซึ่งภาษาของอัลกุรอาน ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้
  2. องค์การ (Organization) คือ กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นอย่างมีระเบียบ เช่น ครอบครัว สมาคม ฯลฯ ซึ่งอิสลามกำหนดหน้าที่ให้กับคนในองค์กรอย่างเด่นชัด เช่น ผู้ปกครองครอบครัว ผู้นำสมาคม เป็นต้น
  3. องค์มติ (Concepts) ความคิดในทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ความเข้าใจในเรื่องราวของมนุษย์
  4. องค์พิธีการ (Usages) ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งแสดงออกมาในรูปพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น การทำความเคารพ พิธีแต่งงาน การตาย การเกิด ซึ่งอิสลามได้วางแนวทางไว้โดยเฉพาะ

ประเพณี
ประเพณีเป็นคำที่รู้สึกว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากที่สุด ประเพณีมีมากมายซึ่งแล้วแต่คน แต่ละท้องถิ่นใดจะเป็นผู้ปฏิบัติกันมา แต่สำหรับมุสลิมแล้ว ประเพณีใดก็ตามจะขัดกับหลักคำสอนของอิสลามไม่ได้ เช่น ประเพณีบางหมู่บ้านเวลาจัดงานแล้วเขาจะต้องกินเหล้าและเต้นรำ อย่างนี้มุสลิมปฏิบัติไม่ได้ บางแห่งประเพณีนุ่งน้อยห่มน้อย แต่มุสลิมไม่ได้เพราะมีวัฒนธรรมการแต่งกายแบบอิสลามอยู่แล้ว

วัฒนธรรมในช่วงชีวิต
เมื่อเริ่มต้นทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เมื่อจะกิน จะดื่ม จะนั่ง จะนอน จะเต้น จะสวมเสื้อผ้า จะเข้าห้องน้ำ จะอาบน้ำ จะร่วมประเวณี จะฆ่าสัตว์ทำอาหาร จะนั่งรถ มุสลิมจะเริ่มด้วยการกล่าวนามของพระเจ้า คือ มิสมิลวาหิรเราะมานิรรอฮีมา

  • เมื่อบรรจุพิจารณาต่าง ๆ จะกลับขอบคุณ อัลฮัมดุลิลลา
  • เมื่อเสียใจ อัสตารฟีลุลลอช.
  • เมื่อตกใจ อัลลอฮ , อักชัง
  • เมื่อพบความงามของธรรมชาติ อัลลอฮอักบัช
  • เมื่อเสียชีวิต อินาลิลลาชิ วร อินนาอิลียฮิรอยิอูน

การทักทาย

  • เมื่อพบกันจะต้องทักทายด้วย “อัสลามูอาลัยกุม”
  • สำหรับผู้ที่ถูกให้สลามจำเป็นจะต้องตอบด้วยคำว่า “อาลัยกุมมุสลาม”

มารยาทในการกล่าวสลาม

  1. สลามที่สมบูรณ์จะต้องมีการจับมือ ยกเว้นหญิงกับชายไม่ต้องจับมือ
  2. ผู้น้อยควรให้สลามแก่ผู้ใหญ่ก่อน
  3. คนอยู่บนพาหนะต้องสลามแก่คนที่อยู่ชั้นล่าง
  4. ให้สลามเมื่อเข้าบ้านทุกครั้ง
  5. ควรให้สลามก่อนที่มีการสนทนาปราศรัย

การฝากสลาม

  • ควรมีการฝากสลามไปยังบุคคลที่เรารู้จักกัน

การแต่งกาย

การแต่งกายของชาย

  • มุสลิมต้องแต่งกายให้สะอาดและสุภาพ ต้องปกปิดส่วนสะดือและหัวเข่า
  • ห้ามสวมเสื้อผ้าไหม พืชที่ปักด้วยไหม
  • ห้ามใส่เครื่องประดับแบบผู้หญิง ห้ามใส่ทอง เงิน
  • ห้ามแต่งกายเลียนแบบผู้หญิง

การแต่งกายของหญิง

  • หญิงมุสลิม (มุสลิมะฮ.) จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด จะแต่งกายตามสมัยนิยมหรือแฟชั่นที่ขัดต่อ บทบัญญัติไม่ได้
  • การแต่งกายของหญิงต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นเฉพาะใบหน้า และฝ่ามือเท่านั้น

ความสะอาด
ความสะอาด คือ ส่วนหนึ่งของการศรัทธา (มูฮำหมัดศ์ฮลฯ)

  • การแปลงฟัน
  • การอาบน้ำบัว
  • โกนหนวด เครา ตัดเล็บ
  • เข้าสุหนัด
  • นุ่งเสื้อผ้าที่ซักสะอาด
  • ตัดผมให้สั้น

การแต่งงาน นักะฮ.

  • ให้แต่งงานกับผู้ศรัทธา

ปัจจุบันคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมี 36 จังหวัด

ข้อควรปฏิบัติ

  1. การให้เกียรติกับประชาชน
  2. การเขียนชื่อสกุลต้องให้ถูกต้อง
  3. การให้เกียรติต่อสถาบันที่สำคัญ ศาสนสถาน มัสยิด

***
นางพรรณธิภา ธนสันติ นพบ. 6 ผู้สรุปและเรียบเรียง
นางจิรภา จิตรักษา จนท.ธก. 5 ผู้พิมพ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย